Link ที่เกี่ยวข้อง

ธนาคาร

ตั๋วเครื่องบินราคาถูก

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday322
mod_vvisit_counterYesterday282
mod_vvisit_counterThis week1620
mod_vvisit_counterLast week12153
mod_vvisit_counterThis month37203
mod_vvisit_counterLast month11658
mod_vvisit_counterAll days2679140

Go Down

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 1         สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ (1/4/2552)
ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 2         กรมสรรพากรเตือน  ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน (11/12/2552)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 3         มาตรฐานรายงานทางการเงิน NPAEs (25/4/2554)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 4        ประเด็นความผิดที่พบจากการตรวจสอบ (11/10/2554)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 5        ตารางค่าปรับกรณีไม่ยื่นงบการเงิน (17/11/2554)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 6        บัญญัติ 10 ประการที่ต้องคำนึงในการวางระบบบัญชี (7/1/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 7        หมายเหตุประกอบงบการเงิน   (28/1/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 8        สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน  (30/1/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 9        IAS 19 Employee Benefits     (7/3/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 10      งบกระแสเงินสด    (15/3/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 11      ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่า เช่าซื้อ และขายผ่อนชำระ   (15/3/2555)

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 12      ป.ป.ช. ขยาเวลายื่นแบบ บช.1 ของสัญญา 2,000,000 บาทขึ้นไป ถึง 31 ธ.ค.2557 (4/7/2556)

 

ข่าวสารบัญชีเรื่องที่ 1

สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ

 

เผยความลับในการจัดการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนต่างกำไรด้วยบทความที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายนี้

บ่อยครั้งที่นักบัญชีและที่ปรึกษาผู้ เชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจขนาดเล็กที่กล่าวตำหนิบริษัทต่างๆ ว่าไม่ให้ความสนใจเพียงพอในเรื่องเงินสดหมุนเวียน ซึ่งเป็นเครื่องวัดจำนวนเงินที่มีอยู่จริงในธุรกิจของคุณ

ระวังสัญญาการค้าขนาดใหญ่

"นักธุรกิจขนาดเล็กที่รับออร์เดอร์ ขนาดใหญ่เข้ามามักประสบปัญหาในตอนท้าย" Ronald Lowy หัวหน้าคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกล่าว "พวกเขาต้องการออร์เดอร์ขนาดใหญ่ แต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ และยังไม่มีเงินสดสำรองเพื่อใช้จ่ายค่าแรงคนงานและค่าใช้จ่ายสำนักงานในขณะ ที่รอลูกค้าชำระเงินมา ลักษณะเช่นนี้ ในระบบบัญชีคงค้างแล้วอาจเป็นกิจการที่มีกำไร แต่เมื่อมองในแง่เงินสดหมุนเวียนแล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น"

Judith Dacey ซึ่งเป็นนักบัญชีที่ได้รับการรับรอง เรียกงบเงินสดหมุนเวียนว่า "อาจเป็นเอกสารสำคัญที่สุดที่บอกคุณได้ว่าธุรกิจของคุณนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่" เธอเล่าเรื่องราวของคณะกรรมการขององค์กรการกุศลองค์กรหนึ่ง ที่ไม่ให้ความสนใจงบเงินสดหมุนเวียนขององค์กร

"องค์กรนี้ได้ว่าจ้างพนักงานและใช้ จ่ายเงินในการรณรงค์หาสมาชิก และกิจกรรมอื่นๆ โดยการดูตัวเลขจำนวนเงินที่พวกเขาคิดว่าองค์กรมีอยู่ในงบกำไรขาดทุนเท่า นั้น" Dacey เล่าให้ฟัง "พวกเขาไม่ทราบว่างบ กำไรขาดทุนนั้นเป็นงบในระบบบัญชีคงค้าง ซึ่งหมายความว่าเป็นงบที่รวมจำนวนเงินค้างจ่ายที่ยังไม่ได้มีการชำระจริง เข้ามาด้วย เป็นเงินที่ปรากฏเป็นตัวเลขบนกระดาษ ไม่ใช่เงินจริงที่คุณมีอยู่ในธนาคาร"

คณะกรรมการขององค์กรการกุศลแห่งนี้ เริ่มทราบปัญหาก็ต่อเมื่อธนาคารคืนเช็คที่องค์กรเป็นผู้สั่งจ่ายใบหนึ่ง มีการปลดพนักงานออก และใช้มาตรการรัดเข็มขัด Dacey กล่าวว่า "เหตุการณ์ นั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากพวกเขาจะดูงบเงินสดหมุนเวียนบ้าง งบเงินสดหมุนเวียนจะบอกกับคุณว่า นี่ เรารู้นะว่าตัวเลขสวยๆ ในงบกำไรขาดทุนจะว่าอย่างไร แต่นี่คือจำนวนเงินสดจริงที่เข้ามาและเป็นเงินที่คุณใช้ได้จริง"

การทำงบเงินสดหมุนเวียนเริ่มจากตัว เลขบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นบรรทัดที่แสดงรายได้สุทธิของคุณ จากนั้นทำการปรับปรุงตัวเลขดังกล่าวอีกหลายรายการซึ่งรวมถึงหักรายได้สุทธิ ด้วยยอดเงินใบแจ้งหนี้ที่บันทึกเป็นรายได้แต่ยังไม่ได้รับการชำระ หักด้วยค่าเสื่อม ปรับด้วยตัวเลขของหนี้สินที่บริษัทยังไม่ได้ชำระ และหักรายการอื่นๆ อีกมากมาย ผมไม่ต้องการกล่าวถึงเรื่องงบเงินสดหมุนเวียนอย่างละเอียดเนื่องจากว่าคุณ สามารถใช้โปรแกรมบัญชีดีๆ ที่จัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุลให้คำนวณงบเงินสดหมุนเวียนให้คุณได้ด้วย

การตรวจสอบสถานะทางการเงินที่สำคัญ 10 ประการ

หากคุณได้จัดทำระบบการตรวจสอบเงินสด หมุนเวียนขึ้นมาแล้ว คุณจะสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจคุณได้ อาจดูเป็นรายการที่ค่อนข้างยาว แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะคุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้เช่น เดียวกับที่ใช้จัดทำงบกำไรขาดทุน

สินทรัพย์ของคุณมีอะไรบ้าง

ใช่ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สินทรัพย์คือสิ่งต่างๆ ที่บริษัทเป็นเจ้าของ การติดตามตรวจสอบอุปกรณ์ ที่ดิน และการถือหุ้นต่างๆ เป็นเรื่องง่าย แต่คุณต้องทราบมูลค่าของสินทรัพย์ที่แท้จริง และควรตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีบริษัทอยู่หลายรายที่ทราบในภายหลังว่า บริษัทเล็กๆ ของตนตั้งอยู่บนที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่าตัวธุรกิจเองเสียอีก (ใช่ พวกเราทั้งหมดน่าจะมีปัญหาเหล่านี้ด้วย) นอกจากนี้ คุณควรตรวจสอบค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เป็นต้น

หนี้สินของคุณมีอะไรบ้าง

เช่นเดียวกัน เมื่อดูเผินๆ แล้วเป็นเรื่องง่าย หนี้สินก็คือสิ่งที่คุณเป็นหนี้นั่นเอง แต่สิ่งที่คุณเป็นหนี้อาจดูไม่ได้ง่ายๆ เหมือนใบแจ้งหนี้ค่าเช่าที่ดิน ต้วอย่างเช่น ภาษีเงินเดือนเป็นหนี้สินที่คุณสามารถค้างชำระได้เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเงินเดือนทั้งหมดที่บริษัทจ่าย เงินกู้เป็นหนี้สินอย่างชัดเจน แต่ในการชำระเงินกู้ คุณต้องทราบได้ว่าเงินที่ชำระนั้นเป็นเงินต้นจำนวนเท่าใด และเป็นดอกเบี้ยจำนวนเท่าใด

ค่าใช้จ่ายในการผลิตสิ่งที่คุณจะนำไปจำหน่ายมีอะไรบ้าง

หากคุณซื้อสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไป จำหน่ายต่อก็เป็นเรื่องง่าย แต่กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้นหากคุณต้องคำนวณทุกรายการ เช่น ค่าแรงที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้า

ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายมีอะไรบ้าง

ค่าโฆษณา ค่าทำการตลาด ค่าแรง ค่าจัดเก็บสินค้า และค่าใช้จ่ายจิปาถะทั้งหมด คุณต้องทราบถึงค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าออกจากประตูโรงงานเท่าๆ กับค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้านั้น

ส่วนต่างกำไรของคุณเป็นเท่าใด

ค่านี้คำนวณด้วยการนำยอดขายทั้งหมดมา หารด้วยหน่วยสินค้าทั้งหมดเพื่อให้ได้ยอดกำไรต่อหน่วยของคุณ หากยอดนี้คงที่หรือมีแนวโน้มสูงขึ้น คุณอาจดำเนินธุรกิจได้ถูกทาง โดยเฉพาะด้านการปรับราคาขายให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนที่คุณจ่ายไป

การที่คุณสามารถทราบส่วนต่างกำไรที่ลดลงได้ทันทีจะเป็นการเตือนให้ทราบว่าคุณต้องปรับราคาขายหรือตัวเลขต้นทุน ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ตัวเลขผลรวมกำไรและส่วนต่างกำไรของคุณอาจไม่มีเลย ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ คุณก็จะเหมือนคนอื่นๆ ที่ขายขาดทุนแต่คิดว่าสามารถชดเชยได้ด้วยการเพิ่มปริมาณการขาย อย่าดำเนินธุรกิจเหมือนพวกนั้น

อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินของคุณเป็นอย่างไร

อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินจะช่วย ให้คุณได้ทราบว่าสิ่งของในบริษัทของคุณมีจำนวนเท่าใดที่เป็นของผู้อื่น หรือเป็นของผู้ให้เงินกู้คุณนั่นเอง หากคุณมีอัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี ในช่วงเวลาการขยายกิจการอาจเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่ก็ยังมีความหมายว่า ธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในสถานะลำบาก

มูลค่าบัญชีลูกหนี้มีจำนวนเท่าใด

นี่คือจำนวนเงินที่ผู้อื่นเป็นหนี้ คุณ เป็นค่าที่สามารถตรวจสอบได้ หากบัญชีลูกหนี้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการเตือนให้ทราบว่าลูกค้าที่คุณขายสินค้าให้กำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบัญชีลูกหนี้ ซึ่งคำนวณจากร้อยละของยอดขายสินค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น

เวลาเฉลี่ยของการรับชำระหนี้ของบัญชีลูกหนี้

ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลที่น่ากังวล มากที่สุดสำหรับธุรกิจที่มีเงินตึง โดยจะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นนายธนาคารให้กับผู้ที่เป็นหนี้คุณอยู่นานกี่วัน ในการคำนวณค่าดังกล่าว คุณต้องทราบค่าเฉลี่ยยอดขายรายวันแล้วนำค่านั้นมาหักออกเป็นตัวเลขบัญชี ลูกหนี้

มูลค่าบัญชีเจ้าหนี้มีจำนวนเท่าใด

นี่คือด้านตรงข้ามกับบัญชีลูกหนี้ บัญชีลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากนโยบายยืดเวลาการชำระหนี้ให้ยาวนานขึ้น หรือมีปริมาณการซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นโดยรวม แต่บัญชีลูกหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจวางแผนหรือดำเนินการไว้ ก่อนอาจเป็นเครื่องเตือนภัยว่า อำนาจทางการเงินของคุณกำลังอ่อนลง

สินค้าคงคลังของคุณเป็นอย่างไร

ในโลกของธุรกิจแบบ Just-in-time มีบางครั้งที่การเพิ่มสินค้าคงคลังให้มากเป็นสิ่งที่ควรทำ

ในกรณีที่สินค้าที่คุณซื้อมาเพื่อขายหรือใช้ในการผลิตมีราคาถูก การลงทุนซื้อสินค้าคงคลังให้มากขึ้นอาจฟังดูมีเหตุผล

 

 

 

ความสามารถ ในการตรวจสอบติดตามจำนวนสินค้าคงคลังของคุณ ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้านั้น สามารถบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเจริญเติบโตขึ้นหรือว่าตกต่ำลง และยังแสดงให้เห็นจำนวนเงินที่คุณต้องหามาชำระค่าใช้จ่ายอื่น รวมทั้งแสดงจำนวนเงินที่จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหล่านี้

การตรวจสอบสถานะทางการเงินที่สำคัญ 10 ประการและสถานะของเงินสดหมุนเวียนมีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณเป็นอย่างมาก หากจำเป็น คุณควรขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพและผู้ให้บริการภายนอกองค์กร

 

บทความโดย : Joseph Anthony   ที่มา :  microsoft.com                         1/4/2552

 


ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 2

กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน

กรมสรรพากรแจ้งเตือนให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน  ซึ่งประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงิน คือ

(1) สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงิน ไม่มีรายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ

(2) ห้างฯ ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน และรายการกำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน

(3) ห้างฯ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน

(4) บันทึกรายการสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของหุ้นส่วนฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ และไม่มีการบันทึกสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ

(5) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น

จัดประเภทรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อเป็นเจ้าหนี้การค้า

แสดงรายการลูกหนี้กรมสรรพากรเป็นลูกหนี้การค้า

แสดง รายการสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จัดประเภทรายการสินค้าคงเหลือรวมอยู่ในรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน

ไม่แยกรายการที่มีสาระสำคัญออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และจัดประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นต้น

6) แสดงรายการลูกหนี้  เจ้าหนี้ และเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยแยกรายการบัญชี ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด

(7) งบการเงินบันทึกมูลค่าสินทรัพย์สูงไป เนื่องจากนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอคืนไปรวมเป็นมูลค่าของทรัพย์สิน

(8) งบการเงินแสดงข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่นแสดงข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้จากการคัดค้น ทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(9) ลูกหนี้ค่าหุ้น แสดงรายการเป็นสินทรัพย์ ไม่ได้นำไปหักในส่วนของผู้ถือหุ้น

(10) แสดงจำนวนเงินยอดรวมสินทรัพย์ไม่เท่ากับยอดหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

(1) งบการเงินไม่แสดงรายการต้นทุนขาย/บริการ ซึ่งผิดปกติของการประกอบธุรกิจ

(2) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น จัดประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดต้นทุนขาย/บริการ ไปไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แสดงค่าอากรขาเข้าเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้แสดงเป็นต้นทุนหรือไม่มีการปัน ส่วนต้นทุนขาย/บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นต้น

(3) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ไม่แสดงรายการค่าสอบบัญชีประจำปี ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยจ่ายสำหรับรายการบัญชีเงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ ยืมจากสถาบันการเงิน ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยรับสำหรับรายการบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน เป็นต้น

(4) งบการเงินมีรายการทรัพย์สิน แต่ไม่มีรายการค่าเสื่อมราคา หรือคำนวณค่าเสื่อมราคาเพียงบางรายการ หรือไม่ได้คำนวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ได้มาของทรัพย์สิน

(5) รายการค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนมีจำนวนเงินไม่ตรงกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน

(1) ไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบการเงิน

(2) เปิดเผยข้อมูลทั่วไปไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ระบุประเภทกิจการผิด

(3) ไม่มีการสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี เช่น การรับรู้รายได้/ค่าใช้จ่าย สินค้าคงเหลือ การคำนวณค่าเสื่อมราคา

(4) เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ เกณฑ์พึงรับพึงจ่าย เกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย ซึงไม่เป็นไปตามแม่บทการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี

(5) เปิดเผยนโยบายการบัญชีวิธีการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เช่น กิจการรับเหมาก่อสร้าง

(6) เปิดเผยรายละเอียดของสินทรัพย์ถาวรโดยมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานการบัญชี เช่น อายุการใช้งาน อัตราการคิดค่าเสื่อมราคา ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคา

(7) ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา หรือเปิดเผยวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

(8) เปิดเผยนโยบายวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา ไม่ตรงกับการบันทึกในบัญชี

(9) เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับประเภทสินค้าคงเหลือ

(10) ไม่เปิดเผยรายการข้อมูลที่สำคัญตามมาตรฐานการบัญชี เช่น ภาระผูกพันข้อมูลทางการเงิน และการดำเนินงานต่อเนื่อง

 

ที่มา : กรมสรรพากร   Update  11/12/2552

____________________________________________________________________________________

 

ข่าวสารบัญชี   เรื่องที่  3 

มาตรฐานรายงานทางการเงิน  NPAEs

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี  ฉบับที่  29/2554


 

1.  สินค้าคงเหลือ

- กรณีที่กิจการแสดงผลขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับ  เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร  กิจการต้องจัดประเภทใหม่  โดยแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

-  กรณีขาดทุนจากสินค้าสูญหาย  ซึ่งได้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย  ต้องจัดประเภทใหม่  ไว้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร

 

2.  ที่ดิน  อาคารและอุปกรณ์

- การรับรู้ประมาณการหนี้สินสำหรับรายจ่ายในการรื้อ ขนย้าย และบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์   ไว้เป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป  และให้คิดค่าเสื่อมตามการใช้ประโยชน์ที่เหลืออยู่  และเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

- อาคารชุด  ให้กิจการบันทึกการได้มาซึ่งอาคารชุดและสินทรัพยืดังกล่าวไว้เป็นรายการสินทรัพย์ในหน่วยเดียวกัน โดยไม่แบ่งที่ดินออกจากอาคาร

- การคิดค่าเสื่อมราคาแยกตามส่วนประกอบที่มีนัยสำคัญ

- การทบทวนมูลค่าคงเหลือ  อายุการให้ประโยชน์ และวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา  ให้กิจการใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปกับสินทรัพย์ถาวรทุกรายการที่ได้มาก่อนวันต้นงวดของรอบระยะเวลารายงานแรกที่นำมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับนี้มาใช้

-  การวัดมูลค่ารายการที่ดิน  อาคารและอุปกรณ์  ภายหลังการรับรู้รายการโดยใช้วิธีราคาทุน  ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพยืเพิ่ม ให้คงเหลือเฉพาะยอดตามวิธีราคาทุน

-  การแสดงรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย  จัดประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวใหม่ ในงบการเงินงวดก่อนที่นำมาเปรียบเทียบ

 

3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

- อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบได้แน่นอน  ซึ่งไม่มีการตัดจำหน่าย  ให้เปลี่ยนมากำหนดอายุการให้ประโยชน์  ดังกล่าว เท่ากับ  10 ปี

- ค่าความนิยม ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  ให้ตัดจำหน่ายภายใน 10 ปี

 

4. อสังหาริมทรัพยืเพื่อการลงทุน

- ที่ใช้วิธีการตีราคาใหม่  กิจการต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีมาเป็นวิธีราคาทุน  โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันที  ในงบการเงินงวดก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบ  เพื่อประโยชน์ในการนำเนองบการเงินเปรียบเทียบ

 

5. ต้นทุนการกู้ยืม

- ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา  การก่อสร้าง  หรือการผลิตสินทรัพยืที่เข้าเงื่อนไข  ให้รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์  สำหรับกรณีที่กิจการได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้นก่อนการประกาศใช้  กิจการไม่ต้องปรับปรุงกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์

 

6. ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

- ประมาณการหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน  โดยใช้ประมาณการที่ดีที่สุด  ของรายจ่ายที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน  คือ จำนวนที่สมเหตุสมผลที่กิจการจะจ่ายเพื่อชำระภาระผูกพัน  ให้บุคคลที่สาม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน  โดยพิจารณาจากภาระผูกพันในปัจจุบัน  ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน  ซึ่งกิจการต้องชำระในรอบระยะเวลารายงานในอนาคตโดยพิจารณาจากข้อมูลในปัจจุบันของกิจการ

 

ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฎิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลารายงานที่เริ่มในหรือหลังวันที่  1 มกราคม  2554 เป็นต้นไป

ที่มา  :  ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี  ฉบับที่  29/2554     :  25/4/2554

_____________________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 4 

ประเด็นความผิดที่พบจากการตรวจสอบ

ประเด็นความผิดที่คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจพบมาปุจฉา - วิสัชนา  

ปุจฉา มีประเด็นความผิดทั่วไปที่ตรวจพบโดยคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไร

วิสัชนา มีความผิดในประเด็นทั่วไปที่ตรวจพบดังนี้

1. ไม่ให้ความร่วมมือในการส่งมอบเอกสาร

1.1 ผู้ตรวจสอบไม่ได้มาพบและส่งมอบเอกสารตามกำหนดเวลา เจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือเตือน 2 ครั้ง

1.2 ส่งมอบเอกสารเกินกำหนดเวลาได้ขอเลื่อนการส่งมอบเอกสารหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีลักษณะเป็นการประวิงเวลา

2. หน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลได้ตรวจสอบการเสียภาษีอากรของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผลการตรวจสอบเสียภาษีอากรของตนเองไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544

3. มีการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อกระจายเงินได้พึงประเมินให้ฐานภาษีมีจำนวนลดลง โดยรายได้ที่ได้รับเป็นของผู้ตรวจสอบเพียงผู้เดียว ผู้ร่วมจัดตั้งไม่มีหน้าที่ใดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ และหรือไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการประกอบกิจการ

4. ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่ปฏิบัติตามข้อ 2.2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 122/2545 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในประเด็นการแจ้งรายชื่อกิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบ ภ.07/08 ดังนี้

4.1 ไม่แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี

4.2 แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี

4.3 แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีหลังจากลงลายมือชื่อแล้ว

 

ปุจฉา มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับการสอบทานการจัดทำงบดุลตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร

วิสัชนา งบการเงินจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้อง

1. รายการเงินกู้ยืมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เป็นยอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน และไม่มีรายการเคลื่อนไหวในปีปัจจุบัน ไม่ได้จัดประเภทรายการอยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน

2. แสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อรถยนต์ รวมในรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ และรายการดังกล่าวมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้แยกแสดงรายการ

3. รายการลูกหนี้เงินทดรองผู้เป็นหุ้นส่วน เป็นยอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน และไม่มีรายการเคลื่อนไหว แต่จัดประเภทรายการอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน

4. รายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วนมียอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน ไม่ได้จัดประเภทรายการอยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน

5. แสดงรายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมหุ้นส่วนรวมในรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ประเภทหนี้สินหมุนเวียน

6. แสดงรายการสิทธิการเช่าอาคารอยู่ในรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

7. ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่บันทึกบัญชีสินทรัพย์เป็นอาคารทั้งจำนวน โดยไม่ได้แยกมูลค่าของที่ดินออกจากอาคาร

8. จัดประเภทรายการเงินเบิกเกินบัญชี และเจ้าหนี้ธนาคาร ซึ่งมีระยะเวลาการกู้ยืมเกินกว่า 1 ปี ไว้ในรายการหนี้สินหมุนเวียน

9. รายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย แสดงรายการโดยรวมรายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วน ซึ่งมีจำนวนเงินที่มีสาระสำคัญ ไม่ได้แสดงรายการแยกต่างหากจากรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

10. รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น แสดงรายการโดยรวมรายการรายได้ค้างรับ และรายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น แสดงรายการโดยรวมรายการภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย ซึ่งรายการรายได้ค้างรับและภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่ายเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ ไม่แสดงรายการแยกต่างหากจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และหนี้สินหมุนเวียนอื่น อาจทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้

11. รายการลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่หุ้นส่วนผู้จัดการและเจ้าหนี้เงินยืมหุ้น ส่วนผู้จัดการ มีระยะเวลาในสัญญา 365 วัน แต่แสดงรายการเป็นสินทรัพย์และหนี้สินไม่หมุนเวียน

12. รายการดอกเบี้ยค้างรับ ค้างรายการนานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี ไม่ได้จัดประเภทเป็นรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

13. รายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ได้รวมยอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน ไม่ได้แสดงเป็นรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน

14. รายการเจ้าหนี้เครื่องจักร แสดงในรายการหนี้สินหมุนเวียน โดยมิได้แยกแสดงรายการที่จะชำระเกินกว่า 1 ปี ไว้ในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน

15. แสดงรายการเจ้าหนี้ผ่อนชำระ อยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน ไม่ได้แยกหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินออกเป็นหนี้สินหมุนเวียนกับหนี้สินไม่ หมุนเวียน

16. รายการเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ตามสำเนาใบเสร็จรับเงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกให้เป็นเงินกู้ยืมที่มีการจ่าย ชำระคืนเงินกู้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชีไม่ได้แสดงรายการเป็นเงินกู้ระยะยาว

17. แสดงรายการค่าเช่าเครื่องจักร ค่าแบบแปลน ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร และค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกัน เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยไม่ได้แสดงเป็นต้นทุนรับเหมา

18. แสดงรายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน แต่ไม่ปรากฏรายการหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี

19. แสดงรายการเจ้าหนี้-เงินกู้ยืมธนาคาร รายการเจ้าหนี้-เงินกู้ตั๋วสัญญาใช้เงินรายการเจ้าหนี้-เงินเบิกเกินบัญชี ธนาคาร รวมอยู่ในรายการเจ้าหนี้การค้า

20. แสดงรายการเงินกู้ระยะยาวจากสถาบันการเงินและเจ้าหนี้เช่าซื้อทรัพย์สิน อยู่ในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน แต่ไม่ปรากฏรายการหนี้สินที่มีกำหนดชำระภายใน 1 ปี ในรายการหนี้สินหมุนเวียน

21. ไม่แยกแสดงรายการที่เป็นสาระสำคัญออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่น

22. นำรายการเจ้าหนี้การค้าไปรวมอยู่ในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนอื่น

23. รายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมธนาคารและรายการเจ้าหนี้เงินกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่ได้จัดประเภทหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน

24. แสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้ออยู่ในรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

25. งบดุลแสดงรายการค่าจ้างเหมาค้างจ่ายอยู่ในหนี้สินหมุนเวียนอื่น ซึ่งเป็นรายการค่าจ้างเหมาปีนี้กับปีก่อน แต่ไม่ได้จัดรายการอยู่ในหมวดหนี้สินไม่หมุนเวียน

26. งบการเงินแสดงรายการค่าเช่าซื้อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ปรากฏรายการบัญชีภาษีซื้อรอตัดบัญชีและรายการดอกเบี้ยรอตัดบัญชี

27. ไม่แยกรายการที่เป็นสาระสำคัญออกจากสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น และหนี้สินหมุนเวียนอื่น

28. แสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนรายการค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาคือ ค่าสิทธิ

 

ปุจฉา มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีอย่างไร

วิสัชนา งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี มีดังนี้

1. งบการเงินปรากฏรายการวัตถุดิบต้นงวดกับปลายงวดมีจำนวนเท่ากัน ไม่มี การเคลื่อนไหว และไม่ปรากฏรายการผลิตระหว่างงวด ไม่มีการพิจารณาการเสื่อมสภาพ หรือด้อยค่าของวัตถุดิบ

2. งบการเงินมียานพาหนะมูลค่าเกิน 1 ล้านบาท แต่แสดงรายการค่าเสื่อมราคาเฉพาะราคาทุน 1 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์ทางประมวลรัษฎากร

3. งบการเงินแสดงรายการลูกหนี้เงินทดรองผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่มีรายการดอกเบี้ยรับ แต่กระดาษทำการระบุว่ามีการคิดดอกเบี้ยซึ่งได้นำไปปรับปรุงรายการในแบบ ภ.ง.ด.50 โดยไม่มีการบันทึกบัญชี

4. งบการเงินปรากฏรายการเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่ายรอตัดจ่ายและรายการดอกเบี้ยจ่าย

5. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายประเภทค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ในรายการหนี้หมุนเวียนอื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายของเดือนธันวาคม ต้องมีการจ่ายชำระในเดือนมกราคมของปีถัดไป

6. งบการเงินแสดงการรับรู้รายการสินทรัพย์เริ่มแรกของยานพาหนะบันทึกบัญชีด้วย ราคาที่รวมดอกผลเช่าซื้อ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางประมวลรัษฎากร จึงมีผลให้งบการเงินแสดงมูลค่าสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคาประจำปีสูงไป

7. งบการเงินแสดงรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รายการค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ซึ่งกิจการได้บอกเลิกสัญญากับบริษัทที่ให้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อแล้ว แต่ไม่ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

8. งบการเงินบันทึกรายการสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ และยานพาหนะ รวมอยู่ในรายการอาคาร และได้คำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 5 ของยอดมูลค่าอาคารดังกล่าว

9. งบการเงินแสดงค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินจากกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วน แต่ไม่ปรากฏรายการที่ดินเป็นสินทรัพย์

10. ห้างฯ มีกำไร (ขาดทุน) สะสมยกมาต้นงวด แต่งบดุลไม่ปรากฏกำไร (ขาดทุน) สะสมยกมาจากปีก่อน ปรากฏเพียงกำไร (ขาดทุน) ปีปัจจุบัน

11. งบการเงินแสดงรายการค่าเสื่อมราคา โดยนำค่าเสื่อมราคาของปีก่อนบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีปัจจุบัน ไม่ได้นำมาปรับปรุงกับรายการกำไรสะสมยกมาต้นงวด

 

ปุจฉา มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างไร

วิสัชนา งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมีดังนี้

(1) งบการเงินแสดงรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน แต่ไม่มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งไม่ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มีผลให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้

(2) งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการบริการ ไม่ได้นำรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มาแสดงเป็นรายได้ด้วย

(3) ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีมูลค่าการบริการครั้งละประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป ซึ่งต้องมีการจ่ายค่าจ้าง/ค่าบริการเป็นเช็ค แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน

(4) ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ แต่งบการเงินไม่ปรากฏบัญชีเงินประกันผลงาน

(5) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินค้าคงเหลือที่ก่อให้เกิดรายได้

(6) งบการเงินแสดงรายการรายได้ค้างรับ มีการวางบิลกับลูกค้าแล้ว แต่ไม่ได้แสดงรายการดังกล่าวเป็นลูกหนี้

(7) งบการเงินไม่ปรากฏรายการ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน

(8) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้

(9) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ (อาคาร) หรือรายการค่าเช่าสำนักงาน ที่ใช้ในการประกอบกิจการ

(10) งบการเงินแสดงรายการทุนที่มีการเพิ่มทุน แต่ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนผู้ถือหุ้นแสดงรายการทุนเดิมที่ยังไม่มีการ ปรับปรุงการเพิ่มทุน

11. งบการเงินปรากฏรายการตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการออกตั๋ว เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง แต่กระดาษทำการระบุว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการประกันเงินกู้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน

12. งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน เนื่องจากกิจการใช้บัญชีของผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์

13. งบการเงินปรากฏรายจ่ายค่าน้ำมัน แต่ไม่ปรากฏรายการรถยนต์ในทะเบียนทรัพย์สิน และไม่ปรากฏรายการค่าเช่ารถยนต์

14. งบการเงินปรากฏรายการเงินสด แต่ไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งกิจการมีการรับเงินจากผู้ซื้อโดยการรับโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากของกิจการ

15. ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน

 

ปุจฉา มีตัวอย่างเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่อย่างไร

วิสัชนาตัวอย่างเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาทิเช่น

1. การใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง เช่น รายการสินทรัพย์-ราคาสุทธิ ควรแสดงเป็น "ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ" และแสดงอยู่ในหมวดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

รายการสินค้าคงคลัง และรายการสินทรัพย์ถาวร

(2) แสดงรายการไม่ถูกต้อง เช่น รายการเจ้าหนี้การค้า เป็นเจ้าหนี้ที่เกิดจากการค้างชำระค่าสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายโดยปกติ แสดงรายการโดยนำไปรวมอยู่ในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนอื่น

ปุจฉากรณีงบกำไรขาดทุนจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้อง มีการตรวจพบรายการใดบ้าง

วิสัชนา กรณีงบกำไรขาดทุนจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้องมีตัวอย่างดังนี้

1. แสดงรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา) ไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(1) แสดงรายการค่าจ้างทำของ ซึ่งเป็นต้นทุนอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(2) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาของเล้าเป็ด ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม ซึ่งเป็นต้นทุนเลี้ยงเป็ด อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(3) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ล้างอัดภาพ เครื่องพิมพ์ล้างรูป เครื่องอัดรูปดิจิทัล อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(4) แสดงรายการค่าระวาง ค่าขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(5) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

(6) แสดงรายการค่าอากรขาเข้า ค่าระวาง และค่าใช้จ่ายในการออกของ ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

2. แสดงรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ อยู่ในค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา) เช่น

(1) แสดงรายการค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายในการผลิต

(2) แสดงรายการค่าโฆษณาและค่ารับรอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร อยู่ในส่วนของต้นทุนบริการขนส่งสินค้า

3. ไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา)

 

 

ปุจฉามีการตรวจพบรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีดังนี้

1. ประกอบกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่บันทึกรายการขาย (ส่งออก) เป็นรายได้ ณ วันที่ได้รับชำระเงินจากลูกค้า

2. งบการเงินไม่ปรากฏการคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปีของรายการสินทรัพย์

3. งบการเงินแสดงรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

4. งบการเงินปรากฏรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ แต่ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่าย

5. งบการเงินแสดงรายการค่าใช้จ่ายในการให้บริการและบริหารรวมเป็นรายการเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้งบการเงินขาดความเข้าใจได้

6. งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการขายรวมกัน ซึ่งรายได้ดังกล่าวมีเกณฑ์การรับรู้รายได้และเงื่อนเวลาที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีต่างกัน

7. ประกอบกิจการผลิตเพื่อขาย แต่ไม่ปรากฏรายการต้นทุนการผลิต

8. ประกอบกิจการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏรายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

9. งบการเงินรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแสดงรายการรายจ่ายต้องห้ามสรรพากร ซึ่งเป็นการแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร

10. กิจการเปิดเผยนโยบายการบัญชีการคำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารโดยวิธีเส้นตรง อายุการใช้งาน 20 ปี แต่คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี

 

ปุจฉามีการตรวจพบรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังนี้

1. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าสอบบัญชีในการตรวจสอบและรับรองบัญชี

2. แสดงค่าเสื่อมราคาในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ตรงกับค่าเสื่อมราคาที่แสดงในงบกำไรขาดทุน

3. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

4. ประกอบกิจการสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่าต้องมีการทำประกันวินาศภัย แต่ไม่ปรากฏรายการค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

5. กิจการมีการซื้อเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ในปีก่อน แต่หมายเหตุประกอบ งบการเงินแสดงรายการค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในปีปัจจุบัน

6. งบการเงินปรากฏรายการยานพาหนะ แต่ไม่ปรากฏรายการค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

7. งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการขายและรับจ้าง แต่กิจการมีรายได้จากการรับจ้างเพียงอย่างเดียว

8. งบการเงินไม่ปรากฏรายการทางบัญชีที่เป็นรายจ่ายในการบริหารงาน เช่น เงินเดือนค่าจ้าง ค่าบริการทำบัญชี ค่าเช่าสำนักงาน

9. งบการเงินแสดงรายได้จากการขายหักรายได้จากการขายที่ได้รับยกเว้นภาษี ทำให้แสดงรายการรายได้จากการดำเนินงานทางบัญชีต่ำไป ซึ่งรายการที่ได้รับยกเว้นต้องนำไปปรับปรุงในแบบ ภ.ง.ด. 50

10. งบการเงินปรากฏรายการค่าเช่าอาคาร โดยสัญญาเช่าอาคารระบุว่ามิได้รวมค่าไฟฟ้า และน้ำประปา แต่งบกำไรขาดทุนไม่ปรากฏรายการค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา

ปุจฉามีการตรวจพบรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ถูกต้องอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ถูกต้องดังนี้

1. กิจการทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการเป็น หลักประกัน แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันหนี้สินดังกล่าว

2. ไม่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชี และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

3. รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงมูลค่ายกมาไม่ตรงกับยอดคงเหลือของงวดบัญชีก่อน

4. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยอ้างอิงอายุการใช้งานไม่เกินอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด

5. ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือและวิธีที่ใช้ในการคำนวณราคาทุน ตามมาตรฐานการบัญชี

6. เปิดเผยนโยบายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือว่า “ราคาทุน” ไม่ได้ระบุว่า “สินค้าคงเหลือตีราคาตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ ราคาใดจะต่ำกว่า”

7. เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือว่า “คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า”

8. ระบุนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือว่า “แสดงในราคาทุนถัวเฉลี่ย”

9. ไม่เปิดเผยรายการหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าซื้อ

10. ไม่เปิดเผยภาระผูกพันรายการเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมเงิน

11. ไม่เปิดเผยการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันกับองค์การของรัฐบาล

12. กิจการสร้างอาคารบนที่ดินของผู้อื่น แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าอาคารก่อสร้างบนที่ดินของผู้ใด

13. กิจการประกอบการมีผลขาดทุนสะสมเกินกึ่งหนึ่งของทุนหรือเกินทุน ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงิน แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่อง

14. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยไม่ได้เปิดเผยราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและสิ้นงวด หรือเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับจำนวนของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นหรือลด ลงระหว่างวันต้นงวดถึงวันสิ้นงวด

15. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายว่ารับรู้ราย ได้จากการขายหรือให้บริการเมื่อได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าแล้ว และบันทึกค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ โดยไม่เป็นไปตามข้อสมมติทางการบัญชีของแม่บทการบัญชี

16. ไม่สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ เช่น การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย สินค้าคงเหลือ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี

17. รายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องไม่มีการคิดดอกเบี้ย จ่าย แต่ไม่ได้เปิดเผยเงื่อนไขให้เข้าใจได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

18. รายการอุปกรณ์ ไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเกณฑ์การวัดมูลค่าวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อายุการใช้งาน หรืออัตราค่าเสื่อมราคา

19. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจรับเหมาก่อ สร้างว่ารับรู้รายได้ตามค่างวดที่ถึงกำหนดชำระและรับรู้ต้นทุนตามต้นทุนที่ เกิดขึ้นจริง โดยไม่ได้ใช้เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง

20. เปิดเผยรายการรายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้จากการปัดเศษภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมอยู่ในรายการเงินกู้ยืมระยะยาวอื่น

21. เปิดเผยข้อมูลรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ไม่ตรงกับกระดาษทำการ

22. เปิดเผยรายการเงินให้กู้ยืมแก่ผู้เป็นหุ้นส่วน โดยคิดดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาในการให้กู้ยืม

23. ไม่ได้เปิดเผยเกณฑ์การหยุดรับรู้รายได้ เนื่องจากผิดชำระค่างวด

24. เปิดเผยนโยบายบัญชีที่เกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับลักษณะสินค้าคงเหลือ

25. เปิดเผยนโยบายการคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในการคำนวณค่า เสื่อมราคาจริง เช่น งบการเงินคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง แต่เปิดเผยว่าคำนวณโดยวิธียอดลดลง

26. ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายการเงินกู้ยืมระยะยาว ซึ่งเป็นภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้

27. งบการเงินไม่ปรากฏรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือค่าเช่าสำหรับรายการดังกล่าว ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้

28. เปิดเผยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่ครบถ้วน โดยไม่ระบุวันเดือนปีที่จดทะเบียนจัดตั้ง ลักษณะการประกอบธุรกิจ ที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีสาระสำคัญ หรือระบุวันเดือนปีที่จดทะเบียนไม่ถูกต้อง

29. หมายเหตุประกอบงบการเงินแสดงรายการบัญชีและมูลค่า ไม่สอดคล้องกับงบการเงิน

30. เปิดเผยนโยบายการบัญชี ในส่วนของภาษีเงินได้ว่า กิจการบันทึกภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ค้างชำระตามประมวลรัษฎากร (ถ้ามี) ซึ่งไม่ได้กำหนดให้เปิดเผยไว้ในมาตรฐานการบัญชี

31. เปิดเผยรายการลูกหนี้กรมสรรพากร โดยกิจการไม่ได้ขอคืนภาษีอากร ไม่ได้แสดงรายการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

32. งบการเงินไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบการเงิน

33. งบการเงินไม่ปรากฏรายการยานพาหนะ และมีการนำรถของกรรมการหรือหุ้นส่วนมาใช้ในกิจการ แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้

34. ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายการลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่ผู้เป็นหุ้น ส่วน และรายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมหุ้นส่วน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้

35. เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือไม่ครบถ้วน เช่น ราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภท

36. กิจการมีรายการลูกหนี้การค้าต่างประเทศ แต่มิได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

 

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เกี่ยวกับแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการประเมินความเสี่ยงโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการประเมินความเสี่ยงดังนี้

1. ไม่มีการจัดทำแผนการสอบบัญชีและหรือไม่มีการประเมินความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์ อักษร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรอง บัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

2. ไม่ได้บันทึกรายละเอียดของการวางแผนการตรวจสอบในแต่ละหัวข้อว่ามีแผนการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง

3. แผนการสอบบัญชีมีรูปแบบไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบ และเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ

4. รายการเงินสด คิดเป็นร้อยละ 78.76 ของสินทรัพย์รวม ถือว่าเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ และเป็นจุดอ่อนมีความเสี่ยงสูงมากที่งบดุลจะมีโอกาสแสดงรายการด้วยมูลค่าที่ สูงกว่าความเป็นจริง และมีความเป็นไปได้ที่เงินสดจะสูญหายหรือถูกยักยอกเนื่องจากเงินสดอยู่ใน ความดูแลของผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียว แต่ในแผนการสอบบัญชีโดยรวมไม่ได้กำหนดให้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตรวจสอบ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำที่พอจะยอมรับได้ และไม่ได้จดบันทึกการแจ้งจุดอ่อนไว้เป็นหลักฐาน

5. แผนการสอบบัญชีโดยรวมที่จัดทำขึ้นกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับธุรกิจไว้ แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจที่รับงานตรวจสอบฯ ที่บ่งบอกถึงความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะหัวข้อสำคัญๆ เช่น การประเมินความเสี่ยงและเรื่องสำคัญที่ควรตรวจสอบ มิได้กำหนดสาระสำคัญของ การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจว่ามีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ กรณีมีความเสี่ยงสูงควรเลือกใช้วิธีการตรวจสอบใดเพื่อขจัดความเสี่ยงให้ลดลง

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์   11/10/2554

______________________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 5

ตารางค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า

ตารางอัตราค่าปรับ

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553

 

 

 

 

 

 

1. อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน  2  เดือน

 

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า

600  บาท

600  บาท

1,200  บาท

2

กิจการร่วมค้า

600  บาท

-

600  บาท

 

 

 

 

 

2.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  2  เดือน  แต่ไม่เกิน  4  เดือน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1,200  บาท

1,200  บาท

2,400  บาท

2

บริษัทจำกัด

2,400  บาท

2,400  บาท

4,800  บาท

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

6,000  บาท

6,000  บาท

12,000  บาท

4

บริษัทมหาชนจำกัด

12,000  บาท

12,000  บาท

24,000  บาท

5

กิจการร่วมค้า

6,000  บาท

-

6,000  บาท

 

 

 

 

 

3.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  4  เดือน  แต่ไม่เกิน  6  เดือน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

2,400  บาท

2,400  บาท

4,800  บาท

2

บริษัทจำกัด

4,800  บาท

4,800  บาท

9,600  บาท

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

12,000  บาท

12,000  บาท

24,000  บาท

4

บริษัทมหาชนจำกัด

24,000  บาท

24,000  บาท

48,000  บาท

5

กิจการร่วมค้า

12,000  บาท

-

12,000  บาท

 

 

 

 

 

4.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  6  เดือน  ขึ้นไปหรือไม่ส่งงบการเงิน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

3,600  บาท

3,600  บาท

7,200  บาท

2

บริษัทจำกัด

6,000  บาท

6,000  บาท

12,000  บาท

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

18,000  บาท

18,000  บาท

36,000  บาท

4

บริษัทมหาชนจำกัด

36,000  บาท

36,000  บาท

72,000  บาท

5

กิจการร่วมค้า

18,000  บาท

-

18,000  บาท


ที่มา  :  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์    17/11/2554

______________________________________________________

ข่าวสารบัญชี  เรื่องที่ 6

บัญญัติ 10 ประการที่ต้องคำนึงในการวางระบบบัญชี  

 

 

บางครั้งผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการอาจจะเกิดข้อข้องใจในการวางระบบบัญชีและการควบคุมภายในว่า การวางระบบบัญชีจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อกิจการ หรือก่อนที่จะทำการวางระบบบัญชีควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง เมื่อวางระบบแล้วควรจะได้อะไรบ้าง ต่อไปนี้เป็นบัญญัติ 10 ประการที่ ผู้วางระบบบัญชี ผู้บริหาร และเจ้าของกิจการ ควรจะต้องคำนึง และพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจ ทำการวางระบบบัญชีหรือจะทำการปรับปรุงใดๆ

1.  อย่าทำการวางระบบบัญชีหรือปรับปรุงตามแฟชั่นหรือ ตามอย่างผู้อื่น โดยไม่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง เนื่องจากการวางระบบจะต้องมีความครบถ้วนถูกต้องของรายการที่เกิดขึ้น การกระทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการบันทึกรายการบัญชีด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามเป็นการเสี่ยงต่อความสูญเปล่าทั้ง ความพยายาม ความตั้งใจ เวลา และทรัพย์สินเงินทอง เนื่องจากจะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อใช้ในการบริหารงาน

2.   การวางระบบบัญชีที่ดีนั้นจะต้องมีการสอดคล้องไปกับ ธรรมชาติของการทำงาน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นจริง ระบบต่างๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาจะต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการดำเนินงาน ไม่ทำให้เกิดการผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้งานข้อมูล ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ ควรจะรู้ความต้องการของตนเองก่อนที่จะให้ผู้วางระบบบัญชีทำการวางระบบบัญชี เพื่อที่จะให้การวางระบบสามารถรองรับความต้องการของผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการได้

3.   ระบบบัญชีที่มีการควบคุมภายในอย่างดีเยี่ยมสามารถ ป้องกันการทุจริตอย่างได้ผลในทุกเรื่อง อาจไม่ใช่ระบบบัญชีที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ระบบบัญชีที่ดีนั้นหมายถึง ระบบบัญชีที่มีความสอดคล้องกับการทำงานและมีการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับ สภาพการดำเนินธุรกิจและขนาดของกิจการนั้นๆ รวมถึงจะต้องสอดคล้องต่อนโยบายในการดำเนินกิจการด้วย ดังนั้นระบบบัญชีที่เหมาะสมใช้งานได้ดีในกิจการแบบเดียวกันแห่งหนึ่ง อาจไม่สามารถใช้ได้ดีกับอีกแห่งหนึ่งก็ได้

4.   ระบบบัญชีที่ดีจะต้องมีการเสนอรายงานตามระยะเวลาที่ เหมาะสม การเสนอรายงานบางอย่างช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นแม้เพียงชั่วเวลาเดียว คุณค่าของรายงานอาจจะเหลือเท่ากับศูนย์ หรือรายงานที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการสับสน และแบ่งแยกความสนใจในรายงานที่สำคัญไป

5.   ควรเลิกเชื่อว่าระบบบัญชีและการทำงานต่างๆ ควรจะกำหนดหรือวางรูปแบบ มาจากฝ่ายบัญชีหรือนักบัญชี หรือ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่การวางระบบบัญชีจำเป็นต้องใช้ศิลปและศาสตร์หลายแขนง ดังนั้น การวางระบบบัญชีที่ดีและเหมาะสมกับกิจการจะต้องเกิดจากการรวมตัวของแผนก ต่างๆในบริษัท และนักบัญชีที่มีประสบการณ์ ทั้งบัญชีการเงิน บัญชีบริหาร บัญชีต้นทุน และบัญชีภาษีอากร

ผู้วางระบบบัญชีหรือฝ่ายบัญชีจะต้องเป็นผู้มีใจกว้าง ยอมรับคำแนะนำหรือ ข้อขัดแย้งจากผู้อื่นและจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริหาร สามารถประสานงานและอธิบายเหตุผลต่างๆได้อย่างชัดเจน กรณีที่ฝ่ายบัญชีไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ อาจต้องพึ่งพาบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติมาชดเชย

6.  ไม่มีระบบบัญชีใดที่สามารถใช้ได้ตลอดไปโดยไม่มีการ ปรับปรุงให้เหมาะสมตามระยะเวลา เมื่อมีการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะมีการเรียนรู้ถึงจุดอ่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยผู้ปฎิบัติงาน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง ดังนั้นจึงควรมีการประเมินเป็นระยะๆ ว่าระบบบัญชีนั้นยังคงเหมาะสมที่จะใช้ในการปฎิบัติต่อไปหรือไม่ หรือถึงเวลาที่จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสม

7.  ในสภาพการดำเนินธุรกิจปัจจุบันที่การแข่งขันสูง การลดขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้กิจการดำเนินธุรกิจ หรือสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดการบกพร่องในการควบคุมภายในบางประการ ซึ่งการบกพร่อง หรือความจำเป็นในการแข่งขันนั้นๆ สามารถแก้ไขหรือทดแทนได้โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์มาช่วยอย่าง ได้ผล แต่ไม่ใช่ในทุกกรณี

8.  การใช้ระบบเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศ ที่จะช่วยในการทำงานและลดข้อบกพร่องบางประการควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความ คุ้มค่าของการลงทุนต่างๆ ด้วย

9.  ไม่มีระบบบัญชีใดๆ ที่สำเร็จรูป เช่นเดียวกับซอฟแวร์บัญชีที่เหมาะสมกับทุกกิจการ ดังนั้นการวางระบบบัญชีจะต้องใช้เวลาในการติดตามผลและแก้ไขระบบบัญชีและ เอกสารที่จัดทำในขั้นต้นให้เหมาะสมกับการทำงานของกิจการเพื่อให้พนักงานทำ ความเข้าใจและทดสอบการทำงานของระบบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งไตรมาส หรือนานกว่านั้น ก่อนทำเป็นคู่มือระบบบัญชีเพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อไป เนื่องจากสภาพการดำเนินธุรกิจในบางประเด็น ปัญหาอาจเกิดจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ใช้ข้อมูลหรือผู้บริหาร หรือเกิดจากสภาพการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป หรือบางครั้งอาจเกิดปัญหาในรายละเอียดการปฎิบัติงานขึ้นภายหลัง ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงระบบบัญชีและเอกสารให้เหมาะสม ซึ่งการปรับปรุง จะต้องมีการกระทำร่วมกับผู้ใช้ข้อมูลหรือผู้ปฎิบัติงาน

10.  ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการควรจะมีการประเมินความ เสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของการบกพร่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ว่าสามารถรับได้ที่จุดใด เมื่อเทียบกับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นรวมถึงความพึงพอใจจากลูกค้า ที่จะได้รับบริการที่เร็วขึ้น และการทำงานได้อย่างรวดเร็วของพนักงาน ถ้าประเมินแล้วมีความเสี่ยงมากกว่าที่ยอมรับได้อาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ระบบบัญชีและการควบคุมภายในใหม่

ที่มา  :   http://th.jobsdb.com 7/1/2555

__________________________________________________________________________

ข่าวสารเรื่องที่ 7

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

เป็นส่วนประกอบสุดท้ายที่คนส่วนมากไม่ทราบว่า เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน และอันที่จริง จัดว่าเป็นส่วนสำคัญของงบการเงิน ที่คนจำนวนมากไม่ค่อยให้ความสนใจไม่เคยอ่าน และมองข้ามไป
หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่เป็นข้อมูลสำคัญประกอบตัวเลขในงบการเงิน ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกระแสเงินสด จะว่าไปแล้ว ก็เป็นเหมือนส่วนที่จะขยายความ หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านงบการเงินในส่วนที่ตัวเลขที่แสดงไว้ในงบ ชนิดต่างๆนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดไว้
หากหยิบงบการเงินบริษัทใดขึ้นมา ดู จะเห็นว่าในหน้าที่เป็นตัวเลขในงบต่างๆ ตอนท้ายจะมีการระบุไว้ว่า “หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้” เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่าควรจะอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินประกอบ ตัวเลขต่างหากด้วย
นอกจากนี้แล้ว หมายเหตุประกอบงบการเงินยังให้ข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้
(๑) ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้ง วัตถุประสงค์ ที่อยู่ ของกิจการ
(๒) นโยบายการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ (เช่น นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการับรู้รายได้ การคิดค่าเสื่อมราคา การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย วิธีการคำนวณกำไรต่อหุ้น เป็นต้น)
(๓) ข้อสมมติฐานต่างๆในการจัดทำงบการเงิน (เช่น บริษัทใช้เกณฑ์คงค้าง ในการจัดทำงบการเงิน บริษัทใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่อง เป็นต้น)
(๔) การแบ่งอายุลูกหนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
(๕) รายละเอียด และยอดคงเหลือของสินค้าแต่ละประเภทของกิจการ
(๖) รายละเอียดการเพิ่มขึ้น (ลดลง) ของสินทรัพย์ถาวรในระหว่างปี และค่าเสื่อมราคา
(๗) สินทรัพย์ที่ติดภาระค้ำประกัน เช่น ที่ดินติดจำนองวงเงินกู้กับสถาบันการเงิน ภาระค้ำประกันที่บริษัทมีต่อบุคคลที่สามหรือสถาบันการเงิน เป็นต้น
(๘) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เช่น คดีฟ้องร้องที่บริษัทมีกับบุคคลที่สาม ที่อาจก่อให้เกิดหนี้สินในอนาคต (เป็นรายการประเภทที่เรียกว่า นอกงบดุล หรือ Off Balance Sheet)
(๙) ภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อบุคคลภายนอก เช่น ภาระผูกพันตามสัญญาต่างๆ ที่บริษัทต้องปฏิบัติตามสัญญาในปัจจุบัน และในอนาคต (เป็นรายการประเภทที่เรียกว่า นอกงบดุล หรือ Off Balance Sheet)
(๑๐) เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน หมายถึง เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการที่ เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงิน เช่น งบการเงินของรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ เป็นต้น
(๑๑) ข้อมูลสำคัญอื่นๆที่มีสาระสำคัญที่เห็นว่าควรเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ส่วน ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นส่วนประกอบของงบการเงินของกิจการ อย่างไรก็ตามในงบการเงินที่เราเห็นกันจะมีหน้าแรก เรียกว่า “รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ซึ่งไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน หากแต่ว่า ในชุดของงบการเงินนั้นจะมีรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอยู่ตอนต้นเสมอ เนื่องจาก งบการเงินของกิจการนั้น เมื่อผ่านการตรวจสอบบัญชี จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นต่องบการเงินไว้
โดย ทั่วไป ผู้สอบบัญชีอาจแสดงความเห็นต่องบการเงิน อยู่ ๓ รูปแบบ คือ (๑) แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unqualified Audit Opinion) (๒) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข (Qualified Audit Opinion) และ (๓) ไม่แสดงความเห็น (Adverse Audit Opinion)
งบการเงินทั่วไปที่ไม่มีประเด็นปัญหาอะไร ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข
กรณี ที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข จะเกิดขึ้นเมื่อผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ และ/หรือ มีการบันทึกบัญชีที่ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่มีสาระสำคัญ
กรณี ที่ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็น จะเกิดขึ้นเมื่อผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ และ/หรือ มีการบันทึกบัญชีที่ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่องบการเงินที่มีสาระสำคัญอย่างมาก
การดูงบ การเงินให้เข้าใจนั้น จำเป็นต้องดูส่วนประกอบทุกส่วนไปพร้อมกัน การดูเฉพาะตัวเลขในงบการเงินโดยไม่ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินอาจทำให้ได้ ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่น พบว่าบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรอยู่ แต่ไม่ทราบว่าติดภาระค้ำประกัน การดูฐานะการเงินโดยไม่ทราบว่ามีความเห็นที่มีเงื่อนไขของผู้สอบบัญชี เป็นต้น

งบการเงินของบริษัทต่างๆ จะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องว่ามีข้อมูลอันเป็นจริง ไม่ได้ทำขึ้นมาแสดงตัวเลขเกินจริง เพื่อหลอกผู้ถือหุ้นว่าบริษัทได้กำไรมากหวังผลในเรื่องราคาหุ้น หรืือหลอกว่าขาดทุนเพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษี โดยงบการเงินที่ถูกต้องจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชี แต่ถ้าผู้สอบบัญชีเห็นถึงควมผิดปกติของงบการเงิน ก็จะระบุไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ และลงความเห็นว่าไม่รับรองงบการเงินนั้น  หรือ เป็นการระบุที่มาที่ไปเพิ่มเติมของงบการงินก็ได้ครับ

ที่มา  :   guru.google.co.th                  28/1/2555

__________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี  เรื่องที่  8

สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน

 

ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ผลประกอบการมีแนวโน้มถดถอย การหมุนเวียนของสินทรัพย์เพื่อทำรายได้เฉื่อยลง บริษัทใช้เวลานานขึ้นในการขายสินค้าและเก็บเงิน ลูกหนี้ผัดผ่อน ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บัญชีลูกหนี้เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดไม่คล่องตัว ส่งผลทางลบในงบการเงิน มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น

อาการทั้ง หลายเหล่านี้ จะปรากฏให้เห็นในงบการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัท ว่า มีความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอเพียงไหน

การตบแต่งงบการเงินที่พบเห็นกันทั่ว ไป จะมีทั้งการใช้วิธีการทางบัญชีที่สร้างภาพในงบการเงิน การสร้างภาพอาจมีทั้งการจูงใจให้เกิดภาพทางบวก และอาจมีการจูงใจให้เกิดภาพทางลบ (ถ้ากรณีที่หวังผลการ Short selling โดยการขายหุ้นก่อนที่ข่าวร้ายจะออก และกลับมาซื้อหุ้นภายหลัง และกินกำไรส่วนต่างไป)

โดยปกติผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ต่างๆ จะมีแรงกดดันในการสร้างผลกำไร เพื่อเพิ่มกำไรต่อหุ้น และเพื่อให้ราคาหุ้นตอบสนองในทางบวก การใช้หลักการบัญชีสามารถเปลี่ยนไปตามที่ผู้บริหารอยากจะให้ผลออกมาเป็นสิ่ง ที่ต้องการ หรือ Earnings management

เช่น การ ใช้หลักการบัญชีที่มักไม่สอดคล้องกับหลักความระมัดระวัง หรืออาจจะอนุรักษนิยมเกินไป (conservative) เช่น การเลือกใช้วิธีการบัญชีที่แสดงกำไรเร็ว หรือการตั้งสำรองเผื่อความเสียหายแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยอาศัยจุดอ่อนของหลักประมาณการช่วย หรืออีกวิธีหนึ่งที่เราพบอยู่เสมอๆ คือ การดำเนินการโดยการสร้างรายการธุรกิจ ให้มีภาพลักษณ์ของการประกอบการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย

โดยรายการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ทำให้มีรายการซื้อขายกัน เพื่อให้เห็นว่า สินค้ามีการเคลื่อนไหว ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง สร้างรายได้เทียม หรืออาจดำเนินธุรกรรมโดยการสร้างมูลค่าหรือราคา ของรายการธุรกิจระหว่างกัน เช่น ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันด้วยราคาที่แตกต่างจากราคาตามปกติธุรกิจ เช่น ในกรณีบริษัทผู้บรรจุก๊าซที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ เร็วๆ นี้

ถึงแม้ว่ารายการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กัน ในหลักบัญชีมีการเปิดเผยรายละเอียดในงบการเงินให้ทราบถึงกิจกรรมธุรกิจที่มี ต่อกัน รวมทั้งเงื่อนไขการคิดราคาระหว่างกัน โดยให้จัดทำงบการเงินรวมของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน เหล่านี้ทำให้รายการระหว่างกัน ต้องถูกหักล้างกันออกไป เสมือนหนึ่งไม่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติเงื่อนไขของการจัดทำงบการเงินรวมของธุรกิจที่เกี่ยว ข้องกันนั้น มิได้อยู่ที่ปัจจัยในเชิงตัวเลข (Form) เช่น อัตราร้อยละของการถือหุ้นในระหว่างกันเท่านั้น

แต่จะรวมไปถึงปัจจัยที่เป็นสาระแก่น สาร (Substances) ซึ่งได้แก่ การมีอิทธิพลต่อกัน หรือมีอำนาจควบคุม (Influence) กัน ทั้งในการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ แต่การวัดสาระแก่นสารต่างๆ ในทางปฏิบัติมักจะทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีบริษัทลูก (Subsidiaries) หรือบริษัทร่วม (Associates) และการทำธุรกรรมต่างๆ หรือหนี้สินมักทำผ่านบริษัทลูก หรือบริษัทร่วมนั้นๆ สัก 3-4 ชั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการหักล้างกันในรายการระหว่างกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมงบการเงิน

บริษัทที่มีโอกาส หรือมีแนวโน้มในการบกพร่อง หรือทุจริตของการบันทึกบัญชี (Accounting Fraudulent) ปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยที่เดียว ในต่างประเทศปรากฏการณ์ของการบกพร่องของการบันทึกบัญชี ได้พบแม้กระทั่งบริษัทที่ถือว่าเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง และเป็น Blue chips เช่น American Insurance Group (AIG), ENRON, XEROX, World com

บริษัทชื่อดังเหล่านี้เคยเป็นบริษัท ที่อยู่ใน Port การลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งสิ้น การบกพร่องทางบัญชีสามารถทำได้ โดยทางการบันทึกรายได้ล่วงหน้า สร้างรายได้และกำไรเทียม สร้างกำไรที่ไม่ได้เกิดจากผลการดำเนินงาน (Non-core operating profit) หรือกำไรพิเศษ ปิดบังหนี้สินผ่านงบนอกงบดุล (Off-balance sheet items) ซ่อนเร้นหนี้สินหรือทำธุรกรรมผ่านบริษัทเครือข่าย หรือบริษัทลูก หรือชะลอค่าใช้จ่าย ผ่องถ่ายเงินจากกระเป๋าผู้ถือหุ้นเข้ากระเป๋าผู้บริหาร ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นการถดถอยของคุณภาพกำไร ในปัจจุบันกลตัวเลข และกลบัญชีได้พัฒนาถึงขั้นการตบแต่งงบกระแสเงินสดเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคที่พัฒนามากทีเดียว

เนื่องจาก การที่การค้นพบการทุจริตด้านการเงิน หรือด้านบริหาร มักจะทำได้ยากและอาจไม่ทันการ กว่าจะค้นพบราคาหุ้นได้ตกลงไปมากแล้ว เนื่องจากนักลงทุนจะรู้ตัวเลขหรืองบการเงินช้ากว่าผู้บริหาร เพราะฉะนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ และค้นหาสัญญาณเตือนภัย ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของกิจการที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งอาจจะยังไม่ได้มีการสะท้อนเข้าไปในราคาหลักทรัพย์ของกิจการนั้น หรืออาจจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัววัดผลการดำเนินงาน หรือตัววัดฐานะการเงินที่สำคัญๆ

การวัดสัญญาณเตือนภัยพิจารณาจากหลัก การของพฤติกรรมผู้บริหาร หรือพฤติกรรมมนุษย์โดยปกติทั่วๆ ไป (Behavior finance) ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก

1.รายงานของผู้สอบบัญชีที่ยาวผิดปกติ มีการกล่าวถึงความไม่แน่นอนต่างๆ ที่มีสาระสำคัญ มีการออกรายงานที่ล่าช้ากว่าปกติ หรือมีการชี้แจงถึงการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สอบบัญชี สัญญาณเตือนภัยเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกว่าผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีมีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับรายการบางรายการ โดยทั่วไปความเห็นที่ขัดแย้งกันนี้มักจะเกี่ยวข้องกับรายการที่มีความเสี่ยง สูง และค่อนข้างไว (Sensitive) ต่อราคาหุ้น

2.การลดลงในค่าใช้จ่ายที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งสำรองสินทรัพย์ด้วยค่าเผื่อหนี้สูญ ฝ่ายบริหารจะทำการลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลง เพื่อช่วยให้กิจการทำกำไรได้เข้าเป้า เนื่องจากผลประโยชน์ของผู้บริหารจะอิงกับผลประโยชน์บางอย่าง เช่น โบนัสอิงกับกำไร

3.การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคา เพื่อนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดกลับลดลง

4.การเพิ่มขึ้นของบัญชีลูกหนี้ หรือรายได้ค้างรับที่แตกต่างไปจากยอดที่กิจการประสบอยู่ในอดีตอย่างเห็นได้ชัด อาจเป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการได้มีการให้สินเชื่อทางการค้า เพื่อกระตุ้นยอดขายเพื่อทำกำไรให้เข้าเป้า อาจนำไปสู่การขายให้กับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผิดนัดชำระหนี้ เป็นยอดขายที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินแก่ผู้ขายตามมาในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้ ยอดขายและกำไรทางบัญชีจะเพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดจะลดลง

5.การ ขยายตัวของบัญชีเจ้าหนี้การค้าที่แตกต่างไปจากยอดที่กิจการประสบอยู่ในอดีต อย่างเห็นได้ชัด หรือการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เกินไปกว่าระยะเวลาการชำระหนี้ โดยปกติอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการต้องการที่จะทำให้ยอดดุลของบัญชีเจ้า หนี้คล้ายกับว่าเพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด ณ วันที่จัดทำงบดุล หรือการที่บริษัทขาดสภาพคล่องจนกระทั่งต้องขอให้เจ้าหนี้การค้าต้องยืดหนี้ ให้

6.การเพิ่มขึ้นในยอดคงเหลือในบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างผิดปกติ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการอาจกำลังตั้งรายจ่ายในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นค่า ใช้จ่ายรอการตัดบัญชี เนื่องจากรายได้ที่กิจการทำได้ไม่เพียงพอต่อการที่จะชดเชยรายจ่ายดังกล่าว หากมีการตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้นเป็นการบริหารกำไรในแต่ละไตรมาส เพื่อผลที่ต้องการ

7.มีรายได้มาจากรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ เช่น กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ เป็นต้น) การจำหน่ายสินทรัพย์ออกไปในราคาที่ทำกำไรเช่นนี้ อาจทำขึ้นเพียงเพื่อทำให้กำไรที่เกิดขึ้นจริงไม่ต่างไปจากกำไรที่ได้ประมาณ การไว้

8.การลดลงในสำรองต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นการตัดจ่ายโดยตรงจากสำรอง หรือการโอนกลับรายการสำรองต่างๆ การตัดจ่ายโดยตรงจากสำรองเป็นตัวบ่งบอกว่ารายการอันอาจเกิดขึ้น ซึ่งได้มีการตั้งสำรองเผื่อสำหรับจำนวนนี้ไว้แล้วได้เกิดขึ้นตามนั้นจริง ในขณะที่การโอนกลับรายการที่ตั้งสำรองไว้เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการทำขึ้นเพื่อ สร้างภาพกำไร

9.การเพิ่มขึ้นในเงินกู้ยืม เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการกำลังประสบกับปัญหาในการจัดหาเงินทุน เพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากแหล่งเงินทุนภายในกิจการ

10.การเพิ่มขึ้นในบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการกำลังใช้หลักการบัญชีที่หละหลวมในการจัดทำตัว เลขกำไร เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชน หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำไรก่อนหักภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นตัววัดผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการกำลังปรับตัวไปในทางลดลง

11.ยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ณ วันสิ้นปี หรือ ณ ช่วงเวลาที่แตกต่างไปจากปีที่ผ่านๆ มา อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการอาจะทำการกู้ยืมเงินมาเพื่อสนับสนุนการขาย สินค้าเป็นเงินสินเชื่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายตอนปลายงวดให้สูงขึ้น หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ารูปแบบของการดำเนินธุรกิจอาจกำลังเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่ก้าวร้าวมาก ในภาษาการเงิน เรียกว่า Leverage to finance customer

12.อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ต่ำลง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าปัญหาทางด้านการขาย ปัญหาทางด้านสินค้าคงเหลือ หรือปัญหาทางด้านการผลิตอาจกำลังก่อตัวขึ้น

 

13.มีผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่ท่านที่สามารถควบคุมบริษัทได้ทั้งหมด หรือการที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าของบริษัท โดยที่ผลตอบแทนของผู้บริหารเหล่านี้มีส่วนอ้างอิงกับกำไรของบริษัท

14.การที่ผู้บริหารบริษัทมีรายงานซื้อหุ้น หรือโอนหุ้นเข้าออกอยู่เสมอ

สัญญาณต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นสัญญาณที่เตือนว่า อาจจะมีความผิดปกติของงบการเงินซ่อนอยู่...

ที่มา  :  กรุงเทพธุรกิจ                            30/1/2555

____________________________________________________________________

ข่าวสารการบัญชี เรื่องที่ 9

IAS 19 Employee Benefits

  • แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท

–    ผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน กองทุนเงินสมทบประกันสังคม เงินที่จ่ายระหว่างลาพักผ่อนประจำปีและลาป่วย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (เช่น การรักษาพยาบาล ที่พักอาศัย ยานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ช่วยเหลือหรือให้เปล่าแก่พนักงาน) สำหรับพนักงานปัจจุบัน

–    ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น บำนาญ ผลประโยชน์อื่นเมื่อเกษียณอายุ เบี้ยประกันชีวิตและค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน

–    ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นๆ ของพนักงานรวมถึง ผลตอบแทนในรูปการลางานสำหรับพนักงานที่ทำงานให้กับกิจการเป็นเวลานาน เช่น ลาบวช ลาศึกษาต่อ ลาเพื่อรับราชการทหาร ผลประโยชน์ครบรอบ 50 ปีหรือผลประโยชน์การให้บริการที่ยาวนานอื่นๆผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับความทุพพลภาพระยะยาวซึ่งเป็นการจ่ายตั้งแต่ 12 เดือนหลังวันสิ้นงวด นอกจากนี้ยังรวมส่วนแบ่งกำไร โบนัส และค่าตอบแทนที่จะจ่ายด้วย

–    ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง

  • ให้รับรู้ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเมื่อพนักงานได้ให้บริการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์นั้น
  • สำหรับโครงการสมทบเงิน (Defined Contribution Plan) ให้รับรู้การจ่ายเงินสมทบเมื่อพนักงานได้ให้บริการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสมทบนั้น
  • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ (Defined Benefit Plan) (โครงการบำเหน็จบำนาญ หรือกิจการมีการกำหนดให้พนักงานออกจากงานเมื่อเกษียณอายุ) ให้

–    บันทึกบัญชีทั้งภาระผูกพันทางกฎหมายและภาระผูกพันจากการอนุมานอื่นๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติของกิจการ

  • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้

–    กำหนด PV ของภาระผูกพันของผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอเพียงพอเพื่อมิให้จำนวนที่รับรู้ในงบการเงินแตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญจากจำนวน ณ วันที่ในงบดุล

–    ใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) เพื่อวัดมูลค่าภาระผูกพันและต้นทุน

–    จัดสรรผลประโยชน์ให้ปีที่ให้บริการตามสูตรคำนวณผลประโยชน์ของโครงการ เว้นแต่การให้บริการในปีหลังๆ จะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่มากขึ้นกว่าปีก่อนๆ อย่างเป็นสาระสำคัญ

 

  • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้

–                ใช้ข้อสมมติจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นกลางและเป็นอิสระในการเปรียบเทียบกันได้เกี่ยวกับตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (เช่น อัตราการออกจากงานและการมรณะ) และตัวแปรทางการเงิน (เช่น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่ารักษาพยาบาลและผลประโยชน์บางอย่างของรัฐ)

–                กำหนดอัตราคิดลดโดยอ้างอิงกับอัตราผลตอบแทนในตลาดของหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี ณ วันที่ในงบดุล และใช้สกุลเงินและเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสกุลเงินและเงื่อนไขของภาระผูกพันผลประโยชน์หลังออกจากงาน

–                รับรู้ต้นทุนบริการในอดีตด้วยวิธีเส้นตรงตลอดระยะเวลาเฉลี่ยจนกว่าพนักงานจะได้รับผลประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนอย่างเด็ดขาด

คำพิพากษาฎีกาที่ 6966-6971/2542

  • ระบุว่าการกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118

  • กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

ระยะเวลาการจ้าง

ค่าตอบแทนเมื่อเลิกจ้างก่อนกำหนด

มากกว่า 120 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี

ค่าจ้าง 30 วัน หรือเงินเดือน 1 เดือน

1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี

ค่าจ้าง 90 วัน หรือเงินเดือน 3 เดือน

3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี

ค่าจ้าง 180 วัน หรือเงินเดือน 6 เดือน

6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี

ค่าจ้าง 240 วัน หรือเงินเดือน 8 เดือน

ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

ค่าจ้าง 300 วัน หรือเงินเดือน 10 เดือน

 

Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation

  • สภาวิชาชีพบัญชีได้จัดทำ Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation อย่างง่ายให้กิจการต่าง ๆ นำไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ้าง actuarial  อย่างไรก็ดี Model ดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับกิจการที่มีลักษณะการให้ผลประโยชน์พนักงานแบบซับซ้อน หากกิจการเหล่านั้นนำ Model อย่างง่ายไปใช้ อาจทำให้มูลค่า Employee Benefit Obligation ที่คำนวณได้ไม่ถูกต้อง

ที่มา  :  ดร.วรศักดิ์  ทุมมานนท์                              วันที่  7/3/2555

________________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 10

งบกระแสเงินสด

 

เงินสด เป็น รายการทางบัญชีรายการหนึ่งที่แสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่ามีมากเพียงใด ผู้ประกอบการจึงควรสนใจการเปลี่ยนแปลงของเงินสดทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเงินสดและงบกระแสเงินสดนี่เองจะแสดงให้เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงของเงินสดว่าเป็นไปอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากสิ่งใด และแสดงแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินสดในแต่ละงวดเวลาว่าได้มาจากทางใด เป็นจำนวนเท่าใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะแสดงให้ทราบถึงเงินสดที่ได้มาและใช้ไปใน กิจกรรมเกี่ยวกับ การจัดหาเงินทุน การลงทุน และการดำเนินงาน

 

ดังนั้นงบกระแสเงินสด จึงเป็นงบการเงินของกิจการอีกงบหนึ่งที่ต้องจัดทำนอกจากงบกำไรขาดทุน (แสดงถึงผลการดำเนินงาน)  งบกำไรสะสม  และงบดุล (แสดงถึงฐานะทางการเงิน)  งบกระแสเงินสดจะเป็นส่วนหนึ่งของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่แสดงความเคลื่อนไหวของเงินทุนในรอบระยะเวลาหนึ่งคือแสดงเกี่ยวกับเงินทุนที่ได้รับ จากแหล่งต่างๆและแสดงเกี่ยวกับเงินทุนที่จ่ายออกไปเนื่องจากกิจกรรมต่างๆดัง ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น

 

แหล่งที่มาและใช้ไปของกระแสเงินสดจาก 3 กิจกรรมที่ผมได้กล่าวถึงนั้น ได้แก่ การจัดหาเงินทุน การลงทุน และการดำเนินงาน โดยแต่ละกิจกรรมจะเกี่ยวข้องกับรายการรับ-จ่ายเงินสดที่พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

 

-กิจกรรมดำเนินงาน

รายการรับ    ขายสินค้า/บริการ, รับชำระหนี้จากลูกหนี้, ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร

รายการจ่าย  เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้า, จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า,  ค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่างๆ เช่น เงินเดือน   ค่าเช่าสำนักงาน, ภาษีเงินได้

-กิจกรรมลงทุน

รายการรับ     ขายที่ดิน, อุปกรณ์สำนักงาน, เงินลงทุนระยะยาว

รายการจ่าย   ซื้อที่ดิน, ต่อเติมอาคาร, ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน, ซื้อเงินลงทุนระยะยาว

-กิจกรรมจัดหาเงิน

รายการรับ      ออกจำหน่ายหุ้นทุน, หุ้นกู้, กู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน

รายการจ่าย    จ่ายขำระหนี้เงินกู้ระยะยาว, จ่ายเงินปันผล

 

ทั้ง นี้ งบกระแสเงินสดจะมีข้อแตกต่างจากงบเงินทุน หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่แสดงให้เห็นถึงรายการเงินทุนดำเนิน งานเท่านั้น ซึ่งเงินทุนดำเนินงานยังไม่แสดงความคล่องตัวชัดเจนเหมือนเงินสด เพราะในเงินทุนดำเนินงานหรือสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธินั้น ในความหมายได้รวมถึงรายการทางบัญชีบางประเภทที่มิใช่เงินสด เช่น สินค้าคงเหลือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้การค้า ตั๋วเงินรับและเงินทุนลงทุนระยะสั้นด้วย แต่งบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นถึงกระแสเงินสดที่ได้มาและใช้ไปในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเงินสดที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่ต้องคอยติดตามดูแลเงินสดอยู่เสมอ ดังนั้นงบกระแสเงินสดจึงเป็นงบที่มีความสำคัญมากเพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจของผู้บริหารในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นได้ชัดเจนที่สุด

ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด

 

ประโยชน์ของการจัดทำงบกระแสเงินสดคือเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เกี่ยวกับเงินสดและเพื่อการวางแผนงานในอนาคตซึ่งงบกระแสเงินสดจะแสดงให้ผู้ คุณทราบว่าเงินสดจะได้รับจากทางใดบ้างในจำนวนเท่าใด

 

ในการวางแผนเกี่ยวกับเงินสดผู้ประกอบการจะได้ทราบถึง ความเพียงพอของเงินสดว่ามีเพียงพอแก่ความต้องการของกิจการหรือไม่สำหรับ วัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อใช้จ่ายชำระหนี้เจ้าหนี้ ธนาคาร หรือจ่ายปันผล ในบางเดือนกิจการอาจมีรายจ่ายมากกว่าเงินสดที่ได้รับ กิจการก็ต้องวางแผนหาเงินสดเพิ่มเพื่อให้เพียงพอกับรายจ่าย โดยอาจจะจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นหรือกู้ยืมระยะสั้นแต่หากภายหลังเงินสดรับสูงกว่าเงินสดที่จะต้องจ่าย กิจการอาจจะนำไปชำระหนี้สินและนำไปลงทุนระยะสั้น เป็นต้น

 

ในบางครั้งกิจการดำเนินงานมีผลกำไรแต่ขาดความคล่องตัวในการชำระหนี้สินที่ ถึงกำหนดหรือไม่สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ งบกระแสเงินสดก็จะสามารถอธิบายได้ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งใด หรือแม้กระทั่งคุณเคยสงสัยหรือไม่กับสิ่งเหล่านี้

-สาเหตุใดที่เงินสดของกิจการลดลงอย่างผิดปกติ

-กิจการบางกิจการดำเนินงานแล้วขาดทุนแต่ก็ยังสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและคล่องตัว

-กิจการบางแห่งมีผลประกอบการอันเป็นกำไรจากการดำเนินงานแต่ก็ยังขาดสภาพคล่อง

 

น่าแปลกครับที่บางกิจการทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องแต่เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดที่ถ้วนกลับพบว่ากำไรที่ได้นั้นมิได้เป็นกำไรที่เป็นเงินสดอย่างแท้จริง แต่อาจอยู่ในรูปของ บัญชีลูกหนี้การค้า ที่ยังมิได้ทำการเก็บเงินสดแต่อย่างใด ทำให้สภาพคล่องของกิจการมีความเป็นไปได้สูงที่อาจมีปัญหาในชั่วขณะหนึ่ง หากยังคงดำเนินการเช่นเดิม คือปล่อยให้มีรายการ ลูกหนี้การค้า ในอัตราที่เท่าเดิมและไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเรียกรับชำระหนี้จากลูกหนี้

 

ผู้ ประกอบการยังต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนว่าเหมาะสมหรือ ไม่เพียงใด กล่าวคือ การได้มาของเงินสดจากแหล่งเงินทุนถาวรควรนำไปใช้ในการลงทุนถาวรมากกว่านำไปใช้ลงทุนระยะสั้นและในทำนองเดียวกันเงินสดจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นก็ควรนำไป ลงทุนระยะสั้น (ดูรายการรับ-จ่าย ที่ได้ยกตัวอย่างไว้ก่อนหน้านี้)  ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมและวัตถุประสงค์การใช้เงินในแต่ละกิจกรรมของกิจการ อาจจะตั้งคำถามเบื้องต้นกับตัวเองก่อนก็ได้ครับว่าเงินสดที่คุณกำลังจะใช้ได้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้หรือยัง

1.กิจการได้ใช้เงินสดเพื่อสิ่งใด

2.สาเหตุของการใช้เงินสด

3.เงินสดที่ใช้ไปกิจการได้มาจากแหล่งที่เหมาะสมหรือไม่

4.การใช้เงินสดดังกล่าวจะมีผลต่อกำไรและความเสี่ยงภัยทางการเงินอย่างไร

 

เป็นคำถามพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการต้องตอบตัวเองให้ได้ ซึ่งหากไม่สามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้วล่ะก็ไม่แน่เหมือนกันว่า การดำเนินและใช้จ่ายเงินสดของคุณในอนาคตในวันหนึ่งวันใดอาจจำต้องประสบปัญหาเรื่องของสภาพคล่องในที่สุดถึงแม้ว่าจะมีผลกำไรจากการดำเนินงานก็ตามเนื่องจากไม่ทราบที่มาที่ไปของการใช้เงินทำให้ไม่สามารถวางแผนได้ล่วงหน้า

 

งบ กระแสเงินสดในทางปฏิบัติสามารถจัดทำได้ 2 วิธี คือวิธีทางตรง และวิธีทางอ้อม ซึ่งผมเองคงไม่กล่าวถึงวิธีการจัดทำไว้ ณ ที่นี่เพราะเชื่อว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของผู้จัดทำบัญชีของกิจการที่จะเป็นผู้ ดูแลเรื่องดังกล่าว ส่วนคุณเองในฐานะผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการก็เพียงแต่เข้าใจและสาเหตุ ที่ต้องจัดทำอยางที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดก็เพียงพอแล้วในระดับหนึ่ง เว้นแต่ หากคุณต้องการทราบถึงวิธีการจัดทำอย่างแท้จริง ผู้จัดทำบัญชีของคุณจะเป็นคนให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

ที่มา  :  smethailandclub.com                                         15/3/2555

__________________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี เรื่องที่ 11

ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่า เช่าซื้อ และขายผ่อนชำระ

แนวทางบัญชีและภาษีสำหรับสัญญาเช่านั้น ความแตกต่างของประเภทสัญญาเช่า ก็มีผลโดยตรงต่อแนวทางบัญชีและทางภาษี ที่ทำให้แตกต่างกันไป  ทั้งนี้สัญญาเช่าอาจแบ่งประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  1. สัญญาเช่า
  2. สัญญาเช่าซื้อ
  3. สัญญาขายผ่อนชำระ

1. สัญญาเช่า

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 537 บัญญัติว่า “อันว่า เช่า ทรัพย์สิน นั้น คือ สัญญา ซึ่ง บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้ บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือ ได้รับประโยชน์ ใน ทรัพย์สิน อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลา อันมีจำกัด และ ผู้เช่า ตกลงจะให้ ค่าเช่า เพื่อการนั้น”

ทั้งนี้จากบทบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่แตกต่างจากคำนิยามของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29  (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า ระบุว่า สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์สำหรับ ช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนซึ่งได้รับชำระในงวดเดียว หรือหลายงวด

อย่างไรก็ตาม ในความหมายของทางบัญชีแล้ว สัญญาเช่าตามคำนิยามยังรวมถึง สัญญาเช่าสินทรัพย์ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ เช่า เมื่อผู้เช่าปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน สัญญาเช่าดังกล่าวบางครั้งเรียกว่า “สัญญาเช่าซื้อ” ซึ่งแตกต่างกับความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถือว่าสัญญาเช่าซื้อ เป็นสัญญาอีกชนิดหนึ่ง ดังที่จะได้กล่าวในหัวข้อถัดไป (แต่ในทางบัญชี สัญญาเช่าซื้อ ถือเป็นสัญญาเช่ารูปแบบหนึ่งภายใต้สัญญาเช่าการเงิน)

จากความแตกต่างดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่ง กล่าวคือ ในทางบัญชีนั้น มิได้ให้ความสำคัญกับ “หลักกรรมสิทธิ์” เหมือนกับทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงทำให้ทางบัญชีพิจารณาว่าสัญญาเช่าซื้อ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญาเช่า

2. สัญญาเช่าซื้อ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 572 บัญญัติว่า “อันว่า เช่าซื้อ นั้น คือ สัญญา ซึ่ง เจ้าของ เอา ทรัพย์สิน ออกให้เช่า และ ให้คำมั่นว่า จะ ขาย ทรัพย์สิน หรือ จะให้ ทรัพย์สิน นั้น ตกเป็นสิทธิ แก่ ผู้เช่า โดยเงื่อนไข ที่ ผู้เช่า ได้ใช้เงิน เป็นจำนวน เท่านั้นเท่านี้คราว”

ทั้งนี้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์เช่าซื้อยังคงอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินจนครบเงื่อนไขตามสัญญา กรรมสิทธิ์จึงโอนไปยังผู้เช่าซื้อ แต่เจตนารมณ์ของสัญญาเช่าซื้อ อาจวินิจฉัยได้ว่า เป็นการ “ขาย” เพียงแต่มีเงื่อนไขการชำระเงินที่ยาวนานกว่าปกติ

3. สัญญาขายผ่อนชำระ

เนื่องจากการขายผ่อนชำระไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยตรง แต่ให้ใช้บทบังคับตามสัญญาซื้อขายทั่วไป จึงอาจกล่าวได้ว่า การขายผ่อนชำระ คือ การที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อโดยยินยอมให้ผู้ซื้อจ่าย ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการบางส่วน ซึ่งเรียกว่า เงินวางเริ่มแรกหรือเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจ่ายชำระเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระ หรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้

ด้วยเหตุที่ การขายผ่อนชำระ ใช้บทบังคับตามสัญญาซื้อขายทั่วไป ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่า ซื้อขาย นั้น คือ สัญญา ซึ่ง บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอน กรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สิน ให้แก่ บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และ ผู้ซื้อ ตกลงว่า จะใช้ราคา ทรัพย์สินนั้น ให้แก่ ผู้ขาย” ดังนั้นหลักการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงใช้เช่นเดียวกับการซื้อขายทั่วไป กล่าวคือ การขายผ่อนชำระ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย

ที่มา  :   ธีรยุทธ์ สถิตย์พรอำนวย                                15/3/2555

________________________________________________________________

ข่าวสารบัญชี  เรื่องที่  12        

ป.ป.ช. ขยาเวลายื่นแบบ บช.1 ของสัญญาซึ่งมีมูลค่า 2,000,000 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2557

           
           ตามที่ ป.ป.ช. ได้ออกประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือ นิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทำและยื่นบัญชีรายการรับจ่าย (แบบ บช.1) เป็นรายสัญญา สำหรับสัญญาที่มีมูลค่า 5 แสนบาทขึ้นไป และต่อมาได้แก้ไขประกาศฯ อนุโลมให้ใช้มูลค่าสัญญา 2 ล้านบาทในช่วงแรก เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมูลค่าสัญญาที่เข้าข่ายต้องจัดทำและยื่นแบบ บช.1 แบ่งตามช่วงเวลา ดังนี้

·        วันที่ 1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2556 ใช้กับสัญญามูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป

·        วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป ใช้กับสัญญามูลค่า 5 แสนบาทขึ้นไป


เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การขยายระยะเวลาการบังคับสัญญาซึ่งมีมูลค่า 2,000,000 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2557” แล้ว โดยการแก้ไขดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลย้อนหลังสำหรับสัญญาที่มีการลงนามในหรือหลังวันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป

สรุปมูลค่าสัญญาที่เข้าข่ายต้องจัดทำและยื่นแบบ บช.1 แบ่งตามช่วงเวลา ดังนี้

·        วันที่ 1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2556 ใช้กับสัญญามูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป

·        วันที่ 1 เมษายน 2556 – 31 ธันวาคม 2557 ใช้กับสัญญามูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป *** ปรับปรุงใหม่ ***

·        วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ใช้กับสัญญามูลค่า 5 แสนบาทขึ้นไป

          

การ ขยายระยะเวลาบังคับใช้สัญญามูลค่า 2 ล้านบาทดังกล่าว นับเป็นผลสำเร็จจากความพยายามในการผลักดันของคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการทำบัญชี ที่ได้เข้าไปเป็นตัวแทนของสภาวิชาชีพบัญชีฯ และตัวแทนของผู้ทำบัญชีในการให้ข้อคิดเห็น และแนวทางเพื่อลดปัญหาในทางปฏิบัติ รวมทั้งเสนอความเห็นให้มีการปรับปรุงประกาศฯ ต่อ ป.ป.ช. เพื่อลดภาระในการปฏิบัติตามประกาศฯ ดังกล่าว ของผู้ประกอบการและผู้ทำบัญชี อย่างไรก็ตาม ท่านในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้ทำบัญชีก็มีหน้าที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจเนื้อหาของประกาศฯ และศึกษารายละเอียดการกรอกแบบ บช.1 อย่างถูกต้อง มิฉะนั้น ท่านหรือองค์กรของท่านจะมีความเสี่ยงในการถูกขึ้นบัญชีรายชื่อขาดคุณสมบัติ ในการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐได้

ที่มา  :    สภาวิชาชีพบัญชี  ในพระบรมราชูปถัมภ์                           3/7/2556

________________________________________________________________

Go Top

 

จดบริษัท, จดห้าง, จดเปลี่ยนแปลง
โทร. 088-227-7514, 
062-827-4446


สอบถามเรื่องบัญชี, ภาษี
โทร. 081-695-8246,
062-827-4446


มีปัญหาเรื่องบัญชีและภาษีอากร
โทร.088-227-7514,
081-695-8246



 


 






อัตราแลกเปลี่ยน

ราคาทองคำ