Link ที่เกี่ยวข้อง

ธนาคาร

ตั๋วเครื่องบินราคาถูก

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday324
mod_vvisit_counterYesterday616
mod_vvisit_counterThis week3038
mod_vvisit_counterLast week4268
mod_vvisit_counterThis month5352
mod_vvisit_counterLast month37676
mod_vvisit_counterAll days2811256

Go Down

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 1       วิธีการเขียนแผนธุรกิจ (1/5/2553)
ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 2       10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร (1/5/2553)
ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 3       ศิลปการพูดต่อที่ชุมชน (1/5/2553)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 4       ลักษณะของผู้ประกอบการที่ดี (28/9/2554)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 5       กลยุทธ์ระดับองค์กร  (3/11/2554)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 6       คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี (17/11/2554)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 7       คุณลักษณะของนักธุรกิจ  (7/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 8       5 ให้พิชิตใจลูกน้อง  (7/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 9       9  หลักการตลาดเบื้องต้นที่ SMEs ต้องรู้  (7/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 10     การบริหารงานบุคคลด้วยกลยุทธ์เชิงรุก  (8/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 11     เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี    (28/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 12    จับกระแสเทคโนโลยีปีมังกร 10 เทรนด์สุดฮอต "ไอซีที" (30/1/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 13     เถ้าแก่โรงงานกับการบริหารการผลิต   (15/2/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 14     ระบบพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Export)     (15/3/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 15     หลักบรรษัทภิบาล  (Corporate Governance)      (31/3/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 16     กลยุทธ์ลดต้นทุน      (27/4/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 17     10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ        (28/4/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 18     เทคนิคการร่างสัญญาทางการค้า   (27/6/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 19     ผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อธุรกิจไทย และกลยุทธ์ในการตั้งรับ   (10/7/2555)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 20     เจาะลึก AEC: ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ AEC อย่างไรบ้าง (4/7/2556)

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 1

วิธีการเขียนแผนธุรกิจ

 

คุณต้องการเริ่มต้นธุรกิจของคุณ เองใช่หรือไม่ ดีครับ แล้วคุณมีแผนธุรกิจหรือยัง หากยังไม่มี ธุรกิจของคุณเป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้น

ธนาคารและสถาบันสินเชื่อจะพิจารณาแผน ธุรกิจของคุณอย่างละเอียดเพื่อตัดสินใจว่าจะให้คุณกู้เงินหรือไม่ แผนธุรกิจจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่คุณและพนักงานของคุณใช้ในการทำงานให้ สำเร็จตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องช่วยคุณในการตัดสินใจว่าอะไรควรดำเนินการก่อน หรือหลัง หรือไม่ต้องดำเนินการใดๆ เลย

หากบริษัทของคุณมีขนาดเล็กและดำเนิน การที่บ้าน คำแนะนำต่อไปนี้บางเรื่องอาจเป็นสิ่งไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุด คุณควรมีแผนธุรกิจที่กำหนดเป้าหมายไว้ ประมาณการค่าใช้จ่าย แผนการตลาด และแผนการเลิกกิจการ แผนธุรกิจจะแสดงวิธีการสู่ความสำเร็จและแจกแจงรายละเอียดมาตรฐานต่างๆ สำหรับใช้วัดความสำเร็จดังกล่าว

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำง่ายๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจที่ดี:

บทสรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในข้อมูลสรุป (Executive Summary)

ข้อมูลสรุป (Executive Summary) จะกล่าวถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจของคุณ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับธนาคารและสถาบันสินเชื่อ คุณจะต้องโน้มน้าวเจ้าหน้าที่สินเชื่อให้รู้สึกมั่นใจว่าแผนธุรกิจที่คุณ เสนอสามารถดำเนินการได้จริงภายใน 2-3 หน้าแรกของข้อมูลสรุป

ข้อมูลสรุปนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสื่อให้พนักงานและลูกค้าได้เข้าใจถึงแนวความคิดและธุรกิจของคุณก่อนที่ เขาเหล่านั้นจะให้การสนับสนุนธุรกิจของคุณ

การชี้แจงว่าบริษัทคุณก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร

อธิบายการกำเนิดของบริษัท รวมทั้งเรื่องที่คุณหรือเพื่อนร่วมธุรกิจได้แนวความมาจากที่ใด

เป้าหมายบริษัท

อธิบายสั้นๆ ประมาณ 2-3 ย่อหน้าถึงเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของบริษัท อัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวัง กลุ่มลูกค้าหลักของคุณคือใคร

ประวัติของทีมผู้บริหาร

ในหัวข้อผู้บริหารให้ระบุชื่อและภูมิหลังของสมาชิกทีมผู้บริหาร รวมทั้งความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคนด้วย

สินค้าหรือบริการที่คุณวางแผนที่จะเสนอลูกค้า

ส่วนที่สำคัญที่สุดของบทสรุปคือการแสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากของผู้อื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร

ศักยภาพของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของคุณ

 

โปรดระลึกไว้ว่า คุณต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้สินเชื่อและพนักงานของคุณ รวมทั้งคนอื่นๆ ให้มีความรู้สึกว่าคุณมีตลาดเป้าหมายขนาดใหญ่และขยายตัวอยู่เสมอ คุณต้องทำการวิจัยมาบ้างก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้ของแผนธุรกิจ ในกรณีที่เป็นธุรกิจระดับท้องถิ่น ให้ตรวจสอบอุปสงค์ในสินค้าหรือบริการของพื้นที่รอบรัศมีที่กำหนด นำข้อมูลที่ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลของพื้นที่ที่ไกลออกไปอีกจากจุดที่ตั้ง ธุรกิจของคุณ หากเป็นธุรกิจที่ดำเนินการในเว็บหรือเป็นธุรกิจที่ดำเนินการทั้งในเว็บและใน ตลาดท้องถิ่น ให้ประเมินอุปสงค์ของระดับท้องถิ่นและ/หรือระดับประเทศ สำหรับรายงานจากบริษัทวิจัยระดับมืออาชีพอาจมีราคาแพง คุณสามารถค้นหาข้อมูลพื้นฐานได้จากเว็บและจาก Search engines และดัชนีต่างๆ

กลยุทธ์ในการขายสินค้าหรือบริการของคุณ

คุณมีแผนอย่างไรในการประกาศให้โลกรู้ ว่าคุณได้เปิดธุรกิจแล้ว คุณจะใช้วิธีการบอกเล่าแบบปากต่อปากอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไม่ใช่แผนที่ดีนัก เว้นเสียแต่คุณเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการอยู่แล้ว คุณจะโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บ หรือทั้งสามช่องทางรวมกัน คุณจะใช้เครื่องมือทำการตลาดแบบออนไลน์ในการทำให้ชื่อบริษัทของคุณติดอยู่ใน Search engines และโฆษณาในเว็บไซต์อื่นๆ หรือไม่ และอย่าลืมที่จะกำหนดจำนวนเงินที่คุณจะใช้จ่ายในด้านการตลาดด้วย

ประมาณการทางการเงิน 3 ถึง 5 ปี

ในหัวข้อนี้ให้ใส่ข้อสรุปของการ ประมาณการทางการเงินของคุณ พร้อมกับหน้ากระดาษคำนวณที่คุณใช้ทำประมาณการการเงินของคุณ แสดงงบดุลของคุณ งบรายได้ และประมาณการเงินสดหมุนเวียนของช่วงเวลาทั้งหมด หัวข้อนี้คือส่วนที่คุณจะบอกผู้ให้สินเชื่อผู้คาดหวังของคุณว่าคุณต้องการกู้เงินจำนวนเท่าใดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเริ่มธุรกิจของคุณ การคาดการณ์ของคุณในหัวข้อนี้ สามารถมีผลทำให้ธุรกิจของคุณสำเร็จหรือล้มเหลวได้ หากคุณไม่มีความชำนาญในด้านการวางแผนทางการเงินดังกล่าว ก็ควรให้มืออาชีพช่วยดำเนินการให้ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

แผนการเลิกกิจการ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแผน ธุรกิจที่ดี เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะวางแผนขายบริษัทของตนเมื่อตนต้องการเลิกกิจการ คุณอาจต้องการส่งมอบการบริหารให้คนบางคนหรือทำให้เป็นบริษัทมหาชน คุณสามารถใช้ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ในการพิจารณาเลิกกิจการ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขทางการเงิน ความเติบโตของรายรับ การยอมรับของตลาดในแนวความคิดของคุณ หรือข้อตกลงการเลิกกิจการที่ทำกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง ไม่ว่าคุณจะใช้หลักเกณฑ์ใด คุณต้องมีแผนในการรับกับผลตอบแทนการลงทุนที่คุณและผู้ร่วมลงทุนของคุณได้ลง ไป

 

บทความโดย  C.E. Yandle   ที่มา :  microsoft.com                                   1/5/2553

 


 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 2

10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร

ไม่แปลกอะไรหรอกค่ะ กับการที่เราจะประหม่า หรือตื่นเต้น เวลาที่ต้องออกไปพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ แต่ถ้าเราไม่สามารถจัดการกับความตื่นเต้นนี้ได้ นั่นหละจะเป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสาวทำงานยุคใหม่ ที่ต้องมั่นอกมั่นใจ และพรีเซนท์ตัวอย่างอยู่เสมอ หากว่าคุณยังขาดความมั่นใจในเรื่องนี้ มาดูเทคนิคที่จะช่วยสร้างความมั่นใจกันค่ะ

อย่างแรก คุณจะต้องเตรียมพร้อมเสมอ
ใน การที่จะออกไปพูด ถ้าหากรู้ตัวล่วงหน้าหลาย ๆ วัน คุณก็สามารถเตรียมได้ ทั้งรายละเอียด เนื้อหา เอกสารประกอบ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณนำเสนอเรื่องที่พูดได้อย่างน่าสนใจ นอกจากการเตรียมเอกสารแล้ว ต้องเตรียมสุขภาพด้วยนะคะ ระวังอย่าให้เป็นหวัด เพราะมันเป็นอุปสรรค์ต่อการพูดแบบมือโปรเป็นอย่างยิ่งค่ะ


วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง
ต้อง รู้ว่าเราจะพูดให้ใครฟัง ผู้ฟังเขามีพื้นฐานความรู้มากน้อยแค่ไหน จะได้รู้ว่าจะใช้วิธีการพูดอย่างเหมาะสมอย่างไร เช่น พูดให้เด็กเล็ก ๆ ฟัง ก็ต้องใช้นิทานช่วย หรือจะไปพูดศัพท์วิชาการ ไทยคำอังกฤษคำให้คนความรู้น้อยฟัง ก็คงจะไม่เหมาะ


สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์
ควรจะไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เพื่อจะได้สร้างความคุ้นเคยและหัดใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จะได้ไม่ขลุกขลักระหว่างการพูด


สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง
จะ ทำให้ตัวเราลดความตื่นเต้นลงไปได้มาก โดยคุณอาจจะพูดจา ทักทายกับผู้ฟังก่อนที่จะขึ้นพูด จะทำให้เขารู้สึกเป็นกันเองกับเราด้วยเหมือนกัน


มีอารมณ์ขัน
ต้อง หาเรื่องขำขันติดตัวเอาไว้บ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศและคลายเครียด เพราะในบางกรณีเรื่องที่เราพูดนั้น ยาว และเครียดเกินไป จะทำให้น่าเบื่อ แต่เรื่องขำขัน ต้องไม่ลามก นะคะ


สังเกตปฏิกริยาของผู้ฟัง
เวลา พูดให้กวาดสายตาไปอย่างทั่วถึง เป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าผู้ฟังเขาตั้งใจฟังอยู่หรือไม่ ดูว่าเขาพยักหน้าเข้าใจ หรือทำคิ้วขมวดด้วยความสงสัย หรือมีใครหลับไปแล้วบ้าง จะได้แก้ไขบรรยากาศ


อย่าท่องจำหรือใช้วิธีอ่านให้คนฟัง

เพราะ มันน่าเบื่อ คุณจะไม่สนใจใคร ไม่เปิดโอกาสให้ใครถาม เพราะกลัวว่าจะลืมสิ่งที่ท่องมา ทางที่ดี ควรซักซ้อม และทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมด ให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่ต้องมาท่องหรืออ่านให้ใครฟัง


ลืมความผิดพลาดไปเสีย
หากว่า เกิดความผิดพลาดในระหว่างการพูด อย่านำมาวิตกกังวล และเครียดไปกับมัน ให้ลืมไปก่อน แล้วพูดต่อให้จบ เพราะหากกังวล จะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คิด เมื่อพูดเสร็จแล้ว ค่อยมาทบทวนในสิ่งที่ทำพลาด และหาทางแก้ไขในโอกาสหน้า


อย่าแสดงอาการหรือคำพูดที่ดูหมิ่นคนฟัง
เพราะ คนพูดบางคนชอบคิดว่าตัวเองเก่ง รู้มาก และยิ่งใหญ่กว่าผู้ฟัง ทำให้แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมออกมา ซึ่งมันจะทำให้ผู้ฟังรับไม่ได้ ไม่ยอมรับนับถือในที่สุด


จินตนาการถึงความสำเร็จในการพูด
นึก ภาพเสมอว่า คุณพูดสำเร็จอย่างงดงาม ได้รับเสียงปรบมือ ได้รับคำชมเชย เพราะความคิดเหล่านี้ จะทำให้เกิดกำลังใจ และไม่วิตกกังวลมากจนเกินไป

1/5/2553

 


 

 

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่ 3


ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน


การพูดประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของการพูด

ผู้พูด

เนื้อหา ผู้ฟัง

ผู้พูด

ต้องรู้จักใช้ภาษา อากัปกริยา ท่าทาง และบุคลิกภาพของตน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนทัศนคติของตน ไปสู่ผู้ฟังให้ดีที่สุด ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน รวดเร็ว

เนื้อหา

ผู้พูดต้องรู้จักเลือกพูดในเรื่องที่ตนถนัด มีความเข้าใจ หัวข้อ เนื้อหา อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีหลักเกณฑ์คือ คำนำ เนื้อเรื่องสรุป

ผู้ฟัง

ผู้พูดเป็นผู้กำหัวใจ ของผู้ฟังไว้ในมือผู้พูดควรจะได้เรียนรู้ว่าผู้ฟังของตนเป็นใคร อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติ หรือภูมิหลัง ตลอดจนสถานะทางสังคม

ผู้พูดที่ฉลาดต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังของตนก่อนการพูดทุกครั้ง

เตรียมวิเคราะห์

• อายุ

• เพศ

• ศาสนา และความเชื่อ

• ฐานะและอาชีพ

• การศึกษา

• ความสนใจ

• สถานที่

• เวลา , โอกาส

ก่อนพูดต้องเตรียมอะไรบ้าง

เตรียมตัว

ภาษาและน้ำเสียง

ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย แสดงถึงรสนิยมที่ดีงามของผู้พูด ผู้พูดเก่ง พูดดีไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์แปลก ๆ ควรใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาไทยเข้าใจง่าย

น้ำเสียงจะบ่งบอกถึงความสุภาพ หรือความไม่สุภาพถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูดได้เป็นอย่างดี น้ำเสียงที่ดี ควรแจ่มใสนุ่มนวลชวนฟัง การใส่คำว่า นะคะ ครับ นะครับ ท้ายประโยคการพูด เป็นการแสดงถึงความเคารพ ให้เกียรติ แต่อย่าใช้มาก

ท่าทางและใบหน้า

การแสดงออกทางสีหน้าเป็นสื่อที่ทำให้ ผู้ฟังรับรู้ และเข้าใจความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด รวมถึงการใช้มือ ท่าทางประกอบการพูดได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติสอดคล้องเหมาสะมกับเนื้อหา ที่จะพูด จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจน

บุคลิกภาพและความมั่นใจ

การเลือกแต่งกาย ให้เหมาะสมกับบุคลิกโดยยึดหลักเหมาะสม สุภาพและเรียบร้อยย่อมแสดง

ออกถึงนิสัยใจคอ และรสนิยมของผู้พูด ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้พูด

สายตา

สายตาเป็นสื่อที่บอกให้ผู้ฟังรู้ว่า ผู้พูดสนใจมากน้อยแค่ไหน สบตาผู้ฟังบ้างเป็นครั้งคราว ไม่ถึงขนาดมองจ้องตลอดเวลา จะกลายเป็นเสียมารยาท

เดินและยืน

อย่าปล่อยตัวตามสบายจนเกินงาม เมื่ออยู่ต่อหน้าชุมชน แต่ไม่ถึงขนาดเกร็งจนเครียดหรือแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ ยืนให้สง่างาม หลังไม่โกง หน้าอกไม่ยื่นจนน่าเกลียด ไม่กระมิดกระเมี้ยนเหนียมอายจนน่าหมั่นไส้

ทางรวบรัดสู่การเป็นนักพูด

จงเตรียมเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด

จงเตรียมตัวมาให้พร้อม

จงสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

จงแต่งกายสะอาดเหมาะสมเรียบร้อย

จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น

จงใช้กิริยาท่าทางประกอบคำพูด

จงสบสายตากับผู้ฟัง

จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ

จงใช้ภาษาของผู้ฟัง

จงยกตัวอย่างหรือแทรกอารมณ์ขัน

ผู้นำยุคใหม่ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพูด ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคลหรือสาธารณชน

กำหนดจุดมุ่งหมายของการพูดให้แน่ชัด

(SET - UP OBJECTIVE)

จุดมุ่งหมายโดยทั่วไปมี ๕ ประการ

• เพื่อเร้าใจ (TO STIMULATE)

• เพื่อโน้มน้าว (TO CONVINCE)

• เพื่อเร่งรัด (TO ACTULATE)

• เพื่อบอกเล่า (TO INFORM)

• เพื่อบันเทิง (TO ENTERTAIN)

ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง

บันได 5 ขั้น ร่วมกระทำ ACTION

เห็นภาพ VISUALIZATION

พอใจ SATISFACTION

ต้องการ NEED

สนใจ ATTENTION

 

ขั้นที่ 1 ดึงความสนใจของผู้ฟังทันที

ขั้นที่ 2 ทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการจะฟัง

ขั้นที่ 3 ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ

ขั้นที่ 4 ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงให้ เห็นภาพ

ขั้นที่ 5 เรียกร้องให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยสนับสนุน คำพูดของท่านเป็นปิยะวาจา อยู่หลายประการ

จริงใจ ท่านต้องมั่นใจว่าคำพูดทุกคำของท่านออกมาจากความจริงใจ

ไร้อารมณ์ ท่านต้องตัดอารมณ์โกรธ โมโห สงบสติพิจารณาเหตุผล

ชมก่อน การเริ่มต้นด้วยการชมจะช่วยลดแรงกระทบให้น้อยลง

ค่อยตำหนิ เมื่อท่านเปิดหัวใจเขาได้ เขาก็พร้อมที่จะฟังคำตำหนิจากท่านแต่ไม่ใช่ประเภทขวานผ่าซาก

พิศดู ขณะที่ท่านกำลังพูดอยู่กับเขาปฏิกิริยาของเขาเป็นอย่างไร

ปูทาง ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จา การพูดแล้วทำให้คนฟังทำตามที่เราต้องการถือว่าเป็นสุดยอดของคำพูด

สร้างสัมพันธ์ ก่อสร้างสัมพันธ์ขึ้นมาก่อนเมื่อเริ่มต้นด้วยดีสิ่งดีก็จะตามมา

รายการตรวจสอบการเตรียมนำเสนอ

เตรียมเนื้อหาพร้อมพอเหมาะกับเวลา

ภาษาเข้าใจง่าย

อุปกรณ์ครบและชัดเจน

จัดเรียงเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน

เตรียมคำพูดขึ้นต้นและสรุป

ฝึกซ้อมการนำเสนอผลงาน

มีคนช่วยวิจารณ์ เสนอข้อแก้ไข

ตัดทอนการพูดให้อยู่ในเวลาที่กำหนด

ฝึกการพูดให้กระชับ

เตรียมการตอบคำถามไว้ให้พร้อม

 

 

 

ที่มา :  mettadham.ca/main.htm  และ tourtahi.com               1/5/2553
_______________________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่  4

 

ลักษณะของผู้ประกอบการที่ดี

คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ดีต้องมี

1.  ต้องเป็นผู้บุกเบิก

2.  ทำตัวเองให้ทันโลก

3.  ต้องเป็นนักพัฒนา

4.  ต้องเ็นนักต่อสู้

5.  ต้องมีบทบาทร่วมกับภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น

6.  ต้องมีความรับผิดชอบในวิชาชีพ

7.  ต้องเป็นนักการตลาด

8.  ต้องมีแรงจูงใจใฝ่สูง

9.  ต้องแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน

10.  ต้องชอบความเสี่ยง

11.  มีความสามารถในการจัดรูปแบบ

12.  มีการมองแนวโน้มที่สดใสตลอดเวลา

13.  เป็นคนยึดมั่นในการทำงาน

14.  มีพลังกายพลังใจสูง

15.  ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี

16.  มีวาจาที่แฝงด้วยอำนาจ

17. มีความน่าเชื่อถือได้

18. มีความรับผิดชอบสูง

19. ต้องประเมินผลตนเองอย่างถูกต้อง

20. ต้องมีความเพียร

นอกจากคุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการแล้ว  ยังมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้

- เป็นผู้มีความรู้ดี  ทั้งในธุรกิจและงานที่ทำ  หรือความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง  แม้จะไม่รู้หมดทุกเรื่อง  แต่ก็ควรรู้เรื่องส่วนใหญ่

- เป็นคนทำงานหนัก  แต่ก็รู้จักแบ่งเวลา  เพื่อการพักผ่อนอย่างได้สัดส่วนกับงาน

- เข้ากับลูกทีมได้ทุกระดับ  เปิดรับลูกทีมได้ทุกเวลา

- เป็นผู้มีความเป็นประชาธิปไตย  และเป็นมิตร

- มีความพร้อมที่จะรับฟังผู้อื่น  แม้ว่าจะอยู่ในช่วงงานยุ่งก็ตาม

- มีความสามารถในการตรวจสอบ  ติดตามผลงานได้  โดยไม่เข้าไปก้าวก่ายงานของลูกทีม

- พร้อมที่จะแจกหรือแบ่งงานให้ผู้อื่นทำ ให้โอกาสผู้น้อยในการทำงาน

- มีความรับผิดชอบ  ยอมรับการถูกตำหนิ

- มีความเป้นธรรม  และไม่ชอบระบบพรรคพวก  หรืออุปถัมภ์

- มีอารมณ์ขัน

SmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmileSmile

ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร้จ  ต้องมีหัวใจนักการตลาดที่ดี  ได้แก่

1. เป็นนักคิด  นักวางแผน  และนักวางกลยุทธื

2. สายตายาวไกล  คาดการณืเหตุการณ์ข้างหน้าได้อย่างแม่นยำ

3. แสวงหาโอกาสและสร้างโอกาส

4. อำนวยประโยชน์ให้แก่ลูกค้า  และสร้างความพอใจ

5. แข่งขันเพื่อโอกาสของชัยชนะ อย่างมีจรรยาบรรณ

6. มีความคิดสร้างสรรคื

7. รับผิดชอบต่อสังคม

8. รู้เท่าทันและปรับตัวให้เข้ากับสภาวะทางการตลาด และความเปลี่ยนแปลงของโลก

ที่มา  :  ศาสตร์สุดยอด SMEs ที่ดี - ดร.ธิติภพ  ชยธวัช      28/9/2554

_____________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 5

กลยุทธ์ธุรกิจ

 

Strategic Planning 
เลสลี่ และลอยด์ (Leslie W.Rue and Lloyd L. Byar,2000,p. 151) กล่าวว่า “กลยุทธ์เป็นแผนของแนวทางการจัดการพื้นฐานที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือการวางแผนที่จะจัดการให้บรรลุเจตจำนงของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้” กลยุทธ์ในแต่ละระดับสามารถที่จะกำหนดทิศทางของแต่ละองค์กรในอนาคตได้ ดังนั้นการแข่งขันในธุรกิจการผลิตที่ควรใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ 
การวิเคราะห์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ร่วมไปด้วยกันจะสามารถทำให้เห็นภาพแนวโน้มการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่พยายาม จะเพิ่มขีดความสามารถและมีความพร้อมที่จะแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ตามทิศทางขององค์กรได้ 
โดยทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากภายนอก และสิ่งแวดล้อมจากภายใน องค์กรสามารถที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือแผนสำหรับดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ ซึ่งรูปแบบกลยุทธ์สามารถที่จะกำหนดและแบ่งออกได้ตามลำดับขององค์กรดังนี้


1. กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)


หมายถึงทิศทางรวมของธุรกิจซึ่งเป็นทิศทางที่ใช้อธิบายแนวทางร่วมกันในการพัฒนา 
ธุรกิจบนพื้นฐานความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม หรือเป็นการกำหนดทิศทางที่เป็นเอกภาพของธุรกิจโดยรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้งเป็นการกำหนดว่า องค์กรจะมีการแข่งขันที่ดำเนินไปในทิศทางใด เป็นวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดทิศทางขององค์กร อาจจะมีการกำหนดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการหรือไม่ก็ได้ แต่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ ไปในแนวทางขององค์กรที่ให้บุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกสามารถรับรู้ได้ 
กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์รวมขององค์กรที่จะแสดงถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจทุกอย่างในอนาคตขององค์กรได้ และสามารถแยกได้เป็น 4 แนวทางตามลักษณะของการดำเนินธุรกิจ 
1.) Growth Strategies โดยทั่วไปทุกองค์กรนิยมที่จะเลือกกลยุทธ์นี้ในการดำเนินธุรกิจ 
เพื่อที่จะให้ธุรกิจมีการขยายตัวหรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น อาจเป็นการหาตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 
2.) Stability Strategies เป็นกลยุทธ์ที่ตลาดและสินค้าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการ 
ลงทุนเพิ่มเติม และยังคงโครงสร้างบริหารไว้ดังเดิม 
3.) Retrenchment Strategies เป็นกลยุทธ์การหดตัวที่เกิดจากแรงกดดันจากสิ่งแวดล้อม 
ภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นเทคโนโลยีที่ตายแล้วย่อมจะต้องมีความต้องการในตลาดลดลง ดังนั้นควรจะพิจารณาว่าควรดำเนินงานต่อไปได้หรือไม่ 
4.) Combination Strategies เป็นการผสมผสานกลยุทธ์ตามแนวทางทั้งสามข้างต้น มีการ 
ใช้กลยุทธ์ที่คู่ขนานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายต้องมีการผสมผสานกัน

 


2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)


หมายถึง แนวทางหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุแผนทิศทางรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้ง 
เป็นกลยุทธ์ธุรกิจคือเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมในระดับนี้ กลยุทธ์ที่ใช้อาจหมายถึงกลยุทธ์ในการขยายการตลาด (Market Expansion) กลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Penetration) กลยุทธ์ในการพัฒนาการตลาด (Market Development) กลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และกลยุทธ์ในการขยายไปสู่ธุรกิจอื่น (Diversification) เป็นการคัดเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะเหมาะสมเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรในระดับกลยุทธ์นี้ ซึ่งจะถือว่าเป็น (Mission) ที่สำคัญขององค์กรแสดงถึงขอบเขตของการดำเนินกิจการ 
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็นกลยุทธ์ระดับที่สองขององค์กรซึ่งสามารถที่จะแยกพิจารณาได้ 3 แนวทาง 
1.) กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost-Leadership Strategies) 
2.) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategies) เป็นการใช้ความแตกต่าง 
ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน โดยสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในรูปแบบที่คู่แข่งไม่สามารถทำได้ 
3.) กลยุทธ์การมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) เป็นการมุ่งตอบสนองลูกค้า 
เฉพาะกลุ่มในจำนวนจำกัด โดยอาจจะเป็นเฉพาะภูมิภาค สามารถที่จะตอบสนองลูกค้าในกลุ่มได้ดีกว่าผู้อื่น 
- Cost Focus เป็นการมุ่งเน้นการทำต้นทุนต่ำแต่มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะสถานที่โดยไม่สนลูกค้ากลุ่มอื่นเลย 
- Differentiation Focus เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มหรือสินค้าเฉพาะอย่าง และมีการเสนอสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง 
3. กลยุทธ์ระดับสายงาน (Functional Strategy) 
หมายถึงแนวนโยบายตามสายการแบ่งงาน เป็นการนำกลยุทธ์มาใช้ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุได้ซึ่งวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์กรที่สามารถประเมินค่าออกมาได้อย่างชัดเจน และจะเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องครอบคลุมทุกหน่วยงานภายในองค์กรให้มีการสอดประสานกันเพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่หน่วยปฏิบัติงาน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น 

ที่มา   : classifiedthai.com                      3/11/2554

______________________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 6

คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี

1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization)

  • รู้ถึงความต้องการแห่งตน
  • รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
  • รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด
  • รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
  • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
  • รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
  • รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
  • ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง

2.การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)

  • มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
  • มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้
  • เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร(Who)? ทำอะไร(What)? ที่ไหน(Where)? เมื่อไร(When)?
    ทำไม(Why) อย่างไร(HOW)? " (5-W 1H)
  • เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจ" ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
  • เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล
  • มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้

 

3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)

  • มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
  • เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
  • มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
  • มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
  • สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
  • การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
  • นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไร" และ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไร" เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
  • กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายใน
    ขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ
    ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง
    ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Llearning)
    รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้
  • ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด

4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร

ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคน" นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกริยาตอบโต้ของคนได้

5. การเป็นคนดี "Good Person"

คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่ง" สร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้า
กับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลส" จาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรม" ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา ในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่ว รู้ที่จะเอาตัวรอด จากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควร ประพฤติปฏิบัติได้
  • มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient) จนตกอยู่ในห้วง"กิเลส" คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็น ผลเลิศในระยะยาวได้
  • มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient) พร้อมที่จะเสียสละแรงกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหว ต่อคงามลำบากและอุปสรรคไดๆ
  • ไม่เป็นผู้ยึดติดกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งจนเกินพอดี(VQ= Void Quatient)รู้ที่จะ ปรับเปลี่ยน ตนเอง ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างเหมาะสม
  • ป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม (MQ= Moral Quatient) มีสำนึกของ "ความผิดชอบชั่วดี" มีความละอายใจต่อบาป ไม่ประพฤติชั่ว มุ่งทำแต่ความดี มีจิตใจที่ผ่องใส


ที่มา  :  novabizz.com วันที่  17/11/2554

________________________________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่ 7

คุณลักษณะของนักธุรกิจ

บุคลิกภาพของนักธุรกิจ

หมายถึงลักษณะท่าทาง  หน้าตา  การแต่งกาย  และการวางตัวซึ่งนักธุรกิจควรจะทำให้เกิดความศรัทธาและน่าเชื่อถือ  ในขณะเดียวกันควรจะมีความเฉลียวฉลาดและไหวพริบในการดำเนินธุรกิจซึ่งบุคลิกภาพของนักธุรกิจที่ควรมีได้แก่

1. การแต่งกายที่สุภาพ  สะอาดตา

2. มีอัธยาศัย  ยิ้มแย้ม  แจ่มใส

3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

4. เป็นผู้มีไหวพริบดี

5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี

6. เป็นผู้มองการณ์ไกล

7. มีความอดทน

8. กล้าที่จะประสบกับการขาดทุน

ฯลฯ

จรรยา หมายถึง  หลักความประพฤติที่ควรประพฤติ  เช่น  ความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี  รู้จักเสียสละ  เป็นต้น

มรรยาท หมายถึง  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สามารถถือเป็นข้อปฏิบัติที่ดีงาม

จรรยาบรรณของนักธุรกิจ

จรรยาบรรณ (Ethics)  ไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นข้อที่ควรปฏิบัติสำหรับอาชีพใดอาชีพหนึ่งเช่นแพทย์  ไม่ควรเปิดเผยความลับของคนไข้  เพราะผิดจรรยาแพทย์  เป็นต้น  สำหรับการประกอบธุรกิจ  ก็เช่นกัน  ผู้ประกอบธุรกิจควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่  เช่น

1. การให้สิ่งที่ดีต่อสังคม  การผลิตสิ่งของที่ดีมีคุณภาพให้กับสังคม  การไม่ปลอมปนสินค้า  ความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าที่ผลิตออกไป  การเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่มีอันตรายในการผลิตสินค้า

2. ปฏิบัติตามกฎหมาย  เช่น กฎหมายแรงงาน  ลดการเอารัดเอาเปรียบคนงาน  ควรจ่ายค่าจ้างการทำงานและสวัสดิการในด้านการบริโภค  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด

3. สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง   เช่น งานก่อสร้าง   งานการเกษตร  งานให้บริการต่าง ๆ งานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก  แต่เป็นการช่วยสังคมไม่ให้มีการว่างงาน

4. การกำหนดราคาสินค้า  ไม่ควรกำหนดสูงไปเพื่อหวังกำไร  แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสม  การไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ

5. ป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษ  เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุด  ในทางธุรกิจอุตสาหกรรมก็คือสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเกิดมลภาวะอากาศเป็นพิษ  น้ำเสีย  ของเสียที่ทับถมบนพื้นดิน

สภาพแวดล้อมที่ดี   ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ โดยจัดระบบการจำกัดและป้องกันให้เหมาะสม

6. ให้ความสนับสนุนการศึกษา  ธุรกิจจะต้องให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน  อาจทำได้โดยการให้ทุนการศึกษา  กู้ยืมเงิน  การฝึกงานดูงานของนักศึกษา  เชิญผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายให้นักศึกษาฟัง

7. ให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและนันทนาการ  ควรช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ  และให้บริการด้านต่าง ๆ ของสังคม เช่น  ลูกเสือชาวบ้าน  การกุศล  กิจกรรมต่าง ๆ

ความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งต้องปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ผู้ประกอบการทางธุรกิจ  จะต้องมีคุณธรรม  มีความยุติธรรม  ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ  ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมอันเป็นส่วนรวมอีกด้วย

อุดมการณ์ของนักธุรกิจ

อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี  ได้แก่

1. หมั่นประกอบการดี  และประพฤติเป็นคนดี

2. ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป

3. ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว  แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ  โดยคำนึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี

6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น  ต้องตระหนักถึงศสักดิ์ศรีความเสมอภาคของกลุ่มและบุคคล

ที่มา :  www.thaigoodview.com 7/1/2555

__________________________________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 8

5 ให้พิชิตใจลูกน้อง

ในองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ ในหลายบริษัท ที่ซึ่งคนมากหน้าหลายตา ร้อยพ่อ พันแม่ มารวมตัวกันอยู่อย่างคับคั่ง มากมาย แน่นอนครับว่า บริษัททั้งหลายก็ต้องเป็นแหล่งรวบรวมปัญหาและอุปสรรคตามมาอยู่มิใช่น้อย ไหนจะเรื่องงานที่ต้องประสบพบอยู่เป็นนิจ ไหนจะเรื่องการแข่งขันทั้งระหว่างองค์กรต่อองค์กร จนมาถึงกระทั่งตัวพนักงานด้วยกันเอง คงไม่ต้องบรรยายให้มากความต่อไปอีกว่าปัญหาจะมากมายซักขนาดไหน

โดยหนึ่งในปัญหาที่ถือว่าคลาสสิกตลอดกาล คือปัญหาเรื่องเจ้านายและลูกน้อง ปัญหานี้คือปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน และอาจจะยาวนานกว่าถ้าอยู่ในระดับโลก อย่างที่กล่าวไปว่าองค์กรธุรกิจเป็นที่รวมของผู้คนมากมาย โดยการรวมตัวกันของผู้คนย่อมต้องมีระบบการจัดการที่ดี อันนำมาซึ่งสายการบังคับบัญชา ระบบอาวุโสกว่าขึ้นมาปกครอง เพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของ องค์กร และเรามี 5 วิธีในการเอาชนะใจลูกน้องมาฝากท่านผู้อ่านทุกคนดังนี้

1.ให้โอกาสถ้าเราไม่ได้โอกาสคน ก็จะไม่สามารถเข้าถึงศักยภาพของบุคคล

เราจะเข้าถึงศักยภาพของคนไม่ได้ถ้าไม่ให้โอกาส

โอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่ผู้คนเสาะหามาโดยตลอด อันรวมถึงลูกน้องของเราด้วย การให้โอกาสถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของนักปกครองที่ดี เพราะถ้าเราไม่ให้โอกาสคน เราจะไม่สามารถเข้าถึงศักยภาพของบุคคลผู้นั้นได้เลย เพราะคนบางคนต้องการแค่โอกาส โอกาสที่จะพูด โอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น และโอกาสเปิดกว้างในความเจริญในหน้าที่การงานของลูกน้องด้วย

2. ให้อภัย

ในการทำงานมักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นอยู่เสมอ ให้เราถือซะว่านี่คือเรื่องปกติ และพร้อมที่จะทำใจยอมรับและให้อภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และร่วมกันแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง ชี้แนะให้แนวทางที่ถูกต้องในการทำงานแก่ลูกน้องของเรา อันจะก่อให้เกิดผลดีในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

3. ให้ความเป็นกันเอง

บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมโดยรอบของสถานที่ทำงานก็ถือเป็นส่วนที่สำคัญส่วน หนึ่งในการทำงาน เพราะเราต้องยอมรับว่าสถานที่ทำงานเป็นสถานที่ที่เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่ มากกว่าหกสิบเปอร์เซ็นต์ต่อหนึ่งวัน การให้ความเป็นกันเองกับลูกน้องจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศใน การทำงานให้ดีขึ้นได้ เพราะทุกวันของการทำงานที่ต้องแข่งขันทั้งในเรื่องของเวลา จำนวนงานที่มากมาย ย่อมทำให้เกิดความเครียดสูงเป็นเรื่องธรรมดา คุณควรริเริ่มสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความอบอุ่นจนเปรียบเสมือนเป็น บ้านหลังที่สองของสมาชิกผู้ร่วมงานทุกคน มีความเป็นกันเองกับลูกน้อง พร้อมที่จะให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในการทำงาน ทำตัวให้ลูกน้องเข้าถึงได้ง่าย พูดคุยอย่างเป็นกันเอง เปิดใจให้ลูกน้องเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของคุณ

4.ให้ใจ

การให้ใจกับลูกน้องร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอันจะนำมาซึ่งความเคารพที่ลูกน้องจะมีต่อตัวของคูณเอง อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ร่วมงาน พร้อมที่จะยืนหยัดเคียงข้างและปกป้องลูกน้องในสิ่งที่ถูกต้อง รักษาจุดยืนมากกว่าที่จะเอาใจลูกค้าหรือผู้บริหารระดับสูงแต่เพียงอย่าง เดียว

5.ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน

การให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพึงระลึก ไว้เสมอ  เพราะการให้ชนิดนี้เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่  คือการให้โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ตัวเองจะได้รับ คิดถึงผู้อื่นก่อนตนเองเสมอ การให้ชนิดนี้จะสามารถแสดงถึงตัวตนและภาวะการเป็นผู้นำของคุณได้ดีที่สุด

เปิดใจรับความแตกต่างของลูกน้อง

และนี่คือ 5 กลยุทธ์ที่สามารถรับรองได้ว่าเมื่อคุณนำมาใช้ปฏิบัติตามแล้วคุณจะสามารถ พิชิตใจลูกน้องของคุณได้อย่างแน่นอน เพียงรู้จักการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และเปิดใจรับถึงความแตกต่างในลักษณะเฉพาะของลูกน้องแต่ละคนมากกว่าจะเอาความ ชอบส่วนตัวมาเป็นบรรทัดฐานในการชี้วัดคุณค่าของคน เพราะในท้ายที่สุดแล้วเจ้านายกับลูกน้องก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องมีควบคู่กัน

ที่มา  :  http://incquity.com 7/1/2555

__________________________________________________________________

 

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่ 9

9  หลักการตลาดเบื้องต้นที่  SMEs  ต้องรู้


การตลาดไม่ได้หมายถึง การขายสินค้าที่ผลิต แต่หมายถึงการทราบว่า จะผลิตสินค้าอะไร? ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา บริษัทควรมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือขยายชนิดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัทคู่แข่งเข้าทำในตลาดส่วนนี้ได้......

9 หลักการตลาดเบื้องต้น ที่ SMEs ต้องรู้

1.วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
การศึกษาวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือ product life cycle แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์และตลาดมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่หนึ่งเคลื่อนไปตามวงจร ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์นั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย
ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นที่จะต้องบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับ วงจรชีวิตช่วงต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จจะต้องทำเงินให้คุ้มกับต้นทุนในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์นั้นๆ และยังต้องเพียงพอต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ซึ่งจะออกมาทดแทนผลิตภัณฑ์เก่านั้นด้วย
ความท้าทายอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร? จึงจะรักษาส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุดภายใต้วงจรชีวิตที่ผันแปรไปของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง กัน
ทุกผลิตภัณฑ์มีวงจรชีวิตของตัวเอง วงจรชีวิตดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น 4 ช่วงคือ
1. ช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ เป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์ได้รับกรแนะนำสู่ตลาด
2. ช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงที่มีผลิตภัณฑ์ออกมาในตลาดมาก ทั้งจากบริษัทและจากคู่แข่ง
3. ช่วงอิ่มตัว เป็นช่วงที่ปริมาณผลิตภัณฑ์ในตลาดเริ่มอิ่มตัว การพัฒนาและการปรุงแต่งผลิตภัณฑ์เริ่มถึงทางตัน และเกิดขึ้นน้อยครั้งลง
และ 4. ช่วงถดถอย เป็นช่วงที่ปริมาณของผลิตภัณฑ์ในตลาดลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ และทันสมัยกว่าออกมาแย่งลูกค้า หรือมีสินค้าทดแทนที่ทำให้ลูกค้าไม่สนใจใช้ผลิตภัณฑ์นั้นอีกต่อไป
เป็นที่ชัดเจนว่า วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาในการวางกลยุทธ์และแผน การตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ แนวคิดดั้งเดิมมีอยู่ว่า ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทมีวงจรชีวิตที่จำกัด ซึ่งหมายความว่า ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวนั้นจะต้องถูกแทนที่และหายไปจากตลาด แต่ยังมีแนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์ที่สามารถจะอยู่ยั่งยืนและไม่หายไป แต่จะกลายตัวไปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นที่ทันสมัยมากขึ้น เช่นวิวัฒนาการของเครื่องพิมพ์ดีดมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องสามารถคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะยืดอายุวงจรของผลิตภัณฑ์และตลาดไว้ให้นานที่สุด


2. แผนภูมิการเติบโต
จะทำให้เราสามารถแยกแยะสินค้าหลายๆ ชนิดของบริษัท โดยเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของตลาด และส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าแต่ละชนิด สินค้าที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงในตลาดที่มีอัตราการเติบโตช้า จะทำรายได้จากการผลิตได้มาก
ในทางกลับกัน การผลิตสินค้าที่เรามีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อย ควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบว่า ควรจะผลิตต่อไปหรือไม่
สำหรับบริษัทที่มีสินค้าหลากหลาย การนำแผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลดไปใช้ จะช่วยให้บริษัทสามารถประเมิน และพิจารณาการถ่วงดุลสินค้าแต่ละชนิดของบริษัท เพื่อดูว่าสินค้าตัวใดควรจะเน้นในการพัฒนา ลงทุนเพิ่มเติม หรือสินค้าตัวใดควรจะตัดจากสายการผลิต เพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์ในกลุ่มสินค้าที่เรามีอยู่ เราต้องทราบว่าตลาดที่เราทำธุรกิจอยู่หรือตลาดที่เราต้องการทำธุรกิจมีความ น่าสนใจเพียงไร
มีความเป็นไปได้น้อยมากที่เราจะโชคดีเจอตลาดที่เพียบพร้อม มีคู่แข่งน้อย มีอัตราการเติบโตสูง และผลกำไรตอบแทนสูงพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตาม เราจะเน้นตลาดที่น่าสนใจ ที่สามารถใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่และความพยายามให้คุ้มค่าที่สุด
การแบ่งเขตการตลาดไม่ใช่สิ่งที่ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับขอบเขตการพิจารณาหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม ตามหลักการแล้วเราต้องการที่จะเป็นผู้นำในตลาดสินค้าของเราเสมอ โดยที่ตลาดควรจะมีขนาดใหญ่พอ มีการเติบโตสูง และมีอัตราผลตอบแทนที่ดี เพราะถ้าตลาดมีการแข่งขันสูง การตั้งราคาเพื่อให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสมก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยาก
แผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลาด เป็นหลักความคิดที่แบ่งสินค้าในกลุ่มสินค้าออกเป็น 4 ประเภทคือ 1. ดวงดาว 2. วัวนม 3. เด็กมีปัญหา และ 4. สุนัข หลักการจัดแบ่งสินค้านี้ขึ้นอยู่กับ อัตราการเติบโตของตลาดและส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านั้นๆ แผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลาด จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า สินค้าชนิดใดที่ทำเงินให้แก่บริษัท และสินค้าชนิดใดที่ควรจะเลิกผลิต


3. แรงกระทบทั้ง 5
สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัท การวางแผนกลยุทธ์จะไม่ประสบความสำเร็จ หากปราศจากการวิเคราะห์ สภาวะแวดล้อม ความรุนแรงของการแข่งขัน และอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย
การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 จะช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้าง แนวโน้มหลัก และแรงกระทำต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามในอุตสาหกรรม และทราบว่าอุตสาหกรรมกำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง
แรงกระทบทั้ง 5 ที่กล่าวถึงคือ 1. ผู้ขายวัตถุดิบ 2. ผู้ซื้อสินค้า 3. ผู้แข่งขันรายใหม่ 4. สินค้าทดแทน และ 5. การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
โดยปกติถ้าแรงกระทบทั้ง 5 มีค่าต่ำ แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าสนใจลงทุน ในทางกลับกัน ถ้าแรงทั้ง 5 มีค่าสูง แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นมีการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงสูงไม่น่าลงทุน


4.ผลิตภัณฑ์
ส่วนผสมทางการตลาด-ผลิตภัณฑ์ หมายถึง แนวคิดที่ว่าจะผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคได้อย่างไร?
การตลาดไม่ได้หมายถึง การขายสินค้าที่ผลิต แต่หมายถึงการทราบว่า จะผลิตสินค้าอะไร? ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา บริษัทควรมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือขยายชนิดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัทคู่แข่งเข้าทำในตลาดส่วนนี้ได้ ด้วยวิธีการปรับปรุงหรือขยายสินค้าชนิดนี้ จะทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการและเกิดการซื้อซ้ำ และมีความจงรักภักดีในยี่ห้อของสินค้านั้นๆ
เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า ลูกค้าจะซื้อสินค้าจากบริษัทแทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง จะต้องทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่ง และดีกว่าคู่แข่ง โดยการประชาสัมพันธ์ถึงลักษณะเด่นที่ชัดเจนของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจต่อสินค้าของบริษัท และเกิดการยอมรับถึงความแตกต่างของสินค้าเมื่อเทียบกับของคู่แข่ง
ประโยชน์ของสินค้าที่แตกต่างนี้ ควรจะสามารถสื่อสารได้ และควรจะตอบสนองต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกค้าคือ การมองเห็น การได้ยิน กลิ่น รสชาติ และสามารถจับต้องได้ หรือสามารถอธิบายและจดจำได้ง่าย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะต้องสามารถก่อให้เกิดรายได้ และป้องกันการเลียนแบบจากคู่แข่งได้เป็นอย่างดีด้วย


5. กลยุทธ์ราคา
การกำหนดราคาขายที่ถูกต้องสำหรับสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และผลกำไรของบริษัท ผลกำไรคือ ผลต่างระหว่างต้นทุนในการผลิตสินค้า (ซึ่งได้รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด) กับราคาขายของสินค้า (ราคาขายของสินค้า-ต้นทุนการผลิต)
หลายบริษัทใช้ต้นทุนกลยุทธ์ทางราคาในแบบต้นทุนบวก (ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ) แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบการคิดเช่นนี้จะเกิดความผิดพลาดได้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว ราคามีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยอดขายแทบจะทุก ครั้งไป
บ่อยครั้งราคาสินค้าแพงขึ้น มักเป็นสาเหตุให้ความต้องการซื้อสินค้าลดน้อยลง ในขณะที่ราคาสินค้าลดลงสามารถช่วยให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นได้ การตอบสนองลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถนำกฎการเคลื่อนไหวของราคามาเป็นประโยชน์ และจะช่วยอธิบายว่า จะนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดด้านราคมาช่วยในการ สร้างผลกำไรสูงสุดจากการขายได้อย่างไร?


6. ช่องทางการจำหน่าย
ในเรื่องของช่องทางการจำหน่าย ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในส่วนผสมทางการตลาด ยังมีความเกี่ยวพันกับเรื่องยอดขายและการกระจายสินค้าออกสู่ตลาด การเลือกสถานที่หรือช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสม เป็นหนึ่งในหลักการแข่งขันที่จะทำให้บริษัทสามารถเอาชนะคู่แข่งที่ไม่สามารถ บริหารช่องทางการจำหน่ายที่ดีได้
ในการที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการเลือกช่องทางจำหน่าย แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องคือ
1. การขายและช่องทางการตลาด ทุกบริษัทจะต้องมีแผนการจำหน่ายซึ่งระบุถึงยอดหรือเป้าของสินค้าที่จะถูก จำหน่ายออกไปในแต่ละช่องทางการจำหน่าย
2. การกระจายสินค้า เป็นกระบวนการในการนำสินค้าออกสู่ตลาดไปสู่ผู้บริโภค และยังรวมการไหลของข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
3. การบริการลูกค้าคือ ทุกๆ ด้านของความสัมพันธ์ที่บริษัทมีต่อลูกค้า รวมไปถึงความสม่ำเสมอของช่วงเวลาในการส่งสินค้า การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการมีสินค้าส่งมอบได้อย่างตรงเวลาและสม่ำเสมอ


7. การส่งเสริมการขายและบรรจุภัณฑ์
การส่งเสริมทางการขายคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ถึงความต้องการในสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนี่เอง จะทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้า ตราสินค้า หรือแม้แต่ตัวบริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของลูกค้า และนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่สินค้า
ความคิดริเริ่มในด้านสินค้า ราคา และสถานที่จัดจำหน่าย ซึ่งเป็นส่วนประกอบอื่น ในส่วนผสมทางการตลาดนอกเหนือจากการส่งเสริมทางการตลาด ก็จำเป็นจะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้สอดคล้องกับจุดหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัท
ช่องทางการส่งเสริมการขาย มี 3 ช่องทางคือ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมในการขาย


8. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
กระแสเงินสดมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หลายคนคงสงสัยว่า เพราะเหตุใดธุรกิจมีกำไรแต่ไม่มีสภาพคล่องเลย เป็นเพราะกำไรเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชี แต่ในความเป็นจริง บริษัทต้องใช้เงินสดในการชำระค่าสินค้าแม้กระทั่งเงินเดือนพนักงาน
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด ทำให้ทราบถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสด และยังช่วยอธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจ โดยจะมีการนำปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายออกไปในรูปของเงินสดจริง ค่าเสื่อมราคา และการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทเข้ามาพิจารณา
ปัจจัยสำคัญที่ใช้วัดความเข้มแข็งทางการเงิน ได้แก่ ยอดขาย ความสามารถในการทำกำไร และกระแสเงินสด
ซึ่งตัวกระแสเงินสดนี้จะส่งผลทันทีต่อกิจการ เมื่อกิจการเริ่มมีปัญหาทางการเงิน ในฐานะเจ้าของกิจการ หากพบว่าเริ่มมีการฝืดเคืองของกระแสเงินสด อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจกำลังมีปัญหา


9. การลดต้นทุน
การลดต้นทุนยังคงเป็นสิ่งสำคัญของทุกองค์กร นักธุรกิจจำนวนมากมักกล่าวว่า “ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจคือการทำให้ต้นทุนลดลงอย่างต่อเนื่อง” นั่นเป็นเพราะว่า การเพิ่มรายได้ด้วยการเพิ่มยอดขายเป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลานาน และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้ ในขณะที่การลดต้นทุนอาจช่วยทำให้องค์กรที่ไม่มีผลกำไรกลับมามีกำไรอีกครั้ง ถึงแม้ว่ารายได้จะคงเดิมก็ตาม ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในองค์กรมาใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด และการลดต้นทุนก็เป็นรากฐานที่สำคัญของทุกธุรกิจ

 

ที่มา :  http://www.smeway.com 7/1/2555

_____________________________________________________________

 

ข่าวสารกาารจัดการเรื่องที่ 10

การบริหารงานบุคคลด้วยกลยุทธ์เชิงรุก

 

การบริหารงานบุคคลในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบไปจากเดิมที่ไม่ได้พูดกันแต่เรื่องของงานบุคคลแบบที่เรียกว่า Personal ซึ่งเป็นรูปแบบของการบริหารที่ผู้บริหารมักใช้เวลาไปกับทำงานด้านเอกสาร หรืองานบุคคลเชิงธุรการเกือบ 60 % งานส่วนใหญ่จะหมดไปกับการแก้ไขปัญหาประจำวันมากกว่าการคิดวิเคราะห์ การวางแผนเพื่อปรับระบบงานบุคคลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์การ

และจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเเทศ การแข่งขัน ความพยายามที่จะสร้างความได้เปรียบทางการค้า จึงเป็นเหตุให้แนวโน้มของการบริหารงานบุคคลเริ่มเปลี่ยนไปโดยเปลี่ยนจาก Personal มาเป็น Human Resource งานบุคคลเริ่มมีบทบาทการทำงานที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ที่องค์การกำหนดขึ้น พบว่าเวลาส่วนใหญ่ของงานบุคคลจะใช้ในการวางแผนการทำงานทั้งแผนแม่บท (Master Plan) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยใช้เวลาประมาณ 60 % ของเวลาทั้งหมดในแต่ละวัน การจัดระบบงานบุคคลจะเน้นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategy) ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบของงานบุคคลในเรื่องต่าง ๆ ให้สามารถทำงานรองรับกับนโยบาย กลยุทธ์และเป้าหมายธุรกิจมากขึ้น เป็นการวางแผนการทำงานเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของพนักงานที่เป็นกลุ่มลูกค้าของตน โดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาถึงจะเข้าไปดำเนินการให้

การบริหารงานบุคคลด้วยกลยุทธ์เชิงรุกต้องเริ่มจากการประเมินสถานการณ์ ปัญหา และความพร้อมในการนำระบบหรือแนวทางการบริหารงานบุคคลใหม่ ๆ มาใช้ในองค์การ (Organizational Assessment) และเมื่อเราทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์และสรุปผลว่าควรจะเตรียมแผนงานหรือวิธีการอย่างไรเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พบว่ามีหลายต่อหลายองค์การได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของงานบุคคลในแต่ละฟังก์ชันที่เน้นกลยุทธ์เชิงรุกมากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนการทำงานของงานในแต่ละ ฟังก์ชั่น ดังต่อไปนี้

งานสรรหาและคัดเลือก (Recruitment and Selection Function)

ผู้บริหารที่ดูแลรับผิดชอบกับงานบุคคลจะต้องมีส่วนร่วมในการประชุมกับคณะกรรมการของบริษัท เพื่อรับทราบแนวคิด และรูปแบบการดำเนินงาน รวมทั้งนโยบายหรือกลยุทธ์ของบริษัท เพราะจะได้เตรียมความพร้อมของกำลังคนให้เป็นไปตามทิศทางขององค์การมากขึ้น เช่น หากรับรู้ว่าบริษัทฯ กำลังจะมีโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นในปีหน้าประมาณ 10 โครงการครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด - ผู้บริหารหน่วยงานบุคคลต้องเริ่มคิดและวางกลยุทธ์ในการสรรหาและคัดเลือกคนทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มิใช่รอให้หน่วยงานขอคนก่อนถึงเริ่มสรรหาให้ เพราะอาจทำให้ไม่สามารถหาคนได้ทันกับความต้องการของแต่ละหน่วยงาน

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่ทำงานด้านสรรหาและคัดเลือกต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะสรรหาคนได้จากแหล่งไหนบ้างให้เหมาะสมกับระดับตำแหน่งงานที่ต้องการ ไม่ใช่รอให้ผู้สมัครเข้ามากรอกใบสมัครเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แหล่งที่จะสามารถสรรหาคนนั้นมีมากมายหลายแหล่ง เช่น ติดประกาศหรือออกบูธที่มหาวิทยาลัยหรือตาม Job Fair ต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ถามเพื่อนหรือสมาชิกที่เป็นเครือข่าย ประกาศผ่านทางเว็ปไซด์หรืออินทราเน็ตของบริษัท ใช้เว็ปไซด์ของบริษัทภายนอก ติดต่อ Head Hunter แจกใบปลิว ติดต่อกรมแรงงาน เป็นต้น

 

กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครถือว่าเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการที่สำคัญที่สุด โดยการคัดเลือกคนเก่ง คนดีมีฝีมือ หรือที่เรียกว่า Talent เข้ามาทำงานกับบริษัท ซึ่งต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้คนที่มีบุคลิกลักษณะให้สอดคล้องกับความสามารถหลัก (Core Competency) และความสามารถในการทำงาน (Job Competency) ที่องค์การต้องการ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ทำงานด้านการสรรหาและคัดเลือกต้องกำหนดก่อนว่าอะไรคือความสามารถหลักขององค์การ และอะไรคือความสามารถในงานของตำแหน่งงานนั้น ๆ พบว่าความสามารถหลักที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับพนักงานทุกคนทุกระดับตำแหน่งงานนั้นไม่ควรเกิน 5 ตัว ทั้งนี้การกำหนดความสามารถหลัก หรือ Core Competency บางแห่งจะเรียกว่า Organization Competency ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายขององค์การที่อยากจะให้คนในองค์การมีพฤติกรรมอย่างไรที่เหมือน ๆ กัน ตัวอย่างของความสามารถหลัก เช่น การมีจิตสำนึกของงานบริการ (Service Mind) การติดต่อสื่อสาร (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Team Working) เป็นต้น

สำหรับความสามารถในงาน หรือ Job Competency นั้นเป็นความสามารถที่ถูกกำหนดขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ทั้งนี้ Job Competency อาจแบ่งได้เป็น 2 หมวดหมู่ ได้แก่

  • ความสามารถด้านการบริหาร/จัดการงาน หรือที่เรียกว่า Managerial Competency บางแห่งอาจเรียกว่า Leadership Competency ที่เน้นทักษะในการบริหารหรือจัดการงาน โดยส่วนใหญ่ระดับจัดการจะมีมากกว่าระดับพนักงาน เช่น ความสามารถในการวานแผนงาน (Planning) ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) ความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นต้น
  • ความสามารถด้านเทคนิคเฉพาะงาน หรือที่เรียกว่า Technical Competency ที่เน้นทักษะในการทำงานเฉพาะหน่วยงาน เช่น หน่วยงานขาย จะมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า (Product Knowledge) ทักษะในการขาย (Selling Skills) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นต้น

การหาความสามารถของตำแหน่งที่เราจะสรรหาจึงใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกผู้สมัครที่มีความสามารถตรงกับความสามารถที่ระบุไว้ในตำแหน่งงานที่ต้องการ การเตรียมคำถามที่จะสัมภาษณ์จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเพื่อใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม ทั้งนี้การเตรียมคำถามจะอยู่บนพื้นฐานของลักษณะพฤติกรรมของความสามารถที่ระบุหรือต้องการให้มี ซึ่งจะครอบคลุมถึงความสามารถหลัก ความสามารถด้านการบริหาร/จัดการงาน และความสามารถเฉพาะงาน ลักษณะของการตั้งคำถามขอให้พิจารณาตามตัวอย่างต่อไปนี้

ความสามารถ

พฤติกรรม

คำถามที่ใช้

Service Mind
(จิตสำนึกใน
การให้บริการ)

  • ควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสมเมื่อลูกค้าแสดง
    กิริยาท่าทางและน้ำเสียงไม่พอใจ
  • ให้ข้อมูล หรือตอบข้อซักถามต่าง ๆ แก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้องชัดเจน
  • รับฟัง หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขข้อร้องเรียนต่าง ๆ ในการให้บริการของตนเองจากลูกค้า
  • คุณมีวิธีการหรือกระบวนการอย่างไรในการเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้า
  • เวลาคุณเจอลูกค้าที่คุยแล้วไม่รู้เรื่องหรือแสดงกิริยาไม่ดีกับคุณ คุณจะ แก้ไขปัญหาอย่างไร
  • ยกตัวอย่างปัญหาที่เจอกับลูกค้าบ่อยที่สุด มีแนวทางแก้ไขอย่างไร และปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะเหตุใด

สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกด้านการสรรหาและคัดเลือกตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว จะทำให้หน่วยงานมีเวลาเตรียมความพร้อมในการหาคน รวมถึงการคัดเลือกคนให้เหมาะสมกับลักษณะพฤติกรรมที่องค์การต้องการ และพฤติกรรมที่ตำแหน่งงานนั้น ๆ ควรจะมีตามความสามารถที่กำหนดขึ้น

 

ที่มา  :  อาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์                                      8/1/2555

__________________________________________________________________________________.

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่  11

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี

ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.  กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.  กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4.  กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติ งานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.  ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.  ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.  ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5.  ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี

ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูป หรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภาย ในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1.  ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2.  ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมาก ขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน แต่ MIS  จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

 

 

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน
ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดย ตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1.  การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2.  การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม  การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3.  การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมี ประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
การควบคุมภายใน (internal control)      
การควบคุมภายนอก (external control)

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2.  ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่น ต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
4.  ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับ สถานกราณ์

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทาง การเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

ที่มา  :  blog.eduzones.com                          28/1/2555

______________________________________________________________________

 

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่  12

จับกระแสเทคโนโลยีปีมังกร 10 เทรนด์สุดฮอต "ไอซีที"

 

เทคโนโลยี อาจมาไวไปไว และมักเกิดสิ่งไม่คาดฝันให้เห็นตลอดเวลา แต่การคาดการณ์ว่าอะไรกำลังจะกลายเป็นเทรนด์แห่งอนาคตดูจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ ได้ในทุก ๆ ต้นปี

สำหรับปี 2555 เว็บไซต์ "ซีเอ็นเอ็น" ได้รายงานบทวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี โดย "พีท แคชมอร์" ผู้ก่อตั้งบล็อกโซเชียลมีเดียชื่อดัง "แมชเชเบิล" (mashable.com) ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่เกี่ยวกับวิธีการโต้ตอบกับอุปกรณ์ไอทีแบบใหม่ ๆ, การแชร์คอนเทนต์ที่ง่ายดายขึ้น, วิวัฒนาการของการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และการเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของแอปพลิเคชั่นบนเว็บไซต์

โดย "พีท" มองเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับภาพรวมตลาดในครึ่งปีหลังของปี 2554 ที่ผ่านมา เพื่อประเมินแนวโน้มที่น่าจับตาในปีนี้ว่า หนีไม่พ้น 10 เรื่องนี้ เรื่องแรก คือ "ทัชคอมพิวติ้ง" จะเป็นรูปแบบการสั่งการคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่โดดเด่นมาก จากกระแสความนิยมของ "แท็บเลต" โดยเฉพาะ "ไอแพด" ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกใหม่แทนคอมพิวเตอร์ "เดสก์ทอป" หรือ "แล็ปทอป" แต่จะเข้ามาแทนที่วิธีสั่งการแบบเก่า เช่นเดียวกับการที่ระบบสั่งการคอมพิวเตอร์แบบกรอก "ประโยคคำสั่ง" โดนแทนที่ด้วยการสั่งการด้วย "รูปกราฟิก" หรือ "เมาส์" โดนแทนที่ด้วย "ทัชสกรีน"

"สัญญาณเด่นชัดมาจากการที่ระบบปฏิบัติการสำหรับ คอมพิวเตอร์เดสก์ ทอปล่าสุด วินโดวส์ 8 และแม็ค โอเอส เอ็กซ์ ไลอ้อน หยิบยืมฟังก์ชั่นการใช้งานมาจากระบบปฏิบัติการบนโมบายมาไม่น้อย ทำให้เกิดการสั่งการแบบจอสัมผัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปทั่วไป แต่คงไม่ถึงกับเห็นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้งานแบบจอสัมผัสกันทั้งหมดในปลาย ปีนี้ 2555 แต่ที่เห็นแน่คือปีนี้เราจะใช้เมาส์น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด"

เรื่อง ที่ 2 คือ "โซเชียลเจสเตอร์ส" ซึ่งเปิดตัวโดยเฟซบุ๊กเมื่อ ก.ย. 2554 ที่ผ่านมา ฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้ไม่ต้องกดแชร์สื่อชนิดต่าง ๆ ให้เพื่อนเห็น เนื่องจากทุกอย่างที่คุณฟัง, อ่าน หรือดูบนอินเทอร์เน็ตจะนำไปโพสต์อัตโนมัติบนหน้าบัญชีเฟซบุ๊กของคุณ หากคุณยินยอมให้แอปพลิเคชั่น เช่น สปอตติฟายหรือ โซเชียลรีดเดอร์นำไปเผยแพร่ได้

"พีท" ให้เหตุผลว่า ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีสมาชิกทั่วโลกกว่า 800 ล้านคน ทำให้การเติบโตช้าลงโดยปริยาย แต่หากเฟซบุ๊กทำให้การแชร์เป็นเรื่องอัตโนมัติก็จะช่วยผลักดันการเติบโตด้าน จำนวนเนื้อหาบนเฟซบุ๊กได้เป็นอย่างดี แต่อาจทำให้ผู้ใช้ตกใจหรือหวาดระแวงแอปที่นำพฤติกรรมการท่องเว็บของตนไปเผย แพร่อัตโนมัติเหล่านี้ได้

เรื่องที่ 3 "เอ็นเอฟซีและโมบายเพย์เมนต์" มีนวัตกรรมหลายอย่างของระบบโมบายเพย์เมนต์เกิดขึ้นในปี 2554 แต่ในปี 2555 จะเป็นปีทองของ "เอ็นเอฟซี" (NFC : Near Field Communication) จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแทนที่บัตรเครดิตด้วยโทรศัพท์มือถือ เพราะนำมือถือที่รองรับ NFC มาสแกนกับเครื่องอ่านบัตรเครดิตในร้านค้าต่าง ๆ ก็จะหักเงินออกจากบัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ

โดยในปี 2556 1 ใน 5 ของโทรศัพท์มือถือจะรองรับ NFC และผู้เล่นอย่าง กูเกิล วอลเลต, วีซ่า วอลเลต, เซิร์ฟของอเมริกัน เอ็กซ์เพรส เป็นต้น ต่างพร้อมเต็มที่ที่จะเข้าแข่งในตลาดนี้อย่างเต็มตัว

เรื่องที่ 4 "แท็บเลตที่เหนือกว่าไอแพด" โดยภายในปี 2555 ยอดขายแท็บเลต "คินเดิลไฟร์" ของอะเมซอนจะเอาชนะเจ้าตลาด "ไอแพด"

เหตุผลแรกมาจาก "ระดับราคา" ไอแพดมีค่าตัวประมาณ 15,000 บาท ขณะที่ "ไฟร์" มีเพียง 6,000 บาท

เหตุผล ต่อมา คือ อะเมซอนมีจุดขายที่ "คอนเทนต์" ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ภาพยนตร์, อีบุ๊ก, ทีวีโชว์ หรือสื่ออื่น ๆ ซึ่งยิ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในสายตาผู้บริโภค "พีท" มองว่า การที่มี คู่แข่งที่แท้จริงของ "ไอแพด" ปรากฏ ตัวขึ้น ยังจะทำให้ผู้สร้างคอนเทนต์ หรือนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นมีอีกแพลตฟอร์มทางเลือกสำหรับผลักดันผลิตภัณฑ์ของ พวกเขา



เรื่องที่ 5 "โทรทัศน์ในทุกที่" โดย "พีท" ให้ข้อมูลว่า บรรดาบริษัทเคเบิลทีวีทั้งหลายกำลังวางกลยุทธ์ใหม่เพื่อกอบกู้รายได้ของตน เองกลับคืนมา โดยพวกเขาจะให้คุณได้ดูโทรทัศน์ถ่ายทอดสด, ภาพยนตร์ หรือทีวีโชว์บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพียงแค่ยังคงเป็นสมาชิกกับเจ้าของช่องเคเบิลรายนั้น ๆ ต่อไป นอกจากนี้การเติบโตของอุปกรณ์แท็บเลตยิ่งทำให้เห็นกระแสของความต้องการ โทรทัศน์แบบพกพามากยิ่งขึ้น

เรื่องที่ 6 "การสั่งการด้วยเสียง" เรื่องนี้จะเห็นได้จากความสามารถที่ไม่เหมือนใครของโปรแกรม "ซีรีส์" บนโทรศัพท์ไอโฟน 4S ที่ทำให้สามารถส่งข้อความ, สร้างบันทึกช่วยจำ, ค้นหาเว็บไซต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพียงแค่ใช้ "เสียง" เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเทรนด์ใหม่ในหมู่อุปกรณ์สั่งงานด้วยเสียง อาจทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์รายอื่น ๆ พากันทำตาม นอกเหนือไปกว่านั้น "แอปเปิล" ยังอาจทำให้การสั่งงานด้วยเสียงเข้ามาแทนที่การใช้รีโมตคอนโทรลของโทรทัศน์ ด้วย

เรื่องที่ 7 "การสั่งงานด้วยท่าทาง" วิธีนี้จะได้รับความนิยมด้วยเช่นกัน เห็นได้ชัดจากอุปกรณ์ Kinect ของไมโครซอฟท์ ที่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยการขยับมือไปมาในอากาศเท่านั้น ซึ่งต้องขอบคุณนักพัฒนาทั้งหลายที่ดัดแปลง Kinect ให้รองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ด้วย เชื่อว่าจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ใช้วิธีสั่งการในรูปแบบเดียวกันนี้มากขึ้นในปี นี้อย่างแน่นอน

เรื่องที่ 8 "การใช้งานแบบ 2 จอพร้อมกัน" เทรนด์นี้หมายถึงแอปพลิเคชั่นบางตัว (โดยเฉพาะบนไอแพด) จะฟังเสียงที่ถ่ายทอดมาจากโทรทัศน์ จากนั้นจะนำเสนอเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับรายการโชว์หรือภาพยนตร์ที่ กำลังรับชม เนื่องจากปัจจุบันคนทั่วไปมักใช้แท็บเลตหรือโทรศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการ ดูโทรทัศน์อยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ประสบการณ์การรับชมของ ผู้บริโภคเป็นแบบโต้ตอบกันได้มากขึ้น โดยค่ายดิสนีย์ได้ออกแอปพลิเคชั่นรูปแบบนี้ในภาพยนตร์เรื่อง "เดอะ ไลอ้อน คิง และแบมบี" มาแล้ว

ถัดมา เรื่องที่ 9 "หน้าจอยืดหยุ่นได้" เป็นหน้าจอแสดงผลรุ่นใหม่ยืดหยุ่นได้ ทำให้ผู้ใช้ซูมเข้า-ซูมออก และเปลี่ยนหน้าหนังสือเพียงแค่บิดโทรศัพท์หรือแท็บเลต โดย "โนเกียและซัมซุง" ต่างบอกใบ้ว่า พวกเขาจะออกโทรศัพท์ที่มีหน้าจอแสดงผลในลักษณะนี้ภายใน ปี 2555 แต่สำหรับอุปกรณ์ไอทีที่เบาบางเท่ากระดาษและสามารถม้วนเก็บได้ในกระเป๋าคง ยังต้องรอไปอีกหลายปี

สุดท้ายคือ "HTML 5" ที่จะทำให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นสามารถสร้างโปรแกรมที่สวยงามกว่าเดิม และตอบโต้กับผู้ใช้ได้มากกว่าที่เคยเป็น ทั้งเป็นทางออกให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นทั้งหลายที่เบื่อกับการทำให้แอปของตน เองใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการทุกแบบ เพราะ HTML 5 ทำให้แอปตัวเดียวใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ

นอกจากนี้ การที่ "อะโดบี" (Adobe) ออกมายกเลิกการสนับสนุนโปรแกรม "แฟลช" บนอุปกรณ์โมบายยังเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของ HTML 5

การยกเลิก "แฟลช" หมายถึงหนึ่งในช่องทางหลักสำหรับการดูวิดีโอหรือใช้แอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์กำลังจะหายไป

ด้าน เว็บไซต์ "All thing digital" รายงานบทวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี โดย "ไบรอัน มาร์แชล" นักวิเคราะห์ ระบุว่า บริษัทไอทีรายใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตไปในทางบวกและหุ้นถีบตัวสูงขึ้น 20% มี 3 ราย คือ แอปเปิล,ไอบีเอ็ม และเดลล์ ขณะที่ในทางกลับกันบริษัทไอที 3 รายที่มีแนวโน้มตกต่ำมากที่สุด คือ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด,จูนิเปอร์ และเน็ตแอป

"ไบรอัน" ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปีที่ผ่านมา ทั้งเอชพี, เน็ตแอป และจูนิเปอร์ ต่างตั้งเป้าผลประกอบการสูงเกินไป ผลก็คือ ทั้งหมดทำยอดได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 15% สร้างความไม่พอใจให้นักลงทุนอย่างมาก ต่างจากแอปเปิล, ไอบีเอ็ม และเดลล์ ที่ตั้งเป้าหมายไว้ค่อนข้างต่ำ ผลคือ พวกเขาเติบโตทะลุเป้ากว่า 17% ดังนั้นการตั้งเป้าหมายขององค์กรอย่างระมัดระวังจะยังเป็นเรื่องสำคัญในปี 2555

เขายังกล่าวเสริมถึงเรื่องตลาดหุ้นของกลุ่มบริษัทไอทีในปี 2555 ว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบในปีนี้จะยังคงเหมือนกับในปี 2554 คือมาจากเรื่องปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป บวกกับเรื่องที่รัฐบาลทั่วโลกมีมาตรการใช้เงินที่ค่อนข้างประหยัดมากขึ้น เพื่อช่วยให้งบประมาณในประเทศไม่ขาดดุล 2 อย่างนี้จะทำให้บริษัทที่มีลูกค้าเป็นกลุ่มภาครัฐลดการใช้จ่ายเงินทางด้านไอ ทีให้น้อยลง

ที่มา  :  ประชาชาติธุรกิจ                 30/1/2555

____________________________________________________________

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 13

เถ้าแก่โรงงานกับการบริหารการผลิต

สำหรับกิจการเอสเอ็มอีที่ต้องผลิตสินค้าขึ้นมาเพื่อการจำหน่ายแล้วเรื่อง ของการบริหารการผลิตเป็นเรื่องที่เถ้าแก่โรงงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากต้องการนำพากิจการของตนสู่ความสำเร็จและการเติบโตต่อไปในอนาคตอย่าง มั่งคั่งและมั่นคง

สำหรับกิจการที่ต้องมีการผลิตสินค้า การบริหารการผลิต ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารกิจการเลยทีเดียว

ในขณะที่หน้าที่หลักอีก 2 ประการที่เหลือของกิจการเพื่อการพาณิชย์โดยทั่วไป ซึ่งได้แก่ การบริหารการตลาด ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างการขยายตัวของยอดขายหรือเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และ การบริหารการเงิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมและติดตามสถานภาพทางการเงิน ความสามารถในการสร้างกำไร และ การรักษาสภาพคล่องของกิจการ

การบริหารการผลิต มีวัตถุประสงค์หลักอย่างน้อย 4 ประการ คือ

(1) การเพิ่มผลผลิต

(2) การรักษาระดับคุณภาพของสินค้า

(3) การลดต้นทุนการผลิต และ

(4) การควบคุมการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและมีปริมาณตรงตามความต้องการของลูกค้า

เถ้าแก่โรงงานสมัยใหม่ จึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการผลิตภายในของกิจการของตนเองให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เหล่านี้

หลักการพื้นฐานในการ เพิ่มผลผลิต ก็คือ การพยายามหาวิธีการที่จะทำให้อัตราการใช้ประโยชน์ของวัตถุดิบหรือปัจจัยนำ เข้า ให้เปลี่ยนไปเป็นสินค้า หรือผลผลิตสุดท้ายให้ได้ปริมาณสูงสุด

ถ้าจะว่าไปแล้ว การผลิต ก็คือการนำวัตถุดิบและส่วนประกอบอื่นๆ มาแปรรูปให้กลายเป็นตัวสินค้าขึ้นมา โดยใช้แรงงาน และสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า น้ำ ไอน้ำ น้ำมันเครื่อง ฯลฯ เป็นปัจจัยร่วมเพื่อให้การแปรรูปเกิดขึ้นได้ตามต้องการนั่นเอง

ดังนั้น หากใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อเริ่มการผลิต 100 ส่วน เถ้าแก่โรงงานก็ย่อมต้องการที่จะให้ได้ผลผลิตหรือตัวสินค้าออกมาให้ได้ใกล้ เคียงกับ 100 ส่วนมากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการสูญเสีย หรือ ให้มีการสิ้นเปลืองน้อยที่สุด

กลยุทธ์ที่ต้องนำมาใช้ใน การลดความสูญเสียของปัจจัยนำเข้าเพื่อการผลิต ก็คือ กลวิธีของการ เพิ่มผลผลิต นั่นเอง ซึ่งอาจได้แก่

- กลยุทธ์ใช้ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม แต่ทำให้เกิดผลผลิตมากขึ้น

- กลยุทธ์ลดปัจจัยนำเข้าให้น้อยลง แต่คงผลผลิตไว้เท่าเดิม

- กลยุทธ์ลดปัจจัยนำเข้าให้น้อยลง แต่กลับเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

- กลยุทธ์การพัฒนาหรือเพิ่มปัจจัยการผลิตให้มากขึ้น แต่ทำให้เกิดผลผลิตที่มากยิ่งขึ้นกว่า

- กลยุทธ์การลดผลผลิตลง แต่ต้องลดปัจจัยนำเข้าในอัตราที่น้อยลงมากกว่า

ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนการบริหารจัดการเกี่ยวกับ คุณภาพ ของสินค้านั้น ปัจจุบันได้พัฒนาไปค่อนข้างมากและรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดในสมัยก่อนที่มักถือว่า คุณภาพของสินค้า ต้องเป็นไปตามลักษณะต่างๆ (หรือ Specification) ที่โรงงานกำหนดไว้เท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้ แนวคิดว่า คุณภาพของสินค้า ต้องตรงกับความต้องการและต้องสร้างความพึงพอใจในตัวสินค้าให้กับผู้บริโภคทำ ให้จุดศูนย์รวมความสนใจเปลี่ยนไปจากความคิดที่ว่าโรงงานผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด ระดับคุณภาพ เปลี่ยนมาเป็นความคิดที่ว่า ความต้องการของผู้บริโภค เป็นผู้กำหนดระดับคุณภาพของสินค้าที่เราจะต้องผลิตให้ได้

เพราะถ้าผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค สินค้าก็จะขายไม่ได้ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันมีทางเลือกต่างๆ มากมายที่จะหันไปใช้สินค้าอื่นๆ ที่สนองความต้องการของตนเองได้มากกว่า

การบริหาร คุณภาพในการผลิต จึงต้องพัฒนามาสู่การใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพตามมาตรฐานระดับโลก เช่น มาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งเป็นระบบที่เน้นการเชื่อมโยงของคุณภาพในการผลิตเข้ากับความต้องการของ ลูกค้า และเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้และรับรองได้โดยสถาบันภายนอก เป็นต้น

ในส่วนของ การบริหารต้นทุนการผลิต ซึ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนของการผลิตให้ต่ำที่สุด ซึ่งนอกจากการลดต้นทุนของปัจจัยการผลิตโดยตรง เช่น การจัดหาวัตถุดิบให้มีต้นทุนต่ำสุด การจัดหาแรงงานในการผลิตให้มีต้นทุนต่ำสุด และการจัดหาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำสุดแล้ว เถ้าแก่โรงงาน ควรที่จะต้องให้ความสนใจไปถึงการพยายามลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ผลิต

ไม่ว่าจะเป็นการผลิตของเสียหรือสินค้าที่ไม่ได้ระดับคุณภาพ ต้องนำไปซ่อม หรือ ผลิตซ้ำ การสูญเสียเนื่องจากเครื่องจักรเสียหรือเครื่องจักรมีสภาพการทำงานไม่ สมบูรณ์ รวมไปถึงวิธีการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ในประเด็นสุดท้าย เรื่องของ การบริหารการส่งมอบที่ตรงเวลา ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักอีกประการหนึ่งของแนวทางการบริหารการผลิตสมัยใหม่ แต่มักจะถูกมองข้าม ละเลย หรือ ไม่ได้รับความสนใจอย่างเพียงพอจากเถ้าแก่โรงงาน

การส่งสินค้าให้กับลูกค้าล่าช้า นอกจากจะทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการขายแล้ว ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าเริ่มจะไม่เชื่อถือในการบริการของเรา และอาจทำให้ลูกค้าเริ่มหันไปหาสินค้าของคู่แข่งที่ลูกค้าเชื่อว่าจะส่งมอบ สินค้าได้ตรงเวลากว่าของเรา

ซึ่งจะสร้างผลกระทบโดยตรงกับยอดขายของเรา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การค้นหาสาเหตุของการส่งมอบที่ล่าช้า ไม่ตรงเวลาที่สัญญาไว้กับลูกค้า จะทำให้เถ้าแก่โรงงานเริ่มมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น

- การเกิดปัญหาระหว่างหน่วยผลิตต่างๆ ที่มีการส่งมอบงานต่อเนื่องล่าช้า

- การจัดตารางการผลิตที่ไม่เหมาะสม

- การวางแผนการผลิตสินค้ารุ่นใดรุ่นหนึ่งมากเกินไป จนมีเวลาไม่พอที่จะผลิตสินค้าที่ได้สัญญากับลูกค้าไว้

- การจัดหาวัตถุดิบไม่เพียงพอหรือไม่ทันเวลา

- ฯลฯ

การส่งมอบสินค้า จึงไม่ใช่เป็นการดูเฉพาะการส่งมอบให้กับลูกค้า แต่ยังมีความสำคัญอยู่ที่การส่งมอบภายในเช่นการส่งมอบชิ้นส่วนงานระหว่าง แผนกอีกด้วย

หากโรงงานมีปัญหาเกิดขึ้นจากการส่งมอบล่าช้าภายในสายการผลิต สิ่งที่เถ้าแก่โรงงานอาจต้องเผชิญอยู่อย่างเงียบๆ โดยไม่ทันรู้ตัว ก็คือ การเกิดต้นทุนจมอยู่ในสายการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการจมของวัตถุดิบ การจมของงานระหว่างการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของโรงงาน

อาจถึงขั้นที่ทำให้เถ้าแก่ต้องวุ่นวายกับการหาเงินจากแหล่งภายนอกมาเพื่อสนับสนุนโรงงานให้ทำการผลิตไปได้อย่างต่อเนื่อง

ความล่าช้า ภายในโรงงาน อาจรวมไปถึงการที่จะต้องรอกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งมักจะกลายเป็นภาพซ้อนสะท้อนกลับมาสู่ตัวเถ้าแก่ว่าจะตัดสินใจเพื่อจะ เลือกระหว่าง คุณภาพ กับความ รวดเร็ว

ซึ่งหากเถ้าแก่โรงงาน หันมาให้ความสนใจกับวิธีการ บริหารการผลิต อย่างจริงจัง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็จะหมดไปจากโรงงานของท่าน

ทำให้สามารถผลิตสินค้าที่มี คุณภาพ ด้วย ความรวดเร็ว ที่ทันกับความต้องการของตลาดอยู่เสมอ

ที่มา :  เรวัต  ตันตยานนท์             15/2/2555

______________________________________________________

 

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 14

ระบบพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Export)
ขั้นตอนการส่งออก 5 ขั้นตอน
1. การจัดทำใบขนสินค้าขาออก
2. การบรรจุสินค้าและการจัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า
3. การขนย้ายสินค้าผ่านสถานีรับบรรทุก ท่า ที่ หรือสนามบินที่ส่งออก
4. การตัดบัญชีใบกำกับการขนย้าย
5. การรับบรรทุกของส่งออก
ขั้นตอนที่ 1. การจัดทำใบขนสินค้าขาออก
การผ่านพิธีการศุลกากรให้สามารถกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร
(Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital
Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (Value Added Network Services : VANS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ของศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง
รับเอกสาร และการลงลายมือชื่อในกระดาษ
การยื่นใบขนสินค้าขาออก ให้ผู้ส่งของออกจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐาน
ที่ศุลกากรกำหนด และเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรผู้รับข้อมูลได้ทำการตอบรับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์
์นั้นในการผ่านพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
วิธีการการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก กระทำได้ 4 ช่องทาง
1. ผู้ส่งออกส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกด้วยตนเอง
2. ผู้ส่งออกมอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Custom Brocker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
3. ผู้ส่งออกใช้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) ในการส่งข้อมูล
4. ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าขาออก พร้อมแบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าและชำระค่า
ธรรมเนียนกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่า /ที่ /สนามบินที่ส่งของออก


ขั้นตอนที่ 2. การบรรจุสินค้าและการจัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า
-การบรรจุสินค้า
-สถานที่บรรจุสินค้า
ส่งออกรายเดียว (FCL) ไม่ว่าจะมีใบขนสินค้าขาออกฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ตาม ให้
ทำการบรรจุสินค้านอกเขตอารักขาของศุลกากรได้ ผู้ส่งออกหลายราย (LCL) บรรจุสินค้า
ภายในเขตอารักขาศุลกากร เว้นแต่ ผู้ส่งของออกต้องมี ความจำเป็น ในการบรรจุของในตู้
คอนเทนเนอร์เดียวกัน เช่น เป็นผู้ส่งออกในเครือบริษัทเดียวกันหรือ ผู้ส่งออกที่มี
สายการผลิตต่อเนื่องกันหรือผู้ส่งออกที่มีเงื่อนไขจากลูกค้าให้ส่งออกโดยบรรจุพร้อมกับ
ผู้ส่งออกรายอื่น หรือกรณีสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (เน่าเสียง่าย) เป็นต้น
-การปิดตู้ หรือยานพาหนะ
-บรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์/พาหนะแบบปิด ให้ผู้รับผิดชอบการบรรจุทำการปิดผนึก
ประตูพาหนะที่ใช้ขนย้ายสินค้าด้วยวิธีที่ผู้รับผิดชอบการบรรจุกำหนดเมื่อบรรจุของขึ้น
บนพาหนะแล้วเสร็จ
-บรรจุสินค้าขึ้นบนยานพาหนะแบบเปิด ให้ผู้รับผิดชอบการบรรจุทำการคลุมผ้าใบหรือ
คลุมตาข่ายที่พาหนะที่ใช้ในการขนย้ายสินค้าแล้วใช้เชือกผูกประทับตราผนึกด้วยวิธีที่
ี่ผู้รับผิดชอบการบรรจุกำหนดเมื่อบรรจุของขึ้นบนพาหนะแล้วเสร็จ
การจัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า
ผู้รับผิดชอบการบรรจุ หมายความถึง
(1) ผู้ส่งของออกหรือตัวแทน
(2) ผู้จัดการโรงงาน หรือ ผู้จัดการสถานประกอบการของผู้ส่งของออกที่ทำการบรรจุ
ุสินค้า
(3) ผู้ประกอบการสถานที่ตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก
(สตส.)
(4) ผู้ประกอบการโรงพักสินค้าเพื่อการตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออก
ที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือ (รพท.)
(5) ผู้ประกอบการคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรหรือเขต
อุตสาหกรรม ส่งออก
(6) ผู้ให้บริการบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ในเขตทำเนียบท่าเรือ
(7) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าหรือตัวแทนของเรือ
ให้ผู้รับผิดชอบการบรรจุจัดทำข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าตามมาตรฐาน
ที่ศุลกากรกำหนด แล้วเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ของศุลกากรก่อนการขนย้ายของมาถึงสถานีรับบรรทุก หรือจุดรับบรรทุกที่กำหนด
ของ ท่า ที่หรือสนามบินเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร


ขั้นตอนที่ 3. การขนย้ายสินค้าผ่านสถานีรับบรรทุก ท่า ที่หรือสนามบิน
ที่ส่งออก
เอกสารที่ใช้เพื่อกำกับการขนย้ายสินค้า ให้ผู้รับผิดชอบการบรรจุดำเนินการ
- สั่งพิมพ์ใบกำกับการขนย้ายสินค้าจากระบบคอมพิวเตอร์ หรือ
- ทำสำเนาภาพถ่ายใบกำกับการขนย้ายสินค้า หรือ
- แสดงเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้กำหนดให้ใน
เอกสารอื่นใด
- เพื่อมอบให้พนักงานขับรถที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เพื่อกำกับสินค้าที่ทำการขนย้ายนั้น

ขั้นตอนที่ 4. การตัดบัญชีใบกำกับการขนย้าย
การตรวจสอบ และตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า ณ. สถานีรับบรรทุก เมื่อขนส่งสินค้า
มาถึงสถานีรับบรรทุกให้ผู้ขนย้ายทำการ
1. แสดงหรือแจ้งเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้า
2. ทางเรือให้แสดง EIR ด้วย
3. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบ
- เลขที่ตู้คอนเทนเนอร์ (ทางเรือ) /เลขทะเบียนรถยนต์ (ทางบก) /Airway Bill (ทางเครื่องบิน)
4. ระบบคอมพิวเตอร์จะแจ้งตัดบัญชี การรับบรรทุกของส่งออก
การรับบรรทุกการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
- ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการประมวลผลการรับบรรทุกโดยอัตโนมัติตามเวลาที่
กำหนดไว้
- ในวันทำการเดียวกันระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบกลับข้อมูลที่ทำการประมวล
ผลการ รับบรรทุกไปให้ผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก(ตาม XML User)ข้อความ
“Goods Loaded” ให้ทราบถึงสถานการณ์รับบรรทุกส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
การปฏิบัติงานกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง ( แผนฉุกเฉิน )
กรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายสื่อสาร ระบบไฟฟ้า ของกรมศุลกากรขัดข้อง
อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นเวลาประมาณ
30 นาที ให้ดำเนินการตามขั้นตอน การปฏิบัติงานด้วยระบบManualตามขั้นตอนของ
แผนฉุกเฉิน

นโยบายสนับสนุนการส่งออก (สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อการส่งออก)

คลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ส่งออกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ
คลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา 8 และ 8 ทวิ แห่งกฎหมายศุลกากร พ.ศ. 2469 โดยงดเว้น
การเก็บอากรขาเข้าและขาออกแก่ของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และเก็บในคลังสินค้า
ทัณฑ์บน เพื่อส่งออกไปยังนอกประเทศ ทั้งนี้ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิมเหมือนและที่นำ
เข้าหรือในสภาพที่ได้ผลิต ผสมหรือประกอบ เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ คลังสินค้าทัณฑ์บนที่
กรมศุลกากรประกาศกำหนดให้มีการจัดตั้งเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรมี
7 ประเภท ดังนี้
1. คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า
2. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป
3. คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร
4. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับจัดแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ (คสท.)
5. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.)
6. คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับอู่ซ่อมหรือสร้างเรือ
7. เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับประกอบการค้าเสรีที่ปลอดจากภาระทางภาษีอากร

เขตปลอดอากร หมายถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรมหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้า
ไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ

การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
เป็นการคืนเงินอากรที่ได้ชำระไว้แล้วสำหรับของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิต
ผสม ประกอบหรือบรรจุแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 1ปี นับแต่วันนำเข้า
โดยผู้นำของเข้าตามมาตราดังกล่าวนี้สามารถใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือ
หนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง วางประกันแทนการชำระอากรด้วยเงินสดได้

การชดเชยค่าภาษีอากร เป็นมาตรการหนึ่งของรัฐบาลที่ช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตสินค้า
ส่งออกเพื่อให้สามารถแข่งขันราคาในตลาดต่างประเทศได้โดยการจ่ายเงินชดเชยค่าภาษี
ีอากรที่แฝงอยู่ในต้นทุนสินค้าที่ส่งออกในรูปของ บัตรภาษี ทั้งนี้ การจ่ายเงินดังกล่าวต้อง
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้า
ส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2550

การส่งเสริมการลงทุน เป็นมาตรการหนึ่งในหลายมาตรการในการดึงดูดนักลงทุนจาก
ต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบด้าน
การส่งเสริมการลงทุน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยที่สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการ
ในเขตส่งเสริมการลงทุนกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในเรื่อง
ภาษีอากรของรัฐและเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการจึงต้องกำหนดระเบียบ
ปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติในการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติ
จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้านภาษีอากร
ขาเข้า รวมไปถึงควบคุมดูแล อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในส่วนที่
เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

การนิคมอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2522 จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็น รัฐวิสาหกิจสังกัด
กระทรวงอุตสาหกรรมมีชื่อย่อว่า “กนอ.” มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหลายประการ โดยเริ่ม
จากการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมหรือเพื่อดำเนินธุรกิจอื่น
ที่จะเป็นประโยชน์ดำเนินการปรับปรุงที่ดินเพื่อให้บริการตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการดำเนินงานรวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆให้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือ
พื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม
และกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม
พื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออก อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบ
อุตสาหกรรมการค้าหรือบริการ เพื่อส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศและกิจการอื่น
ที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการค้าหรือบริการเพื่อส่งสินค้าออกไป
จำหน่ายยังต่างประเทศ

ที่มา  :  pandpbiz.com                             15/3/2555

___________________________________________________________________

 

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 15

หลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance)

คำว่า “บรรษัทภิบาล” หรือ Corporate Governance และ “ธรรมาภิบาล” หรือ Good Governance เป็นคำฮิตติดปาก ตั้งแต่ผู้บริหารระดับประเทศ ยันแมงเม่าในตลาดหุ้น!  บริษัท หรือองค์กรไหนไม่มีสิ่งนี้ ดูจะขาดคุณค่า ไร้ราคา ผู้บริหารก็ดูไม่น่านับถือ ไม่น่ายำเกรง ถึงขนาดที่มีนักลงทุนแนวคุณค่าระดับเซียนประกาศว่าจะไม่ลงทุนในกิจการใดที่ ผู้บริหารไม่มี“บรรษัทภิบาล”

แล้วเจ้า “บรรษัทภิบาล” ที่ว่านี่คืออะไร ทำอย่างไรองค์กรของเราจึงจะได้มาครอบครอง และถ้าถามให้ตรงใจยิ่งขึ้นไปอีก คือ ถ้าบริษัททำตามหลัก “บรรษัทภิบาล” ที่ว่านั่นแล้วจะดีจริงหรือ

“บรรษัทภิบาล” และ“ธรรมาภิบาล”เป็นเรื่องของ“กระบวนการ”ใน การที่จะควบคุม กำกับดูแล และขับเคลื่อนบริษัทไปในทิศทางที่เชื่อว่าดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นและผู้มี ส่วนได้เสียทุกคนอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ขออนุญาตย้ำว่า ต้องทั้งถูกต้องและเป็นธรรม ถูกต้องหรือถูกกฎหมายแต่ไม่เป็นธรรมก็ใช้ไม่ได้ ในขณะเดียวกัน จะคำนึงถึงแต่ความเป็นธรรมโดยไม่ให้ความสำคัญกับความถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่ เหมาะ

เรื่องของ “บรรษัทภิบาล” ไม่ ใช่นโยบายที่พิมพ์ลงในรายงานประจำปีหรือแถลงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เป็นหลักการและแนวคิดที่ทั้งผู้บริหารต้องนำมาปฏิบัติ ภายใต้การกำกับและตรวจสอบของคณะกรรมการในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้น

ในอดีต เรื่อง“บรรษัทภิบาล”อาจ ไม่ได้รับการเน้นย้ำ หรือให้ความสำคัญมากนักเพราะธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังเป็นลักษณะครอบ ครัว แต่เมื่อเศรษฐกิจพัฒนาไปถึงระดับหนึ่ง ตลาดทุนมีความสำคัญและมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น กิจการมากมายเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และดำเนินการระดมทุนจากประชาชน แนวคิดเรื่อง“บรรษัทภิบาล”จึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นและเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาตลาดทุน

โดย ธรรมชาติ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของกิจการกับนักลงทุนรายย่อยมีผลประโยชน์ที่ ขัดกัน ข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจไม่มีการเสนอให้แก่นักลงทุน รายย่อย  นอก จากนี้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่มักจะเป็นกรรมการบริหารด้วย ทำให้มีข้อมูลอินไซด์ของธุรกิจที่นักลงทุนรายย่อยไม่มี ในขณะเดียวกัน นักลงทุนรายย่อยก็พร้อมที่จะขายหุ้นทันทีที่ได้กำไร หรือขาดทุน จนอาจมองได้ว่านักลงทุนรายย่อยไม่ใช่ผู้ประกอบการ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นผู้ประกอบการเวลามีเรื่องต้องตัดสินใจในที่ ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าเรื่องไหน รายย่อยก็แพ้ทุกที เพราะมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยทั่วไปแล้วใช้คะแนนเสียงแค่เกินครึ่งของผู้ ถือหุ้นที่เข้าประชุมก็พอ ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังมีกฎเกณฑ์ กติกาที่เข้ามาช่วยคานอำนาจผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพื่อให้ความเป็นธรรมตามสมควร แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย  แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะไม่ มีคนพยายามเลี่ยงบาลี หาช่องว่าง รูโหว่ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ที่อาจจะเป็นไปตามกฎหมายแต่ไม่เป็นธรรม

นอก จากนี้ ผู้ถือหุ้นและฝ่ายจัดการก็มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันโดยธรรมชาติ กิจการกำไรมากหรือน้อย ฝ่ายจัดการก็อยากได้โบนัสก้อนโตเสมอ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นอาจไม่อยากจ่าย เพราะรายจ่ายเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทซึ่งก็คือส่วนที่ผู้ถือ หุ้นจะพึงได้รับจากบริษัทที่ลงทุนไปนั่นเอง แม้ว่าในทางกฎหมายและในทางทฤษฎี ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ และกรรมการไปแต่งตั้งฝ่ายจัดการ แต่ผู้ถือหุ้นคนหรือกลุ่มที่ตั้งกรรมการจริงๆแล้ว ก็คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง สิทธิขาดในการบริหารกิจการจะอยู่ในมือของกรรมการเป็นส่วนใหญ่

ในต่างประเทศ เขาเรียกว่าเป็นการแยกกันของ “ความเป็นเจ้าของ”(Ownership) และ“อำนาจในการควบคุมกิจการ”(Control)ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่มาก มีกิจการในเครือมากมาย มีผู้ถือหุ้นนับพัน นับหมื่นราย  ผู้ ถือหุ้นยิ่งมีความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทน้อยมาก เพราะกรรมการ โดยเฉพาะกรรมการบริหารและฝ่ายจัดการจะเป็นคนตัดสินใจกำหนดทิศทาง นโยบายและการดำเนินการเรื่องต่างๆ ในแต่ละปี จะพบกับผู้ถือหุ้นก็แค่ครั้งเดียวในวันประชุมสามัญประจำปี นอกนั้น อย่างดีก็รายงานความคืบหน้ารายไตรมาสตามข้อกำหนดของตลาด ซึ่งหลายครั้งข้อมูลที่แจ้งผู้ถือหุ้นทราบเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ช่วยไปต่อยอด การวิเคราะห์อะไรได้เลย

อ่าน มาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจถึงบทสรุปว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์น่าจะเป็นทางเลือกที่เสี่ยงเหลือเกิน ในฐานะนักลงทุนรายย่อย เราจะไว้ใจใครได้ ท่านคิดไม่ผิดเลยค่ะ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ“บรรษัทภิบาล”เพราะถ้าแนวคิดและหลักการเรื่องนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับและยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว โอกาสในการพัฒนาตลาดทุนของไทยจะลดลง

หลักการในเรื่อง “บรรษัทภิบาล” ประกอบด้วย

ข้อที่หนึ่ง การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและเท่าเทียม ทั้งคณะกรรมการและฝ่ายจัดการต้องให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นและควรอำนวยความ สะดวกต่างๆเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตนได้ตามกฎหมาย

ข้อที่สอง ในการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือ Stakeholder ที่ เกี่ยวข้องทุกราย ผู้ถือหุ้นอาจเปลี่ยนใจขายหุ้นวันใดวันหนึ่ง แต่พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือแม้แต่ชุมชนที่เราประกอบธุรกิจอยู่ก็มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ เรา การที่บริษัทมุ่งแต่จะกอบโกยเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยไม่ให้ความสำคัญ ต่อ Stakeholders ก็มักจะเป็นความเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืน

ข้อที่สาม บทบาทของคณะกรรมการในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท จึงต้องสอดส่องการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ(ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือตัว แทนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่) และต้องพร้อมที่จะท้วงติง ตรวจสอบและคัดค้านการดำเนินงานใดๆของฝ่ายจัดการที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็น ธรรม โดยคณะกรรมการต้องคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัท ผู้ถือหุ้นและบรรดาผู้มีส่วนได้เสีย

ข้อที่สี่ องค์กรควรดำเนินการให้มี Code of Conduct หรือคู่มือในการบริหารงานและดำเนินการเพื่อให้กรรมการ ฝ่ายจัดการลพนักงานนำไปยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ข้อที่ห้า การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถชี้ได้ชัดว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีหรือไม่ เพราะถ้าคณะกรรมการหรือฝ่ายจัดการตัดสินใจเรื่องไหนแล้ว ได้ผลดีตามที่คาดไว้ คงไม่มีบริษัทใดที่ต้องล้มละลาย หรือขาดทุน

ผู้ เขียนเห็นว่าวิธีการที่จะพิสูจน์เจตนาที่ดีและจริงใจของคณะกรรมการและฝ่าย จัดการว่า ตั้งใจบริหารงานโดยความสุจริต และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายและผู้มีส่วนได้เสียทุกราย คือการเปิดเผยและรายงานข้อมูลทั้งในด้านการเงินและด้านอื่นๆ อย่างชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน

ถ้ามองแนวทางปฏิบัติที่ดีข้างต้นแล้วย้อนกลับมามองชีวิตจริงที่เห็นและเป็นอยู่  คง เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ในเมื่อกรรมการอิสระเองก็มาจากการแต่งตั้งของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แม้จะมีการวางกฎเกณฑ์ว่า กรรมการอิสระ หรือกรรมการตรวจสอบสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องไม่มีความ เกี่ยวพันกับฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่  แต่คง ไม่มีการเสนอตั้งกรรมการอิสระที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือฝ่ายจัดการไม่รู้จัก จริงๆ แล้ว สังคมไทยทั้งสังคมราชการและสังคมธุรกิจ ก็ไม่ใช่สังคมที่กว้างใหญ่มากมาย ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่รู้จัก คุ้นเคยกันทั้งทางตรงและทางอ้อมเกือบทั้งนั้น แม้ในระยะหลัง เราจะได้เห็น “การหักดิบ” ระหว่างฝ่ายจัดการ กับกรรมการตรวจสอบ แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของข้อยกเว้นมากกว่าที่จะเป็นหลัก

ดังนั้น การที่หลักการในเรื่อง“บรรษัทภิบาล”จะ นำมาใช้ได้ผล คนกลุ่มแรกที่ต้องเล็งเห็นประโยชน์ คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่และฝ่ายจัดการไม่เชื่อหรือไม่เห็นประโยชน์ในหลักการนี้ แม้จะมีกฎหมายบังคับ ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะประเด็นเรื่อง“ถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่เป็นธรรม”ก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ทางออกของนักลงทุนรายย่อยในกรณีที่ผู้บริหารไม่ได้ยึดหลัก“บรรษัทภิบาล”ก็ คือการขายหุ้นทิ้ง หรือไม่ลงทุนในกิจการนั้นๆ ซึ่งกองทุนซึ่งเป็นผู้เล่นขาใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์หลายๆแห่ง อย่างในบ้านเรา กองทุนที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้น กบข. ก็มีนโยบายการลงทุนว่าจะไม่ลงทุนในกิจการที่ผู้บริหารไม่มี “บรรษัทภิบาล”

ไม่ได้เห็นว่าเมืองไทยเรามีการทำการศึกษาเชิงสถิติหรือไม่อย่างไร  แต่ในต่างประเทศได้มีการศึกษาและเผยแพร่ผลการศึกษาออกมา นิตยสาร Forbes เคยทำการสำรวจแล้วพบว่า กิจการที่ได้รับการยกย่องว่ามี “บรรษัทภิบาล” สูง สุดมีผลตอบแทนการลงทุนให้ผู้ถือหุ้นดีที่สุด ในขณะที่กิจการที่มีปัญหาเรื่องนี้ เป็นกลุ่มกิจการที่มีผลตอบแทนการลงทุนต่ำกว่ากลุ่มแรกอย่างมาก    ทางนิตยสาร Business Weeks ก็เคยทำการศึกษาในลักษณะที่คล้ายกัน แต่ให้นักลงทุน และบรรดากองทุนให้คะแนนเรื่อง “บรรษัทภิบาล” ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ผลออกมาก็ปรากฏว่า บรรดาบริษัทที่ได้คะแนนดีๆ จากนักลงทุนในเรื่องนี้ เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีมากๆ

แล้วในเมืองไทยละ มาดูข้อมูลนี้ดีกว่า บริษัทที่ปรึกษา McKinsey เคยทำการศึกษาและรายงานใน Global Investor Opinion Survey ในปี 2002 ว่าบรรดาลูกค้ากว่าร้อยละแปดสิบของ McKinsey ยินดีที่จะจ่าย Premium ให้กับราคาหุ้นที่ผู้บริหารมี “บรรษัทภิบาล” โดย Premium ที่ให้กันมีตั้งแต่ร้อยละสิบเอ็ดของราคาตลาด ไปจนถึงร้อยละสี่สิบ!!!!!!

มาถึงตรงนี้ แม้แต่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เอง ก็น่าจะพอมองออกว่าคุ้มที่จะยึดหลัก “บรรษัทภิบาล” เพราะเป็นการเพิ่มมูลค่าหุ้นของกิจการท่านได้อย่างดีและถูกต้องตามกฎหมายด้วย

 

บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หมายถึงโครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้อง (Stakeholders)[1] องค์การอันประกอบด้วยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหาร หรือเราควรใช้คำว่า Good Corporate Governance หมาย ถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อ ผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท (Stakeholders) ทุกราย รวมถึงผู้ที่ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้าตลอดจน ประชาชนทั่วไป คณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจตรา การบริหารงานของผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายของบริษัท ในขณะที่ผู้บริหารงานมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจเพื่อที่จะสร้างผลกำไรให้ แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย ทั้งกรรมการและผู้บริหารมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะชดใช้หนี้ให้แก่เจ้า หนี้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของรัฐ นอกจากนี้แล้วยังมีความรับผิดชอบต่อพนักงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ต่อลูกค้าให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ หรือมีบริการที่ดี ตลอดจนประชาชนให้ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี


องค์การอันประกอบหลักบรรษัทภิบาล

หลัก การพื้นฐานของบรรษัทภิบาล จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เราจำเป็นต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ บรรษัทภิบาลจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ส่งผลให้การระดมทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การหาพันธมิตรทางธุรกิจสามารถทำได้ง่ายขึ้น และเมื่อบริษัทมีความพร้อมทั้งเงินทุนและพันธมิตรทางธุรกิจ ก็จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลกได้ มากขึ้น หลักการพื้นฐานของบรรษัทภิบาลประกอบด้วย

1.       ความตระหนักในภาระหน้าที่ (accountability) ความ ตระหนักในภาระหน้าที่จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยสำนึกรับผิดชอบอย่างแท้จริง เป็นการทำงานโดยไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำแล้ว แต่ยังต้องทำให้ดีที่สุดด้วย

2.       ความรับผิดชอบ (responsibility) เกิด ขึ้นจากการกำหนดภารกิจของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจนว่า ใครต้องทำอะไรและทำอย่างไร การกำหนดภารกิจจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และเกิดการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น

3.       ความยุติธรรม (fairness) ความ ยุติธรรมในการดำเนินธุรกิจนั้น เริ่มตั้งแต่การวางนโยบายเพื่อให้บุคลากรแต่ละฝ่ายปฏิบัติต่อผู้เกี่ยว ข้องอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้หลักการที่ชัดเจน

4.       ความโปร่งใส (transparency) ความ โปร่งใสตามหลักบรรษัทภิบาล หมายถึง การเปิดเผย ข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและทันเวลา เป็นอีกหนึ่งสาระสำคัญของหลักบรรษัทภิบาลเช่นกันข้อมูลสำคัญอย่างงบการเงิน ที่นำเสนอต่อผู้ถือหุ้น

5.       มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Excellency) หลัก สำคัญอีกประการหนึ่งของบรรษัทภิบาลที่มุ่งสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ ธุรกิจ คือ ส่งเสริมการปฏิบัติอันเป็นเลิศแก่บุคลากรทุกฝ่าย และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานทุกด้านมุ่งไปสู่ความสมบูรณ์แบบ นั่นคือต้องมีการวางนโยบายที่ชัดเจน หรือมีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ

บรรษัทภิบาลต้องการบริหารงานที่เป็นธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่ยึดถือความถูกต้องความชอบธรรมหรือหมายถึงการปกครองที่ดี การบริหารงานที่เป็นธรรม โปร่งใส (การ ปกครองที่เป็นธรรมนั้นหายากนัก มีแต่มากหรือน้อยเท่านั้น) การบริหารองค์การแบบนี้จะต้องคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders)

ภาพรวมของบรรษัทภิบาล

ผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) แบ่งเป็นกลุ่มได้คือ

1. ผลประโยชน์ (An Interest) บุคคล หรือกลุ่มที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจปิดโรงงานมีผลต่อชุมชน

2. สิทธิ (Right) สิทธิตามกฏหมาย บุคคลหรือกลุ่มมีสิทธิเรียกร้องหรือป้องกันสิทธิได้ตามกฎหมาย เช่น สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนของลูกจ้าง Moral Right สิทธิ ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเกิดจากความคิดในทำนองเดียวกันของคนหรือกลุ่มคน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมาย เช่น ความยุติธรรม ความเสมอภาค

3. ความเป็นเจ้าของ (Ownership) บุคคลหรือกลุ่มที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ตามกฎหมาย เช่น เจ้าของบริษัท เจ้าของกิจการ เป็นต้น

และยังแบ่งได้เป็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การทั้งภายนอกและภายใน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในองค์การ
1.คณะกรรมการ 2.ผู้ถือหุ้น 3.พนักงาน หรือ ลูกจ้าง 4.ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์การ
1...ลูกค้า 2.ผู้จัดหาวัตถุดิบ 3.ผู้จัดจำหน่าย 4.รัฐบาล 5.สหภาพแรงงาน 6.คู่แข่ง 7.คู่ค้า 8.ชุมชนในท้องถิ่น 9.องค์การ หน่วยงานสถาบันต่าง ๆ สาธารณะชน

ตัวอย่างกลุ่ม Stakeholders ของ First Transforming Travel

ปัจจุบันผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องขององค์การ มีแต่ละกลุ่มดังนี้

1.       ผู้บริหาร (Manager)

2.       คณะกรรมการบรรษัท(The board of director)

ก.       คณะกรรมการตรวจสอบ(The audit committee)

ข.       คณะกรรมการเกี่ยวกับการชดเชย(The compensation committee)

ค.       คณะกรรมการสรรหา(The nominating committee)

3.       ผู้ถือหุ้น(Stockholder)

4.       พนักงาน(Employees)

5.       รัฐบาล(Government)

6.       เจ้าหนี้(Creditor)

นอกจากมีคณะกรรมการบรรษัทที่ดี(The Best board of directors) ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์การนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อ กำหนดทุกอย่างที่องค์การสร้างขึ้น ได้แก่ เป้าหมาย นโยบาย และกลยุทธ์ และต้องพยายามติดตามว่าองค์การสามารถดำเนินงานตามข้อกำหนดเหล่านั้นได้หรือ ไม่ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการจึงต้องมีความรับผิดชอบในระยะ ยาว นอกจากนี้สิ่งที่ผู้บริหารควรไห้ความสนใจคือการให้ความสำคัญผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับองค์การด้วย ดังนั้นการบริหารจัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงได้เริ่มเข้ามามีความสำคัญ เนื่องจากองค์การต้องค้นพบให้ได้ว่ากลุ่มหลากหลายเหล่านั้นมีความพึงพอใจต่อ องค์การหรือไม่อย่างไรเพื่อองค์การจะได้ทราบว่าการดำเนินงานขององค์การนั้น บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด

คณะ กรรมการบริษัทเป็นทั้ง ผู้สร้างกฏ และ ผู้คุมกฎ จึงต้องเป็นแบบอย่างของการทำงานอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และรับผิดชอบ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างบรรษัทภิบาล โดยตามหลักบรรษัทภิบาล ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทที่ดีไว้ 3 ประการ คือ
1. เป็น คนดี ด้วยการมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และเคารพจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพราะหน้าที่หนึ่งของกรรมการบริษัทคือการตรวจสอบฝ่ายบริหาร การถือความสุจริตของคณะกรรมการจึงจะ ปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็น คนเก่งหรือเป็นมืออาชีพ ด้วยการมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ในการที่จะต้องดำเนินบทบาทผู้นำขององค์กรในการกำหนดนโยบาย สามารถวางแนวทางการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และสรรหาฝ่ายบริหารที่จะนำแนวทางที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งความเป็นมืออาชีพสามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติ 2 ประการ ได้แก่
2.1 ความ เป็นผู้นำ ที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถทางธุรกิจ สามารถกำหนดนโยบายและวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม และต้องสามารถกำกับดูแลฝ่ายบริหารให้นำนโยบายและกลยุทธ์ที่วางไว้ไปปฏิบัติ ให้เกิดผลได้อย่างจริงจัง
2.2 ความ เป็นอิสระ เกิดจากความมีสำนึกในการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างการเป็นกรรมการกับการเป็น บุคคลภายในบริษัทออกจากกันอย่างเด็ดขาด ซึ่งจะทำให้กรรมการมีความเที่ยงธรรมในการตรวจสอบฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง
3.เป็น คนกล้า ด้วยคุณสมบัติของการเป็นผู้ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ในฐานะของการเป็นผู้คุมกฎ และจะต้องมีวิธีจัดการกับปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
นอก จากความสำคัญในเรื่องของคุณสมบัติของคณะกรรมการที่ดีจะเป็นส่วนสนับสนุนให้ แนวคิดบรรษัทภิบาลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว มาตรการที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสร้างระบบกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลัก บรรษัทภิบาล คือ การจัดโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทให้เอื้อต่อการถ่วงดุลอำนาจภายในบริษัท

ในบทความได้บอกว่าในต่างประเทศได้มีการศึกษาและเผยแพร่ผลการศึกษาออกมา นิตยสาร Forbes เคยทำการสำรวจแล้วพบว่า กิจการที่ได้รับการยกย่องว่ามี “บรรษัทภิบาล” สูง สุดมีผลตอบแทนการลงทุนให้ผู้ถือหุ้นดีที่สุด ในขณะที่กิจการที่มีปัญหาเรื่องนี้ เป็นกลุ่มกิจการที่มีผลตอบแทนการลงทุนต่ำกว่ากลุ่มแรกอย่างมาก    ทางนิตยสาร Business Weeks ก็เคยทำการศึกษาในลักษณะที่คล้ายกัน แต่ให้นักลงทุน และบรรดากองทุนให้คะแนนเรื่อง “บรรษัทภิบาล” ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ผลออกมาก็ปรากฏว่า บรรดาบริษัทที่ได้คะแนนดีๆ จากนักลงทุนในเรื่องนี้ เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีมากๆ

คุณ ณัฐญา นิยมานุสร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ได้แสดงความเห็นว่า หลักของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ดีต้องให้คำแนะนำกับลูกค้าให้มีการ กำกับดูแลกิจการที่ดีได้ โดยหลักพื้นฐานง่ายๆ ที่บริษัทจดทะเบียนต้องพึ่งมีก็คือ FAT

F: Fair หมายถึง ความยุติธรรม ซึ่งบรรษัทต้องมีความยุติธรรมกับผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน

A: Accountability หมายถึง ความรับผิดชอบต่อบอร์ด และภายในองค์กรเอง

T: Transparency หมายถึงความโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นความโปร่งใสในการทำรายการเกี่ยวโยง ระหว่างกัน และการเปิดเผยข้อมูลถูกต้องเพียงพอ

ตัวอย่างบริษัทธรรมาภิบาล เป็นธนาคารไทยภชพาณิชย์ ที่ได้รับรางวัล บริษัทธรรมาภิบาลดีเด่นประจำปี 2552  ดูจากวิสัยทัศน์แล้วเขาดูแลผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) มาเป็นตัวนำ และคุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

 

บรรษัทภิบาลเป็นแนวคิดในการควบคุมดูแลกิจการ และการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ และการดำเนินงานของบริษัท โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมร่วมทั้งเข้าใจ ถึงประเด็นที่อ่อนไหว นั่นคือ เรื่องเกี่ยวกับค่าตอบแทนสำหรับผู้บริหาร และดำเนินการอย่างชอบธรรม เพื่อเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา  :  พิชัย สดภิบาล                                                31/3/2555

______________________________________________________________________

 

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 16

กลยุทธ์ลดต้นทุน

การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความยากลำบากขึ้นมาก ทั้งในเรื่องของการแข่งขัน ทำให้ต้องลดราคาเพื่อรักษาลูกค้า และในเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันซึ่งตอนนี้ก็ขยับราคาเพิ่มขึ้นมาอีก หลังจากเพิ่งลดลงไปไม่นาน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนพลังงาน ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น การแข่งขันทางการค้าในทุกวันนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะการแข่งขันจากคู่แข่งขันใน ประเทศเท่านั้น แต่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งขันจากต่างประเทศที่มีความได้เปรียบในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนที่ต่ำกว่า และสินค้าจากบางประเทศได้ข่าวว่ารัฐบาลของประเทศผู้ส่งออกก็แอบสนับสนุน เพื่อให้ส่งออกได้มากๆ ในขณะที่สินค้าของไทยส่งออกไปต่างประเทศ ก็เจอกลยุทธ์สกัดดาวรุ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันลดลง ผู้ประกอบการในทุก

 

วันนี้จึงหยุดนิ่งไม่ได้ หยุดนิ่งก็อยู่ได้ลำบาก จึงต้องลุกขึ้นมาสู้ การจะสู้ได้ดีก็ต้องขยันหาความรู้ใหม่ๆ หมั่นเข้ารับการอบรมทั้งที่จัดโดยรัฐหรือเอกชน อย่าไปเสียดายเวลาที่ต้องไปนั่งอบรมหรือเสียดายเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าฝึก อบรม เพราะสิ่งที่ได้รับมามากกว่ามาก และในปัจจุบันกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็มีโครงการช่วยเหลือ SMEs ในด้านต่างๆ มีหลากหลายโครงการที่สามารถเลือกได้ตามความต้องการ สงสัยก็สามารถดูจากเว็บไซด์ของกรมหรือโทรสอบถามก็สะดวก รับรองว่าได้ประโยชน์คุ้มค่าทีเดียว หลายๆ ธุรกิจยืนหยัดต่อสู้ผ่านวิกฤตมาได้ก็จากการเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม การสู้ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด การวิจัยและพัฒนาก็จะต้องทำ แต่ไม่พอ สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องหันมาดูในทุกวันนี้และทำควบคู่กันไปก็คือลดต้นทุน ซึ่งจะช่วยให้สามารถอยู่รอดปลอดภัย โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะถ้าเพิ่มยอดขาย 1 บาท อาจได้กำไรสุทธิเพียง 5-10 สตางค์เท่านั้น แต่ถ้าท่านลดต้นทุน 1 บาท ท่านมีเงินเพิ่มขึ้นหรือกำไรเพิ่มขึ้นทันที 1 บาท โดยไม่ต้องเหนื่อยไปแข่งขันกับใคร การลดต้นทุนคือการทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด ด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปให้มากที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากที่สุด การลดต้นทุนต้องระวังเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการ และต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าด้วย ถ้าสินค้าที่ผลิตคุณภาพสูงเกินความจำเป็น ทำให้ต้นทุนสูง หากลดคุณภาพลงมา สินค้าก็ยังได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ก็สามารถลดคุณภาพลงได้ ต้องดูให้รอบครอบ มิฉะนั้นอาจสูญเสียลูกค้าไป และการลดต้นทุนต้องมองทุกๆ ด้านทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร  การลดต้นทุนสามารถทำได้ทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่เคยทำเรื่องการลดต้นทุนมาก่อน โอกาสจะลดต้นทุนก็มีสูงกว่าองค์กรที่ลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการลดต้นทุนนั้น ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการเอง แต่หากไม่ทราบว่าจะลดต้นทุนได้อย่างไร ก็จะต้องศึกษาเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในการลดต้นทุน หรือหาที่ปรึกษาที่มีความมาเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านการผลิต การลดต้นทุนให้ได้ผลนั้นผู้บริหารจะต้องมีนโยบายและมาตรการลดต้นทุนการ ผลิตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องสร้างจิตสำนึกพนักงานให้มุ่งมั่นช่วยองค์กรในการลดต้นทุน จึงจะดำเนินการอย่างได้ผล การทำๆ หยุดๆ ไม่ต่อเนื่อง ไม่เอาจริงเอาจังและที่สำคัญคือหากพนักงานไม่ให้ความร่วมมือ การลดต้นทุนก็จะไม่ได้ผล
การลดต้นทุนสามารถทำได้โดยทุกฝ่ายในองค์กร แต่ที่มักให้ความสำคัญคือ ด้านการผลิต โดยเฉพาะเรื่องของประสิทธิภาพการผลิตซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่เกิดจากการเปรียบ เทียบระหว่างผลผลิต (Output) กับปัจจัยการผลิต (Input) ทุกองค์กรจะต้องเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของตนเองกับองค์กรอื่น หรือเปรียบเทียบภายในองค์กรเองแต่เปรียบเทียบในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพการผลิตของเดือนนี้กับเดือนที่แล้ว หรือ Lot นี้กับ Lot ที่แล้ว เป็นต้น เปรียบเทียบระหว่างเครื่องจักร เปรียบเทียบระหว่างโรงงาน หรือระหว่างแผนก เป็นต้น การเปรียบเทียบช่วยให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เปลี่ยนแปลงหรือระดับ ประสิทธิภาพระหว่างองค์กร การเพิ่มประสิทธิภาพสามารถทำได้ 5 วิธี ได้แก่


1) เพิ่มผลผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม 
2) ผลผลิตเพิ่มและปัจจัยการผลิตลดลง
3) ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น 
4) ผลผลิตเท่าเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลง
5) ผลผลิตลงลงน้อยกว่าปัจจัยการผลิตที่ลดลง
โดยปกติความสูญเปล่าซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต 8 ประการ ได้แก่
1) ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย (Defects)
2) ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินความต้องการ (Over Production)
3) ความสูญเปล่าจากการรอคอย ความล่าช้า (Waiting Time / Delay)
4) ความสูญเปล่าจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป (Excessive Inventory)
5) ความสูญเปล่าจากการขนย้ายที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Transport)
6) ความสูญเปล่าจากกระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Process)
7) ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Motion / Action)
8) ความสูญเปล่าจากการผลิตและใช้พลังงาน (Energy Wastes)


ในการลดต้นทุนหรือควบคุมต้นทุนการผลิตนั้นมีหลักการสำคัญ ได้แก่
1) สถานประกอบการจะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลและติดตามการลดต้นทุนการผลิต
2) ต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการลดต้นทุน
3) จัดทำโครงการ/แผนการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาดำเนินการอย่างชัดเจน
4) มีกระบวนการควบคุมที่สมบูรณ์ เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน


แนวคิดในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตมีหลักการดังนี้
1) ศึกษาวิเคราะห์และสำรวจสถานภาพปัจจุบันของต้นทุนการผลิต ต้นทุนหลักๆ คือ แรงงาน วัตถุดิบ โสหุ้ย เมื่อรู้ต้นทุนแล้วทำให้เราสามารถหาข้อบกพร่องแล้วหาวิธีลดต้นทุน
2) วิเคราะห์และชี้วัดหาสาเหตุของต้นทุนสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า นั้นๆ ไฟฟ้าใช้มากที่สุดในกระบวนการผลิตในส่วนไหนที่ใช้ไฟฟ้าแล้วสูญเปล่าเป็น จำนวนเท่าไร
3) เน้นการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ไร้ประสิทธิภาพ มีความสูญเปล่าสูงๆ และดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ
4) ประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหกรรม (IE Techniques)


เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย
1) เทคนิควิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) ซึ่งต้องดูความสัมพันธ์ของ 3 ตัวแปร คือ คุณค่า หน้าที่การทำงาน และลดต้นทุน
2) เทคนิคการควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
3) เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning & Control)
4) เทคนิคการบริหารวัสดุคงคลัง (Inventory Management) มีการดำเนินการบริหารวัสดุคงคลัง การผลิตที่มีคุณภาพ
5) เทคนิคการศึกษางาน (Work Study) ต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษางานจะช่วยได้โดยพิจารณาจากวิธีการทำงานของพนักงานแต่ละคน ว่าทำงานดีขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง แต่ผลงานมากขึ้น เทคนิคการศึกษางานนี้จะช่วยให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี เกิดความสำเร็จขึ้นมา มีทัศนคติที่ดี แก้ไขได้
6) เทคนิคการบริหารการบำรุงรักษา (Maintenance Management) โรงงานหลายแห่งมีปัญหาเครื่องจักรเสียบ่อย เรามีวิธีการบำรุงแบบไหน มีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่ มีวิธีการป้องกันหรือไม่ มีการซ่อมเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักรเป็นไปตามคู่มือหรือไม่ คู่มือสำคัญให้เป็นไปตามการซ่อมบำรุง
7) เทคนิคการประหยัดพลังงาน (Energy Saving) เป็นเทคนิคที่สำคัญในการลดต้นทุน เช่น การจ้างที่ปรึกษาการประหยัดพลังงาน  เรื่องของการลดต้นทุนมีเทคนิควิธีการที่หลากหลาย หากผู้ประกอบการตั้งใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษาดำเนินการ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นแนวทางที่ควรดำเนินการในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการแข่งขันสูง

ที่มา :  ณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์                               27/4/2555

______________________________________________________________________

 

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 17

10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ

หลายต่อหลายคนที่ต้องการและแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ หลายคนที่ล้ม หลายคนที่พลาด คนที่แข็งแรงคือคนที่สามารถยืนอยู่และแข่งขัน ในเกม ได้ต่อไป แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ล้มจะเป็นผู้แพ้ตลอดไป ยังสามารถที่จะกลับเข้ามาเป็นผู้ชนะได้ 10กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ คือคำตอบของผู้ชนะ

กฎข้อที่1 จงเชื่อมั่นในธุรกิจของตัวเอง และเชื่อให้มากกว่าใครทั้งหมด ว่ามันต้องสำเร็จ อุปสรรค์ทุกอย่างสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่น
และพยายามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

กฎข้อที่2 แบ่งผลกำไรให้กับผู้มีส่วนร่วมในบริษัทฯของคุณทุกคน แล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะกลายเป็นพันธมิตรกันโดยสัญชาติญาณรักษา ความเป็นองค์กรไว้ และรู้จักใช้อำนาจให้เป็น

กฎข้อที่3 วิธีจูงใจพนักงาน คิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจในทุกๆวัน เพื่อท้าทายพนักงาน ตั้งเป้าหมายของบริษัทฯให้สูงเข้าไว้ จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แล้วรักษาระดับนั้นไว้ให้ได้ จากนั้นก็ต้องให้รางวัลตอนแทนที่สมน้ำสมเนื้อด้วย

กฎข้อที่4 สื่อสารทุกอย่างให้พนักงานรู้เท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งพวกเขารู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเข้าใจและห่วงใยองค์กรมากขึ้น และเป็นการสร้างความเคารพในตัวของเขาว่าคุณให้ความไว้วางใจ

กฎข้อที่5 ตอบแทนพนักงานเมื่อเขาทำดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่ เขาทำให้องค์กร การให้รางวัลเป็นตัวเงินหรือเป็นส่วนแบ่งจากบริษัทฯนั้น ช่วยเสริมให้เกิดความจงรักภักดีได้อย่างหนึ่ง แต่เราทุกคนล้วนต้องการได้รับคำชมจากสิ่งที่เราได้ทำลงไป บางครั้งการได้รับคำยกย่องชมเชยจากเจ้านายที่ถูกเวลานั้นคุ้มค่ากว่าเงินทองเสียอีก

กฎข้อที่6 ชื่นชมความสำเร็จของตนเอง มองความผิดพลาดให้เป็นเรื่องตลก อย่าให้ตัวเองเครียดจนเกินไป ให้ปล่อยวางแล้วทุกคนรอบข้างจะปล่อยวาง เช่นเดียวกับเรา ทำชีวิตให้สนุกและกระตือรือร้นอยู่เสมอ

กฎข้อที่7 รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และหาวิธีให้ลูกน้องเปิดใจพูดในสิ่งที่คิด ยิ่งพนักงานที่ต้องพบปะรับมือกับลูกค้าเป็นกลุ่มที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามให้เขาเล่าส่งที่เกิดขึ้น เมื่อฟังแล้วต้องสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบ ต่อองค์กรมากขึ้น และผลักดันให้เกิดความคิดดีๆเพิ่มขึ้นด้วย

กฎข้อที่8 จงทำให้เกินความคาดหวังของลูกค้า ถ้าทำได้พวกเขาจะกลับมาหาเราเรื่อยๆ แสดงให้ลูกค้ารู้ว่าใส่ใจเขาอยู่เสมอ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดจงอย่าแก้ตัว แต่ขอโทษและยอมรับในสิ่งที่ทำทุกอย่าง

กฎข้อที่9 ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีกว่าคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ประหยัดในสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร

กฎข้อที่10 จงว่ายทวนน้ำ เดินทวนกระแส ยึดกับสิ่งที่เป็นรูปแบบเดิมๆเป็นโอกาสที่ดีของคุณที่จะหาตลาดเฉพาะของตัวเอง โดยมุ่งไปในทางตรงกันข้ามกับคนอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเตรียมรับมือกับกับกระแสที่เข้ามาขวางให้ไขว่เขว

ที่มา  :  M.L.Chaivat Jayankura                                        28/4/2555

_____________________________________________________________________

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 18

เทคนิคการร่างสัญญาทางการค้า

 

1.ชื่อของสัญญา ชื่อสัญญาต้องตรงกับเนื้อหาสัญญา เช่น สัญญาเช่าทรัพย์สัญญาซื้อขาย  ถ้าสัญญาแบ่งทรัพย์มรดก ต้องเขียนให้ชัดว่า สัญญาประนีประนอมยอมระงับข้อพิพาทในกรณีมรดก  เคยมีปัญหากรณีมรดกให้คำว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์ ฝ่ายที่เอาประโยชน์ก็อ้างว่าเป็นการให้ไม่ได้ตกลงอะไรด้วย  ฝ่ายผู้จัดการมรดกอ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดก  ก็ต้องตีความกัน หรือสัญญาเกี่ยวกับลงทุนในการก่อสร้างในที่ดินได้ประโยชน์หลาย ๆ ปี เสียเงินลงทุนมาก  ควรจะเขียนให้ชัดเจนว่า สัญญาต่างตอบแทนในการก่อสร้างไม่ใช่สัญญาเช่า

2. สถานที่ทำสัญญา ต้องมี  ถึงแม้กฎหมายจะไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องมี เช่น สัญญาทำที่สำนักงานเกษมทนายความ

3. วันทำสัญญาต้องระบุไว้ วันทำสัญญาถือเป็นสาระสำคัญ เช่น สัญญาเช่าระบุว่า  สัญญาเช่ามีกำหนด 3 ปี นับแต่วันทำสัญญา หรือกู้เงิน ชำระเงินภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา ถ้าวันทำสัญญาเป็นวันเริ่มต้นของสัญญา แต่ในบางกรณีวันทำสัญญายังไม่เป็นวันเริ่มต้นของสัญญา  เช่น การก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน วันทำสัญญายังก่อสร้างไม่ได้เพราะเจ้าของที่ดินยังเคลียร์ผู้อยู่ในที่ดินไม่หมด  อาจจะเขียนว่า สัญญาก่อสร้างเริ่มก่อสร้างได้นับแต่วันที่ฝ่ายเจ้าของที่ดินมอบที่ดินมือเปล่าให้แก่ผู้ก่อสร้างก็เริ่มแต่วันนั้นก็ว่าไป  ต้องดูเจตนารมณ์

4. ชื่อของคู่สัญญาต้องระบุไว้ให้ชัด เช่น สัญญานี้ทำขึ้นระหว่าง นาย ก. ซึ่งต่อไปสัญญานี้จะเรียกว่าผู้ให้เช่า กับนาย ข. ซึ่งสัญญานี้จะเรียกว่าผู้เช่า แต่ก็ขยายความนิดหนึ่งเพื่อสะดวกในการติดต่อ สัญญานี้ทำขึ้นระหว่าง นาย ก. อายุ 67 ปี  อยู่บ้านเลขที่เท่านั้น ๆ   โทรศัพท์หมายเลขเท่านั้น  ซึ่งต่อไปสัญญานี้จะเรียกว่าผู้ขาย และนาย ข. อายุ ที่อยู่ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าผู้ซื้อ  ในทางปฏิบัติถ้าเราไม่เขียนก็ต้องขอนามบัตรเก็บไว้ต่างหาก  ฉะนั้นถ้ารอบคอบต้องเขียนที่ติดต่อ แต่ถ้าเป็นบริษัทต้องเขียนให้ชัด  ต้องเอาชื่อบริษัทเป็นหลัก เช่น สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างนาย ก.ผู้ว่าจ้าง และบริษัทเกษมก่อสร้าง โดยนาย ข. และนาย ง. กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่ใช่ว่าทำขึ้นระหว่างนาย ก. ผู้ว่าจ้างกับนาย ข.และนาย ง. กรรมการของบริษัท  อย่างนี้เป็นการทำในฐานะส่วนตัวต้องอ้างบริษัทขึ้นก่อน และนายอะไรเป็นผู้มีอำนาจแทนก็ว่าไป

นอกจากนั้นก็ต้องมีอายุ และที่อยู่ของคู่สัญญา  ระบุอายุก็เพื่อจะได้รู้ว่าเขาบรรลุนิติภาวะหรือยัง และที่อยู่ก็เป็นเรื่องสำคัญ

5. เจตนาของคู่สัญญาต้องระบุให้ชัดเจน จะเห็นในสัญญาทั่วไประบุว่า ใครเป็นผู้เช่า ผู้ให้เช่า แล้วว่า  ผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงรับเช่าบ้านหรือที่ดิน   หรือผู้ขายตกลงขายที่ดินโฉนดเลขที่เท่าไร  และผู้ซื้อตกลงรับซื้อที่ดิน ต้องระบุเจตนาไว้

6. ทรัพย์ที่เป็นต้นเหตุของสัญญาต้องมีคำนิยามไว้เหมือนกัน  เช่นว่า ผู้ให้เช่าให้เช่าบ้านเลขที่เท่านั้น  ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าทรัพย์ที่เช่าหรือทรัพย์ที่ซื้อขายก็แล้วแต่

7. ราคาในสัญญาต้องระบุให้ชัดเจน อย่าหลีกเลี่ยง นักกฎหมายบางท่านหลักเลี่ยง  เช่น สัญญาซื้อขายลงราคาไม่ตรงเพื่อจะหลีกเลี่ยงการเสียภาษี  หากเกิดปัญหาโต้เถียงกันในเรื่องราคาจ้างก็สืบลำบาก

8. หน้าที่ของคู่สัญญาต้องว่ากันเป็นขั้นตอน เช่น ผู้เช่ามีหน้าที่อะไร  ผู้ให้เช่ามีหน้าที่อะไร  หรือผู้ซื้อ ผู้ขาย ส่วนใหญ่จะลอกข้อกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อย่าร่างสัญญาสั้นเกินไป  มีนักกฎหมายบางคนใช้ว่าสิทธิของคู่สัญญาให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3  ถ้าร่างอย่างนั้นชาวบ้านไม่รู้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าอย่างไร  ต้องซื้อประมวลแพ่งฯ แจก ต้องใส่ไปเท่าที่จำเป็น เช่น ผู้เช่าจะไม่นำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง  ก็ลอกข้อความในกฎหมายไปนอกจากมีเพิ่มเติม

9. ข้อความในสัญญายกเว้นกฎหมายใดหรือไม่ ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนก็ยกเว้นได้ เช่น ผู้ให้เช่าให้สิทธิผู้เช่าที่จะนำทรัพย์สินที่เช่านี้ไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ให้เช่า

10.การยกเลิกสัญญา ต้องให้ชัดเจนยกเลิกไปตามสภาพ  หรือสัญญาหมดอายุหรือบอกเลิกในกรณีผิดสัญญาต้องเขียนให้ชัดหากจะมีปรับกันแค่ไหนเพียงไร

11.จำนวนสัญญาที่ทำต้องเขียนให้ชัด ตอนท้ายเขียนว่า สัญญานี้ทำขึ้นเป็น 2 ฉบับ  ผู้ให้เช่าเก็บต้นฉบับไว้  และผู้เช่าเก็บคู่ฉบับไว้ทำนองนั้น

12. อากรแสตมป์ต้องปิด ถ้าเราลืมปิดในวันทำสัญญาไม่เป็นไร  เวลาฟ้องศาลก็ปิดตามความจริงและต้องขีดฆ่าด้วย  บาทงทียื่นฟ้องศาลแล้วไม่ได้ปิดไปขอปิด  ผู้พิพากษาท่านใจดีก็ให้ปิด  แต่ถ้าเจอท่านที่ปฎิบัติตามกฎหมายเคร่งครัด ท่านก็ระบุในรายงานว่า ปรากฎว่าโจทก์ลืมปิดอากรแสตมป์ขออนุญาตปิดให้ส่งสัญญานี้ให้กรมสรรพากรปรับเสียก่อน  เคยมีเรื่องสัญญาทำเมื่อ 3 ปีก่อนแล้วไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะฟ้องศาลก็ปิดลงวันที่ย้อนหลัง  ทนายอีกข้างเขาเก่ง  อากรแสตมป์เพิ่งประกาศใช้ปีนั้น  ซักกันไปซักกันมาตอบเป็นเรื่องเป็นราวปิดวันนั้นต่อหน้าคนนั้น ๆ แต่ว่าอีกข้างเขาอ้างประกาศของกรมสรรพากร

ที่มา : ศาสตราจารย์มารุต  บุญนาค                    27/6/2555

__________________________________________________________________________

 

ข่าวสารการจัดการ เรื่องที่ 19

ผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อธุรกิจไทย และกลยุทธ์ในการตั้งรับ

ผลกระทบที่จะเกิดกับธุรกิจไทยจะออกมาในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น

- ประเทศไทยสามารถหาวัตถุดิบ และทรัพยากรทางธรรมชาติจากแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์แทนการทำลายทรัพยากรภาย ในประเทศ เรียกได้ว่าไปหามาจากที่อื่นแทนการร่อยหรอของทรัพยากรภายในประเทศไทย ทำให้ไทยมีแหล่งนำเข้าวัตถุดิบจากนานาประเทศมากขึ้น และอาจช่วยในการดำเนินธุรกิจที่ลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินการลงได้ ในประเด็นนี้ การดำเนินกลยุทธ์อะไรก็ตามเหล่านี้ จะต้องดำเนินด้วยความรอบคอบและอยู่ภายใต้ความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน มิฉะนั้น ประเทศไทยจะได้ชื่อว่ามีแต่นักธุรกิจที่ไปทำลายทรัพยากรของประเทศเขาหรือไป กอบโกยผลประโยชน์จากบ้านเขามา

- ประเทศไทยสามารถเกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว กฎหมาย การลงทุน การเงิน รวมทั้งการเรียนรู้ทางการเมือง สภาพสังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยีจากประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยในขณะนี้ คือ การเรียนรู้เรื่องการศึกษา การจัดการธุรกิจ การป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้ง กลยุทธ์ กลวิธี ทางการค้า และ Business Model ซึ่งในที่นี้หมายถึง วิธีการหาเงินของประเทศต่างๆ ว่าเขาได้มาด้วยวิธีใด และนักธุรกิจ ครูอาจารย์ด้านธุรกิจศึกษาและนักเศรษฐศาสตร์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำมา พัฒนาให้ดีขึ้น และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสังคมไทยดีขึ้นในวันข้างหน้า

กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการฝึกที่จะเป็นผู้เรียน หรือนักเรียนที่ดีที่คอยสังเกต จดจำ บันทึก ปรับปรุง ทดสอบ รวมทั้งเป็นนักฟังที่มีประสิทธิภาพ(Good Listener) เพื่อการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของเราให้ดี ขึ้นไปจากเดิม

- การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์การ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ ต้องรีบปรับตัว ปรับปรุง พัฒนาตัวเองให้ทันต่อวิถีทางการทำงานของคน องค์การ หรืออุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน อาทิเช่น ครูอาจารย์ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสารวจ ทันตแพทย์ สถาปนิก ต้องมีความรู้มากขึ้นจากเดิม ต้องหาความรู้ที่จะมาปิดจุดอ่อนของเราที่ยังด้อยชาติอื่นๆ อาทิเช่น ความรู้ด้านภาษาอังกฤษมาเพิ่มเติม ความรู้เดิมๆ คงไม่สามารถเอามาใช้เพื่อการแข่งขันได้เหมือนเดิม แต่จะต้องขวนขวายหารูปแบบ และวิธีการใหม่ๆ มาใช้ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นโอกาสในการพัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไของค์ความรู้ด้าน เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การค้าการลงทุน การแพทย์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ ให้ทันสมัยและมีความพร้อมมากขึ้นจากเดิม เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาของไทยในวันข้างหน้า

- นับเป็นโอกาสของบางสาขาวิชาชีพที่จะไปทำงานในกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน ได้ง่ายขึ้น และนี่อาจเป็นหนทางหนึ่งในการขจัดความยากจนของแรงงานไทยภายในประเทศบางคน เนื่องจากเขาสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเคลื่อนย้ายไปทำงานต่างแดน ดังนั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสม ก็คือ การเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ อย่ารอให้วันเวลาผ่านไปพยายามสะสมความรู้ประสบการณ์และทักษะมาเพิ่มเติมให้ เกิดคุณค่าในตัวตนให้มากขึ้น การเข้ารับการฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขีดความสามารถหรือ สมรรถนะของตนจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำงานและการ สร้างรายได้ให้ได้มากขึ้น

- จากประโยชน์ที่ประเทศไทยจะปรับฐานภาษีให้เท่าเทียมกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อการแข่งขันนั้น จะเท่ากับเป็นการเพิ่มช่องทางการส่งออกของไทยของไทยให้มากขึ้นจากเดิม อันจะทำให้เป็นการหาเงินตราต่างประเทศเข้าไทยได้มากขึ้น ช่วยในการพัฒนาประเทศโดยรวม

- กลยุทธ์ในด้านการหารายได้มาชดเชยส่วนที่ปรับลดลงไปจากน่าจะเป็นสิ่งที่ภาค รัฐจะต้องค้นหาวิธีการ เพราะจากการปรับฐานภาษีให้ลดลงมาจากประมาณ 30% ลงมาให้เหลือ 23% ในปี 2555 และจะให้เหลือ 20% ในปี 2556 และ 2557 นั้น รัฐต้องสูญเสียภาษีที่จะนำไปพัฒนาประเทศมากพอสมควร หากไม่คิดหาหนทางที่จะหารายได้มาชดเชยส่วนนี้ รัฐจะลำบากในวันข้างหน้าในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุนเพื่อสาธารณประโยชน์และระบบสาธารณูปโภคที่ต้องใช้

ผลกระทบในทางลบต่อประเทศไทย

ประการแรก ที่กล่าวขวัญและกลัวกันมากในขณะนี้ ก็คือ จะมีแรงงานต่างชาติไหลเข้าสู่วิชาชีพ วงการอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น และจะมาแย่งแรงงานที่เป็นคนไทยไป ทำให้แรงงานไทยเสียโอกาสในการถูกว่าจ้างลดลง ซึ่งมีหนทางที่จะเกิดขึ้นได้และเป็นไปได้เช่นกัน แต่เราต้องไม่ลืมว่าแรงงานเหล่านั้นมีทักษะเท่าเทียมกับแรงงานไทยหรือไม่ เพราะแรงงานไทยได้ชื่อว่าเป็นแรงงานที่มีทักษะพอสมควร แต่หากแรงงานต่างชาติมีทักษะที่เท่าเทียมกับแรงงานไทยหรือเหนือกว่า เพราะอย่างน้อยด้านภาษาอังกฤษที่เขาเหนือกว่านั้น เราก็คงต้องกำหนดยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในการขวนขวายเพิ่มเติมความรู้ด้านนี้ เพื่อมาปิดจุดอ่อนของแรงงานไทยให้มากที่สุด เพียงแต่ว่าขณะนี้ เรามีหน่วยงานใดที่ได้ดำเนินการแล้วหรือยัง ซึ่งคงต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะภาครัฐซึ่งมีสถานศึกษาอยู่ในความดูแลควรจะเป็นหัวหอกหรือแกนนา เพราะเราท่านก็ทราบถึงจุดอ่อนข้อนี้ดี

ประการที่สอง สิ่งที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ ประเทศไทยอาจได้รับสินค้าและการบริการที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน และไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอทะลักเข้ามาตีตลาด อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางอย่างซึ่งอาจอาศัยช่องว่างจากการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่มาของสินค้าเสียใหม่ ทาทีเป็นว่ามาจากประชาคมอาเซียน แต่อันที่จริงมาจากแหล่งผลิตจากที่อื่น ซึ่งสามารถเข้ามาตีตลาดของไทยได้ง่ายขึ้น และจะทำให้คนไทยต้องบริโภคสินค้าที่ด้อยคุณภาพไปโดยปริยาย เพราะสินค้าเหล่านี้ มักสร้างความแตกต่างด้วยการขายถูกกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมก็คือเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในการควบคุม ดูแล ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการให้กระทำการอย่างเข้มงวด เพื่อผลประโยชน์ของสังคมไทยรวมทั้งการรณรงค์ของหน่วยงานภาครัฐให้รู้ถึงราย ละเอียดของสินค้าและการบริการที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งผลเสียของการใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมาจากต่างแดน

ประการที่สาม ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการชาวไทย ซึ่งต้องปรับตัวในด้าน การวิจัย และพัฒนาคุณภาพ เทคโนโลยีในการผลิต การจัดการ การฝึกอบรม ฯลฯ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมและผลสุดท้าย เมื่อมีต้นทุนในการดำเนินงานและการผลิตที่เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าก็จะสูงขึ้นจากเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้คนไทยต้องซื้อของแพงขึ้นและจะมีผลกระทบไปถึงภาวะเงินเฟูอได้เช่นกัน

ประการที่สี่ ส่วนแบ่งของตลาดสินค้าที่เคยมีมา อาจต้องสูญเสียแก่นักลงทุนจากต่างชาติ ทำให้เสียลูกค้าเก่า เพราะเดิมมีผู้ค้าไม่มากรายแต่ตอนนี้กลับมีผู้ค้ามากรายขึ้น ซึ่งก็คงจะทำให้ผู้ค้าชาวไทยต้องเหนื่อยมากเป็นพิเศษไปจากเดิม เพื่อการรักษาฐานของผู้บริโภคไว้ และต้องปรับตัวพอสมควร

ประการที่ห้า ผู้บริโภคชาวไทยจะได้รับสินค้าและการบริการที่แปลกใหม่แต่ทำให้สินค้าไทยตัว เดิม โดยเฉพาะสินค้า การเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ไทย จะได้รับความเสียหายทันที ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแย่ลง เหมือนที่เคยกับผลไม้ของประเทศจีนที่เข้าสู่ประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะบอกว่าเราได้ส่งออกไปยังประเทศจีนเช่นกัน แต่ผลได้ผลเสีย เรายังคงเป็นรองอยู่ และเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเช่นนี้ เราก็คงได้เห็นการบริโภคสินค้าแปลกๆ เกิดขึ้นอีก ทำให้เกิดกระแสการบริโภคสินค้าใหม่จากต่างชาติเกินความจำเป็นและพอเพียงแก่ สังคมไทย แต่ละเลยสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และจะมีผลทำให้เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา เดือดร้อนกันตามๆ หากไม่มีการควบคุมดูแลกันให้ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรของไทย นอกจากนี้ จะทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น ในการดูแลผู้ค้า ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้บริโภคชาวไทย โดยจะมีผลกระทบต่อการออกกฎหมาย และระเบียบต่างๆ อันจะทำให้นักธุรกิจไทย พลอยเสียหายหรือได้รับผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย และทำให้เกิดความยุ่งยากในการประกอบการมากขึ้น

ประการที่หก การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้นักลงทุนชาวไทยหนีไปลงทุนในประเทศอื่น มีผลต่อการจ้างแรงงานไทยภายในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ อาจต้องหยุดชะงักลง ทั้งนี้ เพราะแรงงานไทยขาดแคลน เนื่องจากไปทำงานในต่างประเทศที่ได้ค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่า ทำให้เกิดปัญหาแรงงานในประเทศมากขึ้น ในทางกลับกัน เราอาจต้องหาแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย รวมทั้งการไปจ้างทำการผลิตในต่างประเทศ ที่มีค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า (Outsourcing) สามารถกระทำได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากขณะนี้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกันแล้ว ระหว่างชาติที่เป็นสมาชิก และหากเหตุการณ์เช่นนี้บานปลายไปเรื่อยๆ

วันหนึ่งข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาเหมือนอย่างที่สหรัฐอเมริกาพบอยู่ ในขณะนี้ ซึ่งทำให้คนอเมริกันตกงานหางานทาไม่ได้ เพราะธุรกิจอุตสาหกรรมนิยมไปจ้างแรงงานถูกที่อยู่ในประเทศอื่นดำเนินการแทน และจะเป็นปัญหาระยะยาวของไทยในวันข้างหน้าหากละเลยประเด็นเช่นนี้ไป ดังนั้น ทางออกในประเด็นนี้รัฐอาจต้องพิจารณาเตรียมการเกี่ยวกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ ในการไปจ้างทาของในประเทศอื่นแทนที่จะกระทำการในประเทศไทย หรือ การกำหนด Outsourcing Regulations ขึ้นมา เพื่อการป้องกันปัญหาไม่ให้นายทุนไปจ้างทำของในประเทศอื่นจนเกินความจำเป็น และทำให้โรงงานในประเทศไม่สามารถเปิดทำงานและแรงงานไม่มีงานทำดังเช่นปกติ ซึ่งสามารถนำไปสู่วิกฤตการณ์การว่างงานในอัตราส่วนที่สูงและเกิดผลเสียต่อ ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ประการที่เจ็ด นักลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมมากกว่าจะเข้ามาแข่งขันในทางธุรกิจได้ง่าย ขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการชาวไทยที่ส่วนใหญ่ที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) แข่งขันได้ยากและจะสูญหายไปเหมือนดังที่เกิดจากกรณี การเกิดร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กประเภทโชห่วยในท้องถิ่นต้องปิดกิจการลงไปเป็นจำนวน มาก กลยุทธ์ที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวการณ์เช่นนี้ ก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องร่วมมือร่วมใจรวมตัวผนึกกำลังกัน

อย่ากระทำการแต่เพียงลำพังแต่คนเดียวเพราะอาจขาดทรัพยากรหรือทุนดำเนิน การ รวมทั้งนาความรู้ด้านการตลาดในการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relations) มาใช้ให้ได้ผล เพราะจะเป็นการรักษาตลาดและลูกค้าของตนเอาไว้ได้

โดยสรุป สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางบวกหรือผลกระทบทางลบก็ตาม รัฐและองค์การภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจัง และควรรีบหามาตรการคุ้มครองธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย กลยุทธ์หรือยุทธ์ศาสตร์ต่างๆ นอกเหนือจากที่ยกมาเป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย จะต้องถูกหยิบยกมาเตรียมการและนำมาพิจารณา เพื่อความเหมาะสมที่สามารถรองรับเหตุการณ์เช่นนี้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความมั่นคง เป็นความเป็นความตายของเศรษฐกิจไทย ตลอดจนเป็นการสร้างสมรรถนะความสามารถในด้านการแข่งขัน ซึ่งนับวันประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับที่ตกต่ำไปเรื่อยๆ การปล่อยนิ่งเฉยโดยไม่ดูดายหรือแค่ลมปากที่พูดกันไปวันๆ ของใครก็ตาม ย่อมไม่มีผลดีเกิดขึ้นกับประเทศ เราต้องเริ่มดำเนินการ ร่วมมือกันหาทางออกที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทยกันอย่างจริงจังได้แล้วในเวลา นี้ รัฐและองค์การภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจัง และควรรีบหามาตรการคุ้มครองธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย

ที่มา : รศ. ดร. จุฑา เทียนไทย                                                           10/7/2555

_______________________________________________________________________

 

ข่าวสารการจัดการ  เรื่องที่  20

เจาะลึก AEC: ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ AEC อย่างไรบ้าง

การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ ในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จาก AEC จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค ฐานการผลิต ฐานการลงทุน และพันธมิตรทางการค้า

ภาคประชาชน ในฐานะผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับ AEC โดยการมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอาเซียนอื่นที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายมาก ขึ้น รวมทั้งมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคข้ามพรมแดน ขณะเดียวกัน ประชาชนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบ/หลอกลวงจากสินค้าหรือบริการที่ด้อยคุณภาพ

ภาคประชาชน ในฐานะลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในภาคราชการ หรือภาคเอกชน จะมีโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในภูมิภาคที่ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเข้าไปท้างานในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มรายได้จากการทำงานในต่างประเทศ แต่ในทางกลับกันก็จะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดแรงงานภายในประเทศจากแรงงานมีฝีมือของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

ภาครัฐ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศ จำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างการบริหาร จัดการให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ AEC รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาต่างๆ เพื่อรองรับการเป็น AEC

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้ก้าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและขยายการค้าของไทยสู่ตลาดอาเซียน โดยแบ่งเป็น 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

(1) พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุน โดยปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และกระจายข้อมูลข่าวสารสู่ภาคเอกชน

(2) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยและอาเซียน โดยจัดให้มีการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐของอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ การจัดคณะผู้บริหารระดับสูงของไทยเยือนอาเซียน และเชิญคณะผู้บริหารระดับ สูงภาครัฐของอาเซียนเยือนไทย รวมทั้งสนับสนุนโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในกรอบต่างๆ

(3) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างภาคธุรกิจไทยและอาเซียน โดยส้านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน 9 ส้านักงานใน 8 ประเทศ จะให้ความช่วยเหลือ ภาค เอกชนไทยในการจับคู่พันธมิตรธุรกิจทั้งในด้านการค้าสินค้า/บริการ การลงทุนและการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลาง และ การสร้างเครือข่ายกับห้างค้าปลีกรายใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง

(4) ส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตรงกับความต้อง การของตลาดอาเซียน โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในอาเซียน การจัดคณะผู้แทนการค้าในกลุ่มสินค้าเป้าหมายเยือนประเทศในกลุ่มอาเซียน การเชิญคณะผู้แทนการค้าอาเซียนมาไทย การจัดงานแสดงสินค้าไทย Thailand Exhibitions/Outlets โดยมุ่งเน้นสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค : ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า สินค้าอาหาร : สิงคโปร์ มาเลเซีย สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง) : สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง : เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เครื่องใช้ในบ้านของตกแต่งบ้าน : อินโดนีเซีย มาเลเซีย เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/เครื่องปรับอากาศและท้าความเย็น : ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น

(5) ยกระดับภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการไทย และส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทย โดยส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการสร้างตราสินค้าในอาเซียนและการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้า/ธุรกิจบริการไทยผ่านกิจกรรมการตลาด/สื่อต่างๆ

(6) ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เช่น การจัดตั้ง SMEs Club การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการไทยในการขยายการค้า และการลงทุนในตลาดอาเซียน เช่น สัมมนากลยุทธ์การส่งเสริมธุรกิจแฟชั่นไทยก้าวไกลในอาเซียนรองรับ AEC สัมมนาโอกาสธุรกิจก่อสร้างในตลาดอาเซียน สัมมนาลู่ทางการท้าธุรกิจและการลงทุนในอาเซียน เป็นต้น

(7) พัฒนาระบบลอจิสติกส์และอ้านวยความสะดวกทางการค้า เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า (Trading Nation) และศูนย์กระจายสินค้าของภูมิภาค (Hub of Distribution Center)

ทั้งนี้ นโยบายกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ AEC จ้าเป็นต้องมีการบูรณาการ ทั้งภายในกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชน ในการจัดท้ายุทธศาสตร์เป็นรายประเทศ โดยมุ่งเน้นสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในตลาดนั้นๆ เพื่อให้บรรลุผลส้าเร็จในการพัฒนาการค้าและการลงทุนของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา : สยามธุรกิจ                                  4/7/2556

______________________________________________________________________

Go  up

 

 

จดบริษัท, จดห้าง, จดเปลี่ยนแปลง
โทร. 088-227-7514, 
062-827-4446


สอบถามเรื่องบัญชี, ภาษี
โทร. 081-695-8246,
062-827-4446


มีปัญหาเรื่องบัญชีและภาษีอากร
โทร.088-227-7514,
081-695-8246



 


 






อัตราแลกเปลี่ยน

ราคาทองคำ