Link ที่เกี่ยวข้อง

ธนาคาร

ตั๋วเครื่องบินราคาถูก

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday6537
mod_vvisit_counterYesterday3251
mod_vvisit_counterThis week12115
mod_vvisit_counterLast week4628
mod_vvisit_counterThis month20590
mod_vvisit_counterLast month15866
mod_vvisit_counterAll days2788818

Go Down

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 1          คุณวางแผนการเงินแล้วหรือยัง (1/4/2553)
ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 2          15 วิธี เก็บเงินแบบง่าย ๆ (1/5/2553)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 3          ทำความรู้จักกับกองทุนรวม (28/9/2554)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 4          เป้าหมายทางการเงิน (3/11/2554)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 5          การวางแผนการเงิน Part 1 (17/11/2554)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 5          การวางแผนการเงิน Part 2 (17/11/2554)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 5          การวางแผนการเงิน Part 3 (17/11/2554)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 6          17 ไอเดียปรับพฤติกรรมใช้จ่าย ยุค'ของแพง'   (7/1/2555)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 7          การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา  (7/1/2555)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 8          ขั้นตอนการลงทุนในหุ้น  (27/1/2555)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 9          การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน   (30/1/2555)

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 10         สั่งเอกชนแจงรายได้รายจ่ายโครงการรัฐ  (14/2/2555)







ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 1
คุณวางแผนการเงินแล้วหรือยัง

คุณอาจเคยได้ยินข่าวเรื่องคนขี่สามล้อที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่1 ซึ่งได้รับเงินรางวัลเป็นสิบๆล้าน แต่เมื่อเวลาผ่านไป2ปี เขากลับไม่มีเงินเหลือแม้สักบาทเดียวสุดท้ายจึงต้องกลับมาถีบสามล้อใหม่อีกครั้งอาจจะเป็นเรื่องน่าขำที่เกิดขึ้นแต่นี่เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆ ของบุคคลที่ไม่มีการวางแผนหรือมีการวางแผนการเงินที่ไม่ดีพอ ซึ่งส่วนใหญ่มักเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • คิดว่าตัวเองมีรายได้เพียงพอสำหรับภาระค่าใช้จ่ายรายวันแล้ว
  • ไม่ต้องการคิดในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตในทางไม่ดี เช่น การว่างงาน ทุพพลภาพ ความตาย
  • ไม่มีเวลาที่จะจัดทำแผน
  • คิดว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  • ต้องการคงวิถีชีวิตของตนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่มักคิดว่าสถานะการเงินของตนเองอยู่ในสภาพที่ดีอยู่แล้ว
  • มักคิดว่าการวางแผนการเงินเหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้เกษียณอายุเท่านั้น

ดังนั้นก่อนที่คุณจะลงทุน คุณควรจะจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้ตรงกับความต้องการของการใช้เงินที่คุณวางแผนไว้เสียก่อนโดยคำนึงถึงช่วงอายุและรายได้จะได้รับทั้งหมดเป็นสำคัญ




เป็นปัจจัยสำคัญประการแรกที่คุณควรใช้พิจารณาในการวางแผนการเงิน ผู้ที่มีอายุน้อยและมีรายได้อยู่ในช่วงเริ่มสะสมทรัพย์มักจะนิยมออมเงินเพื่อมาซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ทำให้เงินออมส่วนใหญ่มักจะจมไปกับการผ่อนหนี้ที่มัดตัวจนไม่สามารถนำไปลงทุนให้เงินงอกเงยได้เลย ดังนั้น คุณควรจะวางแผนว่ามีความจำเป็นที่จะใช้สินทรัพย์ใดบ้างในช่วงอายุใดที่เหมาะสมจะซื้อและต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้มาเมื่อทำงานได้จนสามารถสะสมทรัพย์สินตามที่ต้องการแล้วคุณควรจะเริ่มลงทุนในสิ่งที่มั่นคงถาวรขึ้นเพื่อเป็นเงินออมสำหรับใช้เมื่อหลังเกษียณอายุ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอิสระทางการเงินเป็นสำคัญ

จากแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงช่วงอายุของผู้ลงทุนซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1.ขั้นตอนของชีวิตช่วงที่เริ่มทำงานและสะสมทุนทรัพย์
เป็นช่วงที่มีรายได้น้อยแต่สม่ำเสมอ โดยปกติแล้วรายได้มักจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอตามระดับความรับผิดชอบที่สูงขึ้นและทักษะความรู้ที่พัฒนาขึ้นจากงานนั้นๆ

2.ขั้นตอนของชีวิตช่วงที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย
เป็นช่วงที่มีระดับความสามารถในการหารายได้สูงที่สุด เนื่องจากคุณจะมีหน้าที่การงานที่มั่นคงส่วนหนี้สินที่มีนั้นลดลง จึงทำให้มีเงินส่วนที่เหลือไว้สำหรับการลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ดีคุณควรจะเก็บเงินบางส่วนสำรองไว้สำหรับใช้ในช่วงเกษียณอายุด้วย

3.ขั้นตอนของชีวิตช่วงเกษียณอายุการทำงาน
คุณมีโอกาสน้อยที่จะหารายได้เพิ่มขึ้น จึงต้องใช้ทรัพย์สินที่สะสมและลงทุนไว้ เงินบำนาญและเงินออมเพื่อเกษียณในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นช่วงที่คุณจะมีอิสระทางการเงิน

4.ขั้นตอนของช่วงปลายชีวิต
มีทรัพย์สินมากเกินกว่าจะใช้หมด จึงมีเหลือเผื่อแผ่เจือจุนให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

รายได้ที่ได้รับ (Income)

เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้จากเงินประจำเดือน จากธุรกิจส่วนตัว เงินจากมรดก หรืออื่นๆ คุณควรจัดสรรเงินก้อนแรกไว้สำหรับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของตัวคุณและครอบครัว เช่น เงินค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น หลังจากที่เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตไว้เรียบร้อยแล้วคุณควรจะตระหนักถึงค่าใช้จ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อคุณจะได้ไม่มีความกังวลใจและเครียดกับผลของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งประกอบด้วย

- เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

เงินสำรองนี้ควรเก็บไว้ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสามารถเบิกใช้ได้ทันทีที่ต้องการ เช่น การฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์

- ภาระหนี้สิน

ถือเป็นหน้าที่ของคุณตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบเพราะหากคุณไม่จ่ายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครองหรืออาจฟ้องล้มละลายได้

- เงินสำหรับแผนการในอนาคต

หากคุณมีแผนการที่ชัดเจนเหล่านี้อยู่ในใจก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น โดยคำนวณจากเงินที่มีในปัจจุบันและรายได้ในอนาคต

- เงินประกัน

คุณอาจจะจัดทำประกันชีวิตหรือประกันอื่นๆ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัวให้ในกรณีที่คุณไม่อยากเสี่ยงกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อคุณวางแผนการเงินเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะทราบว่าคุณมีเงินเก็บและเงินลงทุนเท่าไหร่และเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ความฝันในชีวิตของคุณเป็นจริงตามที่ตั้งใจไว้

ที่มา : กรุงเทพประกันชีวิต (1/4/2553)

 

_________________________________________________________________________________

 

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 2

15 วิธี เก็บเงินแบบง่ายๆ

เงินแต่ละบาทกว่าจะหามาได้ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ ได้มาแล้วต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานานเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น

1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย แค่ 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์

แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวันเช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือทุกๆวันเสาร์และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมดอย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ ก็เท่ากับ แบงก์ร้อยหนึ่งใบนะ

5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้วได้เงินคืนบ้างก็ยังดี

6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก

7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต

8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ

9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ

10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ

11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัลที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้

12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า) ให้ตัวเองดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ

13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)

14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่

15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เมื่อเก็บได้ถึงเป้าก็แบ่งเงินส่วนหนึ่งพาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

ที่มา :   learners.in.th                                      1/5/2553

____________________________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 3 ทำความรู้จักกับกองทุนรวม

กองทุนรวม  คืออะไร

คือเครื่องมือในการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ผู้ลงทุนหลาย ๆ คน นำเงินลงทุนมารวมกันและมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เรียกว่า  บลจ.  ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนและได้รับใบอนุญาตในการบริหารจัดการกองทุนรวมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเงินลงทุนก้อนนั้นให้แก่ผู้ลงทุน

บลจ. จะทำหน้าที่  บริหารกองทุนรวมให้เกิดดอกผลโดยนำเงินลงทุนของกองทุนรวมไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ  เช่น พันธบัตร  หุ้นกู้  หุ้น  เป็นต้น  เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนรวมนั้นด้วย

มูลค่าของกองทุนรวมวัดจากอะไร

มูลค่าของกองทุนรวมทั้งกองทุน  หรือ  มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม  (Net  Asset  Value  หรือ NAV)  ณ วันใด ๆ คำนวณได้ดังนี้

NAV  ณ วันที่... = มูลค่าตามราคาตลาดของทรัพย์สินทั้งหมดที่กองทุนรวมไปลงทุน + กำไรจากการลงทุนและดอกเบี้ย – ค่าธรรมเนียมการจัดการ = NAV

NAV  เป็นตัวเลขที่สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนรวมได้ดีที่สุด  เพราะการเปลี่ยนแปลงของ NAV  จะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่า  แต่ละกองทุนรวมนั้น  บริหารไปแล้ว  ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุน  ได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยเพียงใด  NAV  เพิ่ม  คือผลประกอบการดี  NAV  ติดลบ  หรือลดลง  คือ  ผลประกอบการไม่ดี  ( ถ้าไม่ใช่เป็นผลจากการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน )   ราคาหน่วยลงทุนอาจเริ่มต้นที่  10  บาท  ณ  ตอนเสนอขายครั้งแรก  จากนั้นอาจเพิ่มขึ้น  หรือลดลง  ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกองทุนรวม  และจากนั้น  NAV  จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน

กองทุนรวม แบ่งตามประเภท  ได้แก่

  1. กองทุนเปิด ซึ่งเปิดให้ซื้อขายได้ตามเวลาที่กำหนด
  2. กองทุนปิด ซึ่งเปิดขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว  และกำหนดอายุกองทุนรวม  ไว้เมื่อครบอายุผู้ลงทุน  จึงจะได้รับเงินคืน

เหตุผลที่ควรเลือกลงทุนในกองทุนรวม

  1. บลจ. บริหารเงินให้เรา  โดย บลจ. มีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้  ประสบการณ์  ทำหน้าที่ในการดูแลเงินลงทุน  จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิดด้วยตนเอง
  2. มีการกระจายความเสี่ยง  นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์  หรือตราสารที่หลากหลาย
  3. มีสภาพคล่อง  (กรณีกองทุนเปิด)  ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามเวลาที่ บลจ. กำหนด
  4. มีเงินน้อยก็ลงทุนได้  บางกองทุนรวมมีเงินเพียงหลักพันก็เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวมได้
  5. มีช่องทางในการซื้อขายที่หลากหลาย  เช่น  ผ่านตัวแทนขายของ  บลจ.  ผ่าน ATM  ผ่าน Internet
  6. มีกลไกป้องกันผู้ลงทุน  มีหน่วยงานภาครัฐ  คือ  ก.ล.ต.  เป็นผู้กำกับดูแล  โดย ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ในการทำธุรกิจ  วางกลไกการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนถูกเอารัดเอาเปรียบ  และกำหนดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์  คอยติดตามสอดส่องการทำงานของ บลจ. ตลอดเวลา

 

ในการซื้อขายครั้งแรก  ต้องมีการกรอกคำขอเปิดบัญชีกองทุนรวมและ คำสั่งซื้อหน่วยลงทุน  หลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว  บลจ. จะออกหลักฐานยืนยันการลงทุนให้  ซึ่งปัจจุบัน  มี 2 รูปแบบ คือ

1. แบบสมุดบัญชี  แสดงสิทธิในหน่วยลงทุน

รูปแบบ  เหมือนสมุดบัญชีเงินฝาก  ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องเซ้นชื่อด้านหลังของสมุดบัญชี

ข้อดี      รวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่เดียวกัน  ไม่กระจัดกระจาย

ข้อเสีย   หากจะทำการขายคืนหน่วยลงทุน  ต้องนำสมุดบัญชีไปด้วยทุกครั้ง  จึงจะทำรายการได้  (แต่กรณีซื้อ  สามารถทำรายการได้ไม่ต้องใช้สมุด)

 

2. แบบไม่ใช้สมุดบัญชี

รูปแบบ  ผู้ถือหน่วยลงทุน  จะได้เป็นหนังสือแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนยืนยันการซื้อขายทุกครั้ง  ที่มีการทำรายการ  มักจะทำในรูปแบบของกระดาษส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุน

ข้อดี       คล่องตัวกว่าหากต้องการซื้อหรือขายคืน  กรอกเพียงแบบฟอร์ม  คำสั่ง  ซื้อขาย  ก็สามารถทำรายการได้

ข้อเสีย    เนื่องจากหลักฐานที่ได้จะส่งมาทางไปรษณีย์  เป็นกระดาษทุกครั้งที่มีการทำรายการ  หากจัดเก็บไม่ดี  อาจเกิดความสับสนได้

 

ผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนรวม  จึงต้องทำความรู้จักความเสี่ยงแต่ละประเภท  เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ว่า  ควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมประเภทใด

 

ประเภทของกองทุนรวม

เสี่ยงสูง

กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นเฉพาะกลุ่ม small       มีโอกาสทั้งได้กำไรมากและขาดทุนมากเช่นกัน

กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น  ปัจจัยพื้นฐานดี  หุ้นกู้  หุ้นกู้ด้อยสิทธิ  มีโอกาสขาดทุนมากกว่า  แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าในระยะยาว

เสี่ยงต่ำ

กองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตร  หุ้นกู้ระยะสั้น  กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น  โอกาสขาดทุนน้อย  ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากนิดหน่อย

กองทุนรวมตลาดเงิน  ลงทุนในสินทรัพยืที่มีสภาพคล่องสูง  และอายุคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มาก  จึงทำให้มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนต่ำ

กองทุนรวมที่ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้  จะมีความเสี่ยงตั้งแต่  ต่ำ-สูง  ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนในตราสารทั้ง  2  ประเภท

 

ที่มา  : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  วันที่  28 กันยายน   2554

_____________________________________________________________________

 

ข่าวสารการเงินเรื่องที่ 4   

 

เป้าหมายทางการเงิน (Financial Goals)

คนเราแต่ละคน ย่อมจะมีเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อม จุดมุ่งหมายในชีวิต ทัศนคติ และความต้องการตามนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางการเงินโดยรวมของผู้คนส่วนใหญ่ สามารถแยกแยะออกได้ดังนี้

1. ปกป้องความเสี่ยงเฉพาะตน

- ความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร
- ความเสี่ยงในการสูญเสียความสามารถในการทำงาน หรือทุพพลภาพ
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
- ค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเองในระยะยาว
- การสูญเสียทรัพย์สิน หรือหนี้สิน
- การว่างงาน

2. สะสมเพิ่มพูนทรัพย์สิน
- เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน
- เพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว
- เพื่อการศึกษา
- เพื่อการลงทุนโดยทั่วไป

3. สำรองเมื่อยามแก่เฒ่า

4. การวางแผนทางภาษี

5. เพื่อการจับจ่ายซื้อหาอสังหาริมทรัพย์

6. เพื่อการบริหารทรัพย์สิน

โดยปกติ ผู้คนจำนวนมากมักจะเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินและการลงทุนหลายรูปแบบ เพื่อที่จะสามารถทำให้ตนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะฉะนั้นเครื่องมือทางการลงทุนพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม ประกันภัย รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล รวมไปถึงการตัดสินใจว่าจะวางนโยบายการลงทุนในรูปแบบใด ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการวางแผนการเงินเช่นกัน นโยบายที่ว่าก็อาจเป็นเรื่องของการจัดสรรแบ่งอัตราส่วนการลงทุนว่าควรจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นเท่าไร ตราสารหนี้มากน้อยแค่ไหน และควรจะทำประกันภัยอะไรบ้าง
ในการวางแผนการเงินเราควรจะตั้งสมมุติฐาน ทั้งในแบบที่สมเหตุสมผล และที่อาจจะดูเพ้อฝันไปบ้าง เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ทิศทางลมทางเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับการจัดทำแผน แต่เมื่อได้แผนมาแล้ว ใครหลายๆคนก็มักจะไม่ค่อยดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ในการตัดสินใจในแต่ละวัน มักจะมีการออกนอกลู่นอกทางเสมอ ขึ้นอยู่กับปัญหาที่วิ่งเข้ามาหา หรือคำบอกเล่าของเหล่านายหน้าโบรกเกอร์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นหลักการสำคัญสำหรับนักวางแผนทางการเงินที่ดี จะต้องช่วยดูแลและนำเสนอนโยบายและแผนการลงทุนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความสามารถในการตัดสินใจการลงทุนสำหรับลูกค้าแต่ละคน
แผนการเงินเหมาะสมกับใครบ้าง

ผู้คนจำนวนมากอยากจะมีแผนการลงทุนที่ดี แต่สำหรับคนที่มีมากหรือพวกที่ร่ำรวยอยู่แล้วก็มักจะหันไปหานักวางแผนการเงินเป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงคนที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ อาจจะมีความต้องการมากกว่าคนที่ร่ำรวยอยู่แล้ว เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา หรือมูลค่าของเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มีความหมายกับคนเหล่านั้นมากกว่าบรรดาเศรษฐีทั้งหลายอย่างแน่นอน และด้วยการศึกษาที่สูงขึ้น การมุ่งมั่นทำงานหนัก ตามมาด้วยความสำเร็จ ก็ยิ่งทำให้ คนทำงานต่างต้องการที่จะได้แผนการเงินและการลงทุนที่แยบยลมากกว่าที่เคยเป็น โดยดูได้จากตัวเลขของคนที่มีรายได้ที่มากพอ มีทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับมรดก ที่หันมาใช้บริการของการวางแผนในเรื่องของการลงทุน การวางแผนในเรื่องภาษี หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ภาพรวมของการวางแผนการเงิน ประกอบไปด้วย การสร้างแบบแผนพิเศษหลายลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนการลงทุน ซึ่งเน้นการเพิ่มและสะสมมูลค่าของทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารพอร์ตการลงทุนทั้งหมด การวางแผนภาษี คือการวางแผนลดภาระภาษี ปรับถ่ายเท หรือเลื่อนกำหนดการเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการบริหารอสังหาริมทรัพย์ เน้นหนักในเรื่องของการวางแผนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก ทั้งในช่วงระหว่างที่ยังคงมีชีวิตอยู่และหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ของบุคคลนั้นโดยมูลค่าของทรัพย์สินไม่ลดลงไปจากเดิม ในขณะเดียวกัน การทำประกันชีวิต คือการใช้ประโยชน์สูงสุดของกรมธรรม์ประกันชีวิตและสุขภาพ ซึ่งบริษัทประกันก็มักจะนำเสนอสินค้าอื่นๆที่น่าจะช่วยทำให้บรรลุถึงความต้องการของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนรวมหรือการสะสมทรัพย์รายปีต่างๆ (Annuities)

นักวางแผนการเงิน (Financial Planner) นักการธนาคาร นายหน้าหรือ broker นักกฎหมาย นักบัญชี และตัวแทนประกันภัย ต่างก็มีส่วนในการช่วยทำให้ลูกค้าบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ซึ่งลูกค้าเองก็อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อให้ได้คำแนะนำที่ดีที่สุดจากผู้ชำนาญการแต่ละส่วน จึงอาจกล่าวได้ว่าการร่วมมือกันของแต่ละฝ่ายถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การวางแผนการเงินประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังนั้นรูปแบบของการนำเสนอของการวางแผนทางการเงิน จึงอาจจะต้องเป็นลักษณะที่เรียกว่า "การนำเสนอภาพรวม" comprehensive approach โดยนำเอาพื้นฐานสำคัญๆของแต่ละส่วนมารวมกัน ซึ่งพัฒนาและรู้จักกันดีในรูปแบบของ "การวางแผนการเงินส่วนบุคคล" personal financial planning
จะต้องสูญเสียเท่าไร ถ้าไม่มีแผน

อย่างที่คนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าเราไม่เตรียมพร้อม เราก็ควรจะเตรียมตัวที่จะล้ม" แต่ผู้คนโดยมากก็มักจะลืมหรือไม่เตรียมวางแผนเอาไว้ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ทั้งแนวคิดหรือทัศนคติที่มีอยู่ในตัวเราหลายคน ที่ว่า ไม่ได้มีทรัพย์สินหรือรายได้มากมายพอที่จะต้องการการวางแผน หรือไม่ฐานะการเงินก็อยู่ในลักษณะที่เรียกว่า อยู่ตัวอยู่แล้ว ซึ่งข้อสมมุติฐานทั้งสองข้อ ถือว่าไม่ถูกต้อง หรือบางท่านอาจจะกลัวการวางแผน เพราะจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์นัก อย่างเรื่องของการเสียชีวิต พิการทุพพลภาพ การไม่มีงานทำ สูญเสียทรัพย์สิน หรือการไร้ซึ่งความสามารถในการทำมาหากิน สุดท้ายหลายท่านก็คิดหนักกับค่าบริการในการให้คำปรึกษาทำให้ต้องเลื่อนการตัดสินใจที่จะลงมือทำอะไรต่อไป

ในขณะที่เรามีเหตุผลซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงไม่ใส่ใจกับการวางแผนการเงิน แต่ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขาดแผนที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งนั้น มีทั้งการสูญเสียโอกาส ภาระภาษีที่หนักเกินความจำเป็น รวมไปถึงการสูญเสียส่วนบุคคลบางอย่างซึ่งอาจจะสูงมากจนคาดไม่ถึง อาทิเช่น ครอบครัวอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือได้รับความคุ้มครองแต่ไม่เพียงพอ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าพึงประสงค์ ทั้งการเสียชีวิตของผู้นำครอบครัว หรือพิการทุพพลภาพ การเจ็บป่วยที่ร้ายแรง อุบัติเหตุทางรถยนต์ การว่างงานที่ยืดเยื้อติดต่อกันยาวนาน หรือความเสี่ยงของชีวิตในรูปแบบอื่นๆที่มีอยู่มากมายในสังคมสมัยนี้ จากตัวเลขในสหรัฐอเมริกา พบว่า ในบรรดาผู้พิการ 40 ล้านคน มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น ที่เกิดความพิการมาตั้งแต่กำเนิด เพราะฉะนั้นโอกาสของความเสี่ยงต่อร่างกายและชีวิตของคนเรานั้น มีไม่น้อยเลยทีเดียว

นอกจากนั้นแล้วเราก็อาจจะไม่สามารถจัดหาทุนรอนได้เพียงพอกับค่าการศึกษา ค่าใช้จ่ายเมื่อตอนเกษียณอายุ หรือเพียงพอกับความต้องการบางอย่างในอนาคตที่อาจจะโผล่ขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัว
ส่วนครอบครัวซึ่งมีธุรกิจเป็นของตนเอง หากขาดการวางแผนที่ดี เมื่อเกิดเหตุเสียชีวิตของผู้นำครอบครัว หรือพิการทุพพลภาพ การสืบทอดธุรกิจอาจกระท่อนกระแท่น หากผู้นำคนใหม่กำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ของการสูญเสีย หรือขาดไร้ซึ่งประสบการณ์ จนไม่สามารถปกครองลูกจ้าง พนักงาน ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการบริหารทรัพย์สินที่สลับซับซ้อนได้ ลงทุนในช่วงที่อารมณ์แปรปรวนไม่เหมาะที่จะตัดสินใจ

ในขณะเดียวกับที่ผู้คนรอบข้างต่างก็พยายามจะแสดงความคิดเห็นแนะนำ แต่ก็เพียงเพื่อประโยชน์ของผู้ที่อยู่รอด ไม่มองไปถึงผลลัพธ์ที่จะตกถึงลูกถึงหลานซักเท่าไรนัก
ค่าความเสียหายอีกแบบหนึ่งสำหรับผู้ที่มีจุดมุ่งหมายแต่ขาดการวางแผน อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่คนเหล่านั้นยึดติดอยู่กับนายจ้างเดิม ขลาดกลัวไม่กล้าที่จะเปลี่ยนงาน เพราะไม่สามารถรับมือกับต้นทุนที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการมีแผนบริหารการลงทุนส่วนบุคคลที่ดี จะสามารถทำให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างที่ต้องการ
เริ่มต้นกันดีกว่า

ขั้นตอนของการวางแผนทางการเงินโดยปกติแล้ว เป็นเรื่องของการแปลความเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของบุคคลหนึ่งบุคคลใดออกมาเป็นแผน หลังจากนั้นจึงแก้สมการออกมาเป็นเรื่องของการเงินและการลงทุนเพื่อดำเนินการให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งขั้นตอนต่างๆมักจะประกอบไปด้วย

ขั้นที่ 1รวบรวมข้อมูลด้านการเงิน

การจะวางแผนกิจกรรมต่างๆให้ได้ดี จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่สมบูรณ์พร้อม ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจะมากน้อยหรือเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ แต่ส่วนมากมักจะเป็นเรื่องของการลงทุนส่วนบุคคล รายได้และรายจ่าย กรมธรรม์ประกันภัยที่ถืออยู่ การเตรียมการเมื่อเกษียณอายุ หรือไม่ก็เรื่องของพินัยกรรม ซึ่งขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลอาจจะไม่จำเป็นต้องลึกถึงแก่น หรือมากมายเป็นกองพะเนิน เพราะในบางครั้งแค่ข้อมูลน้อยนิดก็อาจจะทำให้แผนงานสำเร็จลงได้ หากเรารู้ว่าเรากำลังมองหาอะไร

ขั้นที่ 2< กำหนดเป้าหมาย

เป็นเรื่องจำเป็นอยู่เองที่เราจะต้องกำหนดเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนและตรงประเด็นให้ได้มากที่สุด และเมื่อเราได้เป้าหมายมาแล้ว ก็ต้องเข้าใจเอาไว้ด้วยว่า เป้าหมายที่ว่านี้อาจจะไม่คงอยู่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ สิ่งใดที่เหมาะสมหรือคิดว่าดีสำหรับคู่หนุ่มสาวเมื่อกำลังอยู่ในช่วงฮันนีมูน อาจจะไม่เข้าท่ากับครอบครัวที่มีลูกกำลังเรียนมหาวิทยาลัย หรือคู่ตายายที่กำลังจะย่างเข้าวัยเกษียณอายุ

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน สรรหาทางเลือก

ขั้นตอนที่สามของกระบวนการวางแผนคือการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของบุคคล ที่จะมีผลต่อเป้าหมาย และการสรรหาทางเลือกเพื่อแก้ไขข้อเสียที่ตรวจพบ บ่อยครั้งที่บุคคลอาจจะเน้นหนักในบางเรื่อง แต่พร่องไปในส่วนอื่น เพราะฉะนั้นการปรับสมดุลของทุกส่วนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

ขั้นที่ 4 พัฒนา และปรับเปลี่ยนแผน

อย่างที่เคยกล่าวเอาไว้แล้วว่า แผนการเงินและการลงทุนหนึ่งแผน ไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ความสลับซับซ้อนของสิ่งที่อยู่รอบตัว เพราะฉะนั้นข้อเสนอแนะที่ได้ย่อมจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร อีกทั้งแผนก็อาจจะดำเนินต่อไป โดยที่บุคคลนั้นอาจจะไม่สามารถปฏิเสธบางส่วนของแผน ที่เขาเองไม่เห็นด้วย หรือไม่สามารถรับได้

ขั้นที่ 5 ทบทวนรายปี เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

ไม่มีแผนการเงินใดที่สามารถจัดทำ นำไปใช้แล้วจบได้ในครั้งเดียว ในเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป แผนก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ในแต่ละช่วงเวลาของบุคคลมีทั้งการเกิด การแต่งงาน การหย่าร้าง การเสียชีวิต เปลี่ยนงาน รวมทั้งปัจจัยอื่นๆที่ก้าวเข้ามาในชีวิต ซี่งมีผลทำให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนที่ว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่า บุคคลจะสามารถละเลยหรือขาดวินัยในการปฏิบัติตามแผนที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ประเด็นควรจะอยู่ที่ว่า หลังจากที่ปฏิบัติผ่านไปแล้วในแต่ละปี เราควรมาศึกษา ปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
คำตอบสุดท้าย

ไม่ว่าจะมีแผนการเงินเพียงหนึ่งแผน หรือมากกว่านั้น แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถรับประกันถึงผลที่ออกมาได้ เช่นเดียวกับการลงทุน แผนการเงินเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่คาดการณ์ ไม่ใช่เรื่องของความแน่นอน แต่โดยอาศัยความรู้ และวินัยในการปฏิบัติของบุคคลนั้น เราเชื่อว่า โลกจะเป็นของคนที่วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเสมอ


ความหมาย - การเงินส่วนบุคคล Personal Finance

จุดมุ่งหมายของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นการบริหารเงินในส่วนของบุคคล ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ บุคคลได้รับในสิ่งที่ตนหวังไว้ โดยเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับตนเองและครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ แล้ว ก็ย่อมทำให้ทุกคน มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้

การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) หมายถึง การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จัก จัดหาเงินเข้ามา และใช้จ่ายออกไปอย่างถูกต้อง บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ความหมายของคำว่า “การบริหารการเงินส่วนบุคคล”

ความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

เพื่อให้คน วางแผนการเงิน ของตนเองและ ครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้คนตระหนักถึงความสำคัญ
ในการใช้จ่าย อย่างถูกต้อง ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต จะก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการวางแผนการเงิน

ขอบเขตของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

1. การสร้างฐานะความมั่นคงทางการเงิน
2. การรู้จัดใช้เงินอย่างฉลาด 
3. การใช้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย 
4. การสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยการทำประกันภัย 
5. การลงทุนประเภทต่างๆเลือกหลักทรัพย์ลงทุนและสถาบันที่จะลงทุนให้เหมาะสม 
6. การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตยามปลดเกษียณ

ข้อคิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล


1. เวลาเป็นของมีค่าในการบริหารการเงินส่วนบุคคลควรจะใช้เวลาให้น้อยที่สุด 
2. การจัดการเกี่ยวกับการเงินควรจะมีการยืดหยุ่นได้ 
3. ควรมีการปรับปรุงแผนงานระยะยาว และควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ 
4. ควรมีการวางแผนทางการเงินของครอบครัว สามีและภรรยาควรเข้าใจในแผนงานนี้ร่วมกัน
5. การซื้อของราคาแพงแล้วได้สินค้าคุณภาพดี จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว 
6. ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น 
7. พยายามเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด 
8. พยายามบริหารเงินที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด 
9. ควรพัฒนาปรับปรุงงานอดิเรกที่ทำอยู่ให้มีผลประโยชน์เกิดขึ้น
10. ใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูน 
11. ควรวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับเรื่องของเวลาเสมอ 

การวางแผนทางการเงินของบุคคล (Personal Finanace Program)

เป้าหมายในชีวิตของบุคคล (Personal Goals in Life)

ก. เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงิน (Financial Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล อันจะมีผลให้ ฐานะการเงินของบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง 
ข. เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับเงิน (Nonfinancial Goals) บางครั้งเงินก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ ความนึกคิด เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า เงินไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

การวางแผนชีวิตของบุคคล

แผนระยะสั้น (Short-term or current planning) แผนระยะสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง
แผนระยะยาว (Long-term Planning) การวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ การสร้างฐานะความมั่นคง ให้บุคคลในอนาคต

ที่มาของรายได้ของบุคคล ได้มาจากหลายทาง เช่น จากงานประจำที่ทำอยู่ การทำงานอดิเรกดอกผลที่เกิดขึ้นจาก สินทรัพย์ลงทุน ตลอดจนบำเหน็จบำนาญ และ สวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็น เครื่องกำหนด รายได้ของบุคคล และความปรารถนาของแต่ละบุคคล ว่าต้องการมีรายได้มากเพียงใด ซึ่งเขาก็ต้อง ขวนขวายให้ได้มา ซึ่งรายได้นั้น

การใช้จ่ายของบุคคล

รายได้ที่บุคคลได้มา มักจำเป็นต่อการดำรงชีพซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นอกจากนั้น เป็นการจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบาย การใช้จ่ายเกี่ยวกับพันธะทางการเงินที่มีอยู่ เช่น ค่าเบี้ยประกัน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าภาษี เป็นต้น

การวางแผนการเงินในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล (Personal Financial Planning Life Cycle) ระยะเริ่มตั้งครอบครัว (The beginning family) ระยะขยายครอบครัว (The expanding family) ระยะการแยกย้ายครอบครัว (The launching family) ระยะช่วงกลางของครอบครัว (The middle-age family) ระยะเมื่อเข้าสู่วัยชรา (The Old-age family) แบ่งเป็น 5 ระยะ

ภาวะเงินเฟ้อกับการวางแผนการเงิน (Inflation and Financial Planning)

การพิจารณาว่าภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นดูได้จาก ดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากปีฐาน เป็นจำนวนเท่าใด หากภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็จะทำการเข้าแทรกแซง

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันมีสาเหตุเนื่องมาจาก ความต้องการสินค้ามีมาก หรืออาจเป็น เพราะต้นทุนของสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นก็ได้



ที่มา :   novabizz.com                                   วันที่  3/11/2554

________________________________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 5  Part 1 

การวางแผนการเงิน (Financial Planning)

หมายถึง กระบวนการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคล อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Personal Finance

ทำไมต้องวางแผนการเงิน?

1. คนอายุยืนขึ้น

ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ย 73 ปี แต่ถ้าเราเก็บสถิติเฉพาะคนไทยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ได้อีกประมาณ 21 ปี (ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม ม.มิหดล) ดังนั้นจึงน่าคิดว่าช่วงเวลาหลังเกษียณที่ต้องอยู่อีก 21 ปี เราจะอยู่กันอย่างไร ถ้าไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีพอ

2. โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป

เดิมคนไทยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ปัจจุบันแยกย้ายกันอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การคาดหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดูเป็นเรื่องที่หวังได้น้อยลง เราจึงต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ

3. ค่าครองชีพในอนาคตจะสูงขึ้นมาก

ข้างของในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน อีก 20-30 ปีข้างหน้าในวันที่เราเกษียณอายุ สินค้าที่จำเป็นอาจแพงขึ้นอีก 1-2 เท่าตัว โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล ที่มักมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเฟ้อเสมอ ดังนั้น งบประมาณที่เราเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ ถ้าไม่ได้คำนวณเผื่อค่าเงินเฟ้อไว้ด้วย

4. สวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอแน่

ในอีก 15 ปีข้างหน้า สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 20% นั้นหมายความว่า 1 ใน 5 ของคนไทยจะเป็นคนสูงอายุ ขณะที่สัดส่วนของวัยทำงานต่อคนสูงอายุจะลดลงจาก 6:1 ในปัจจุบันเป็น 3:1 ในปี 2021 ทำให้ภาษีที่รัฐเก็บได้จะไม่เพียงพอต่อการจัดหาสวัสดิการให้คนสูงอายุ หรือหากทำได้ก็เป็นแบบพื้นๆ เท่านั้น

5. ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น

สมัยก่อนการฝากเงินในธนาคารให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจและมีความมั่นคงสูง เดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากลดน้อยลงมาก ขณะที่ช่องทางการลงทุนใหม่ๆ มีให้เลือกหลากหลายมากขึ้น แต่ก็มีรูปแบบและความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจและรู้จักวางแผนการลงทุนให้ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

6. ทำให้เราสามารถเกษียณอายุได้เร็วขึ้น

หากมีการวางแผนที่ดีและเริ่มต้นเร็ว ย่อมบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินออมที่เก็บได้มากขึ้น ดอกเบี้ยทบต้นที่สูงขึ้นหรือการสามารถหาประโยชน์จากโอกาสดีๆ ที่บังเอิญผ่านเข้ามา เพราะเรามีเงินออม เงินก้อนที่เก็บไว้ เช่น ซื้อที่ดินทำเลสวยจากคนที่ร้อนเงิน หรือซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตกลงมามากเกินควร

7. ช่วยรองรับความเสี่ยงของชีวิตได้มากขึ้น

ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เราอาจโชคร้าย เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุหนักๆ ขึ้นได้ แต่ถ้าเรามีการวางแผนการประกันภัยไว้ ย่อมสามารถบรรเทาภาระต่างๆ ลงได้ หรือเราเกิดตกงานกะทันหัน มีคนในครอบครัวป่วย การมีเงินเก็บสำรองไว้ ย่อมหลีกเลี่ยงความยุ่งยากจากการต้องไปกู้หนี้ยืมสินเงินกู้นอกระบบลงได้

ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน

1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการเงิน

ในการวางแผนการเงิน ควรจะเริ่มจากการมีเป้าหมายคร่าวๆ ว่าเราอยากบรรลุเป้าหมายทางการเงินในเรื่องอะไร และต้องใช้เวลาเท่าไร เช่น

-  อยากเกษียณการทำงานตอนอายุเท่าไร ตอนนั้นอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไร

-  อยากเตรียมทุนการศึกษาให้ลูกเรียนถึงระดับไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไร

-  หรืออยากวางแผนจัดสรรมรดกให้ลูกหลาน ต้องทำอย่างไร

เป้าหมายที่กำหนดขึ้น อาจเป็นเป้าหมายเดียว หรือเป้าหมายผสมผสานเต็มรูปแบบก็ได้

2. รวบรวมข้อมูล

เป็นการรวบรวมข้อมูลทางการเงิน ทั้งของตนเอง ครอบครัว และภาวะรอบล้อมทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ เช่น รายรับ, รายจ่าย, ทรัพย์สิน, หนี้สิน, ภาระผูกพัน, ดอกเบี้ย หรือทิศทางการลงทุนในปัจจุบันและอนาคต

3. วิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงิน

นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาสถานะทางการเงินปัจจุบันว่าตอนนี้มีเงินเก็บสุทธิเท่าไรแล้ว      ยังขาดอีกเท่าไร เพื่อที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และมีทางเลือกอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น

4. จัดทำแผนการเงิน

หลังจากวิเคราะห์เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ แล้ว ให้ประเมินทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วเขียนแผนการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา ภายใต้สมมติฐานและข้อมูลที่รวบรวมไว้

5. นำแผนไปปฏิบัติ

เป็นการปฏิบัติตามแผนที่ได้เขียนไว้ว่าต้องลงมือทำอะไรบ้างในกรอบเวลาเท่าไร เช่น ต้องออมให้ได้เดือนละเท่าไร ต้องนำเงินไปลงทุนอะไรบ้าง หรือต้องทำประกันภัยเพิ่มในเรื่องะไรบ้าง โดยต้องมีการตรวจทานด้วยว่าได้ทำครบพอที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

6. ติดตามและกำกับให้เป็นไปตามแผน

หลังจากปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง ต้องหมั่นตรวจสอบและประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าได้ผลตามที่คาดหวังหรือไม่ สมมติฐานที่วางไว้มีการเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร และควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปเราจะมีการทบทวนแผนปีละ 1 ครั้ง

การเขียนแผนการเงิน

หลังจากที่ได้วางเป้าหมายและรวบรวมข้อมูลต่างๆ จนครบถ้วนแล้ว เราจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และเขียนแผนให้เป็นรูปธรรม โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. ระบุเป้าหมายให้เป็นตัวเลข

เราควรกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นตัวเลขที่วัดค่าได้ เช่น เราอยากเกษียณที่อายุเท่าไร มีเวลาอีกกี่ปี ถึงเวลานั้นต้องมีเงินเก็บคิดเป็นยอดเงินเท่าไร และจะใช้เงินหลังเกษียณเดือนละเท่าไร ใช้ได้ไปอีกกี่ปี

สูตรง่ายๆ ในการคำนวณวงเงินเกษียณอายุ คือ เงินที่ต้องการใช้ในแต่ละเดือน X 12 X 20 เท่า เช่น หลังเกษียณอยากมีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาท วงเงินที่ต้องเก็บออมคือ 20,000 X 12 X 20 = 4,800,000 [km

2. หาสถานะการเงินปัจจุบัน

การจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการเราต้องรู้สถานะที่แท้จริงก่อนว่าตอนนี้เรามีเงินเก็บอยู่เท่าไรแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง และต้องทำอีกเท่าไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

สถานะการเงินปัจจุบันนั้น ภาษาชาวบ้านเราเรียกว่า “เงินเหลือเก็บสุทธิ” คือเงินที่หักหนี้สินออกหมดแล้ว แต่ภาษาการเงินเขาเรียกว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” หรือ “Net Worth” ซึ่งหาได้ง่ายๆ ด้วยสมการดังนี้

ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม

โดยมูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆ ต้องเป็นราคาปัจจุบัน  หรือเป็นราคาตลาด (Market Price) ไม่ใข่ราคาต้นทุนตอนที่ซื้อมา และหากราคาตลาดมีหลายราคา ให้ใช้ราคาที่ต่ำเป็นเกณฑ์ เพื่อจะได้ไม่หลอกตัวเองว่ามีเงินเหลือเก็บเยอะ

ตามทฤษฎี ความมั่งคั่งสุทธิที่เราควรมี ณ เวลาปัจจุบัน = อายุ X รายได้ต่อปี ÷ 10 เช่น ปัจจุบันอายุ 40 ปี มีรายได้ปีละ 500,000 บาท ควรมีเงินเก็บสุทธิ เท่ากับ 40 X 500,000 ÷ 10 = 2,000,000 บาท เป็นต้น

ตัวอย่าง การหาสถานะการเงินปัจจุบันของบุคคล โดยเทียบเคียงกับวิธีทางบัญชีในการทำงบดุลบริษัท เพียงแต่ของเราเป็นงบดุลส่วนบุคคล (Personal Balance Sheet)

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ความมั่งคั่งสุทธิ

 

สินทรัพย์

หนี้สิน

สินทรัพย์หมุนเวียน (มีสภาพคล่อง)

- เงินสด

- บัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ

- หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง

เช่น ตั๋ว B/E

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

อสังหาริมทรัพย์

- ที่อยู่อาศัย

- บ้าน, ห้องให้เช่า

รวมราคาอสังหาริมทรัพย์

สินทรัพย์เพื่อการลงทุน

- หลักทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น, หุ้นกู้,

อนุพันธ์

- กองทุนรวมต่างๆ

- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

- กรมธรรม์ประกันชีวิต (มูลค่าเงินสด)

รวมสินทรัพย์ลงทุน

สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว

- รถยนต์ (ราคาตลาด)

- เครื่องประดับมีค่า, ของสะสม

- คอมพิวเตอร์, เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

รวมสินทรัพย์ใช้ส่วนตัว

สินทรัพย์รวม

XXX

XXX

 

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

 

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

หนี้สินระยะสั้น

- ยอดคงค้างบัตรเครดิต

- หนี้สินเงินกู้อื่นๆ

รวมหนี้สินระยะสั้น

 

หนี้สินระยะยาว

- ยอดคงค้างเงินกู้ซื้อบ้าน

- ยอดคงค้างเงินกู้ซื้อรถ

รวมหนี้สินระยะยาว

หนี้สินรวม

 

ความมั่งคั่งสุทธิ

 

(ความมั่งคั่ง = สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม)

XXX

XXX

XXX

 

 

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

 

3. ดูการใช้จ่ายในอดีต

การจะเก็บเงินให้บรรลุเป้าหมาย เราต้องรู้รายรับ – รายจ่ายที่แท้จริงของเราในแต่ละปีว่า ที่ผ่านมามีเหลือเก็บหรือไม่ เหลือเก็บจริงๆ ปีละเท่าไร หรือใช้จ่ายมากกว่ารายได้หรือไม่และจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย หรือหารายได้เพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่

งบรายรับ-รายจ่ายนี้ ทางการเงินเขาเรียก งบกระแสเงินสดส่วนบุคคล (Personal Cash Statement รายรับ เรียก กระแสเงินสดรับ (Cash Inflow), รายจ่าย เรียก กระแสเงินสดจ่าย (Cash Outflow) เงินเหลือเก็บ เรียก กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) ซึ่งอาจเป็นบวกหรือเป็นลบก็ได้

ตามทฤษฎี เราควรมีเงินเก็บที่มีสภาพคล่องสูง หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที อย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินเวลาเจ็บป่วย หรือต้องออกจากงานกะทันหัน จะได้มีเวลาตั้งหลักได้อย่างน้อย 3-6 เดือน

 

ตัวอย่าง งบกระแสเงินสดส่วนบุคคล

กระแสเงินสดรับ

กระแสเงินสดจ่าย

 

- เงินเดือน ค่าจ้างอื่นๆ

- ดอกเบี้ยรับ

- เงินปันผลรับ

- รายได้จากค่าเช่า

- รายได้ตากการขายสินทรัพย์

- รายได้อื่นๆ

กระแสเงินสดรับรวม

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

ค่าใช้จ่ายคงที่

- ค่าผ่อนบ้าน

- เบี้ยประกันภัย

- ประกันสังคม

- เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

- อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายคงที่รวม

ค่าใช้จ่ายแปรผัน

- ค่าอาหาร

- ค่าสาธารณูปโภค

(น้ำ, ไฟ, โทรศัพท์)

- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์

- ค่าใช้จ่ายบุตร

- เงินให้บิดา, มารดา

- ค่ารักษาพยาบาล

- เงินภาษี

- เงินบริจาค

- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายแปรผันรวม

เงินเก็บออม, เงินลงทุน

-        เงินออม

-        เงินลงทุน

เงินเก็บออมรวม

กระแสเงินสดจ่ายรวม

กระแสเงินสดสุทธิ

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

4. วางงบประมาณในอนาคต

หลังจากที่เราได้รู้สถานะปัจจุบัน รู้กระแสเงินสดเข้าออกว่า เหลือสุทธิในแต่ละปีเท่าไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ จัดทำงบประมาณในอนาคตว่า ถ้ามีรายได้ขนาดนี้ เราควรจะต้องใช้จ่ายเท่าไร เพื่อให้มีเงินเหลือที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้ การทำงบประมาณรายรับรายจ่ายส่วนบุคคลนี้ ภาษาทางการเงินเขาเรียกว่า Personal Budgeting

สำหรับคนที่มีความรู้เรื่องค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money) ย่อมสามารถคำนวณได้ว่า จากเงินต้นจำนวนหนึ่งมีเงินออมเข้ามาทุกปี ด้วยอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจำนวนหนึ่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด เงินจะงอกเงยขึ้นมาเป็นเท่าไร

แต่ถ้าเรายังไม่ได้เรียนเรื่องนี้ ก็สามารถคิดแบบคร่าวๆ ได้ โดยคำนวณแบบไม่คิดดอกเบี้ย ว่ามีเงินต้นเท่านี้ ได้เงินออมเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละเท่านี้ ได้เงินออมเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละเท่านี้ มีเวลาเหลืออีกกี่ปี สุดท้ายจะได้เงินออมเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร ใกล้เคียง หรือขาดเหลือจากเป้าหมายเพียงไร

ถ้ายังไม่ถึงเป้าหมายอีก ก็สมมารถปรับงบประมาณได้ ตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ใช้จ่ายน้องลง เพื่อให้มีเงินออมมากขึ้น
  2. เพิ่มรายได้ ด้วยการหางานพิเศษทำ
  3. ทำงานนานขึ้น เกษียณอายุช้าลง
  4. บริหารเงินออม ให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้น
  5. ลดเป้าหมายลง โดยยอมรับที่จะใช้จ่ายน้อยลงยามเกษียณ

การจัดทำงบประมาณที่ดี เรามีเทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ ให้กันเงินออมออกจากรายได้ก่อน ที่เหลือจึงนำไปใช้จ่าย ถ้าทำได้แบบนี้ ก็จะมีเงินเหลือทุกเดือนแน่นอน

 

ตัวอย่าง งบประมาณที่ดี

 

 

งบที่ตั้งไว้

เกิดขึ้นจริง

คลาดเคลื่อน

กระแสเงินสดรับ

- เงินเดือน, ค่าจ้างอื่น

- รายได้จากดอกเบี้ย, เงินปันผล

- รายได้อื่นๆ

กระแสเงินสดรับรวม

กระแสเงินสดจ่าย

สำรองเผื่อฉุกเฉินและการออม

- ออมเผื่อเหตุฉุกเฉิน

- ออมเพื่อการลงทุน

- ออมเพื่อการท่องเที่ยว

รวมเงินออม เงินสำรองทั้งหมด (1)

ค่าใช้จ่ายคงที่

- ค่าผ่อนบ้าน

- ค่าผ่อนรถยนต์

- เบี้ยประกันสังคม

- อื่นๆ

รวมค่าใช้จ่ายคงที่ (2)

ค่าใช้จ่ายแปรผัน

- ค่าอาหาร

- ค่าสาธารณูปโภค

- ค่าใช้จ่ายรถยนต์

- เงินให้บิดา, มารดา

- ค่าใช้จ่ายบุตร

- ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพ

- เงินภาษี

- เงินบริจาค

- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

รวมค่าใช้จ่ายแปรผัน (3)

รวมกระแสเงินสดจ่ายทั้งหมด

(1)  +  (2)  +  (3)

XXX

XXX

XXX

XXX

 

 

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

 

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

 

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

XXX

 

5. การพัฒนาแผนให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

หลังจากเขียนแผนการเงินอย่างย่อขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือ การพัฒนาแผนให้บรรลุเป้าหมายเร็วขึ้น มีประสิทธิผลมากขึ้น ด้วยการวางแผนลงทุนที่หลากหลายเพื่อเพิ่มผลตอบแทนบนความเสี่ยงที่เรารับได้ ตรวจสอบความพอเพียงของวงเงินประกันที่เปลี่ยนไปตามความจำเป็น พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากสิทธิลดหย่อนทางภาษี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงิน

ทั้งหมดนี้สามารถศึกษาหาความรู้จากตำราต่างๆ หรือขอคำแนะนำจากผู้รู้เพิ่มเติมได้ จากนั้นก็คอยติดตามผลการลงทุน การงอกเงยของเงินออม และรอให้ภาพฝันกลายเป็นความจริง

อนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการคำนวณที่ละเอียดยิ่งขึ้น ท่านสามารถใช้เครื่องคำนวณการสะสมเงินเพื่อการเกษียณได้ ที่เว็บไซต์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

โดยพิมพ์  capital.sec.or.th/webapp/feedback/section2.php หรือเปิดหน้าเว็บไซต์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (www.sec.or.th) แล้วคลิกหัวข้อ “ความรู้ผู้ลงทุน

ต่อด้วย “Investment Tips and Warning” และ “วางแผนทางการเงิน” ตามลำดับ

 

บทสรุป

ในแต่ละวัน มีคนนับล้านตื่นขึ้นมา พร้อมกับพบความจริงว่า วันเกษียณอายุของตนใกล้เข้ามาทุกที และไม่รู้จะทำอย่างไรดี แล้วตัวคุณล่ะ!!! ถ้าวันนี้คุณยังไม่ได้เตรียมแผนการเงินเฉพาะของตนเอง รีบวางแผนเสียตั้งแต่วันนี้ มิฉะนั้นวันเกษียณอายุที่จะมาถึง แทนที่จะเป็นวันคืนอันแสนสุข อาจจะกลายเป็นวันแห่งฝันร้ายก็เป็นได้

 

 

 

การวางแผนภาษี (Tax Planning)

คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการเสียภาษีเพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง และสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด

 

ทำไมต้องมีการวางแผนภาษี?

  1. เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อป้องกันโทษ และความรับผิดจากการเสียภาษีที่ผิดพลาด
  3. เพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางที่ประหยัดภาษีสูงสุด
  4. ช่วยลดต้นทุน ทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เพื่อรักษาความมั่งคั่งของผู้เสียภาษี

การวางแผนภาษีส่วนบุคคล

เป็นการวางแผนภาษีของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีอาชีพทำงานรับเงินเดือน เจ้าของกิจการ หรือมีอาชีพอิสระ โดยบุคคลทุกคนที่มีรายได้ ต้องมีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ถ้ารู้จักวางแผนภาษี จะช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับเราได้

รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

รายได้ที่ต้องเสียภาษีของบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ ซึ่งได้แก่

  1. เงิน
  2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้
  3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้
  4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
  5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา

โครงสร้างของการคิดภาษีบุคคลธรรมดา คือ

ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี

ขณะที่เงินได้สุทธิคิดมาจาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เงินบริจาค

ดังนั้น กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีส่วนบุคคล คือ

  1. ลด          ยอดเงินได้ให้ต่ำลง
  2. เพิ่ม         ค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น
  3. เพิ่ม         ค่าลดหย่อนให้สูงขึ้น
  4. เพิ่ม         ยอดเงินบริจาคให้สูงขึ้น

รายละเอียดของแต่ละขั้นตอน มีดังนี้

1. การลดยอดเงินได้ให้ต่ำลง ทำได้โดย

1.1 แยกรายได้ที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีออกไป

มีรายได้บางอย่างที่กฎหมายยกเว้นภาษีให้ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ บำนาญตกทอด หรือ เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล การแยกรายได้ส่วนนี้ออก ช่วยให้ประหยัดภาษีได้มาก

1.2 แยกรายได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเป็นประเภทภาษีสุดท้าย (Final Tax) ออก

เพราะผู้มีเงินได้สามารถเลือกได้ว่า จะนำไปรวมคำนวณภาษีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นควรพิจารณาก่อนว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่ ที่จะนำรายการดังกล่าวเข้าไปรวมคำนวณรายได้เหล่านี้ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น

1.3 แยกรายได้จากต่างประเทศออก

กรณีมีเงินได้จากต่างประเทศ พิจารณาดูว่าสามารถวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีหรือขอยกเว้นภาษีทั้งจำนวนได้หรือไม่ โดยดูว่าประเทศต้นทางที่เป็นแหล่งเงินได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่ ถ้ามีก็ไม่ต้องเสียให้ซ้ำซ้อน ถ้าไม่มีก็ให้ใช้วิธีพักเงินรายได้ไว้ในต่างประเทศ รอให้ข้ามปีภาษีก่อน (รอให้เลยวันที่ 31 ธันวาคม) แล้วจึงนำเงินได้จำนวนนี้กลับเข้ามา ก็จะทำให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีทั้งจำนวน

1.4 เพิ่มหน่วยภาษีออกไป

เนื่องจากอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้นถ้าเราสามารถแตกฐานภาษีออกไปมากเท่าไร ฐานภาษีของแต่ละคนก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้น วิธีที่นิยม คือ การจัดตั้งคณะบุคคล หรือตั้งนิติบุคคลขึ้นเป็นหน่วยภาษีใหม่ เพื่อกระจายรายได้ออกไป และยังสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้เพิ่มเติมอีกด้วย

1.5 การเลื่อนระยะเวลารับรู้รายได้ออกไป

ถ้าหากปีนี้ ฐานรายได้ของเราค่อนข้างสูง และเราสามารถต่อรองให้คู่ค้าของเรา หรือนายจ้างผู้จ่ายเงิน เลื่อนการจ่ายเงินออกไปเป็นต้นปีหน้า เพื่อให้รายได้ใหม่ไปตกปีหน้า ซึ่งเราคาดการณ์ว่าฐานรายได้จะต่ำกว่า เป็นการเกลี่ยรายได้ออกไป ทำให้ไม่ต้องแบกรับฐานภาษีที่สูงเกินไปในปีใดปีหนึ่ง

1.6 การเปลี่ยนเงินได้เป็นสวัสดิการ (Fringe benefits)

หากเรารับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนทั้งหมด เราก็ต้องเสียภาษีแบบเต็มที่ แต่ถ้าเราเปลี่ยนรายได้บางส่วนเป็นสวัสดิการ เช่น รถประจำตำแหน่ง ค่าน้ำมันรถ เบี้ยเลี้ยง เงินรับรองลูกค้า ซึ่งรายการเหล่านี้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เพราะถือเป็นสวัสดิการ หรือถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทได้

1.7 เลือกลงทุนในหลักทรัพย์ หรือออมเงินประเภทที่ได้รับการบกเว้นภาษีจากรัฐบาล

ผลตอบแทนที่ได้จะได้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี เช่น ซื้อประกันชีวิต, กองทุนรวมที่ได้รับสิทธิทางภาษี

2. เพิ่มค่าใช้จ่าย ทำได้โดย

2.1 เลือกอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด

เนื่องจากกรมสรรพากรแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 8 ประเภท แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน ดังนั้น การรู้จักจัดสรรให้เงินได้ของเราไปอยู่ในกลุ่มอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ย่อมช่วยประหยัดภาษีได้มาก (ให้ดูรายละเอียดของแต่ละอาชีพจากเว็บไซด์กรมสรรพากร)

2.2 แยกรายได้ให้มาจากหลากหลายอาชีพ เพื่อเพิ่มสิทธิหักค่าใช้จ่าย

เนื่องจากการเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้ 40% ของเงินได้ แต่ไมเกิน 60,000 บาท แต่ถ้าเราสามารถทำให้รายได้มาจากหลากหลายลักษณะอาชีพ เช่น ค่าที่ปรึกษาในฐานะผู้ประกอบการวิชาชีพอิสระ ค่าลิขสิทธิ์ หรือค่ารับเหมา จะช่วยทำให้มีค่าใช้จ่ายจากแต่ละหมวดมากขึ้น สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

2.3 เครดิตภาษีเงินปันผล

การที่เราลงทุนในบริษัทต่างๆ บริษัทเหล่านั้นได้เสียภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินปันผลก่อนหน้าที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับเรา ดังนั้น ถ้าฐานภาษีเราต่ำกว่าอัตราภาษีของบริษัทนั้นๆ ก็ควรนำมาคำนวณภาษีใหม่อีกครั้งตอนยื่นภาษีบุคคลธรรมดา แต่ต้องดูด้วยว่า อัตราภาษีของบริษัทที่จ่ายปันผลให้เรานั้น สูงกว่าหรือต่ำกว่าฐานภาษีของเรา เพราะถ้าบริษัทที่เราลงทุนด้วยได้รับสิทธิยกเว้นภาษี (BOI) หรือใช้อัตราภาษีที่ต่ำกว่า 30% อยู่แล้ว อาจทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มได้ถ้านำมารวมคำนวณภาษี

3. เพิ่มค่าลดหย่อน ทำได้โดย

3.1 พยายามใช้สิทธิค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้มากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนบุตร ค่าเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย การทำประกันชีวิต หรือการซื้อกองทุนต่างๆ ที่กฎหมายให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

3.2 การเครดิตภาษีล่วงหน้า

สำหรับค่าลดหย่อนต่างๆ ที่เราจะใช้สิทธิลดหย่อนตามข้อ 3.1 นั้น หากเราไม่ต้องการไปทำเรื่องขอภาษีคืนภายหลัง ก็ให้ทำเรื่องเครดิตภาษีไว้ล่วงหน้า โดยวิธีแสดงหลักฐานให้ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบัญชีของบริษัทที่เราทำงานด้วยทราบก่อน ว่าเราได้มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาลดหย่อยภาษีได้ ฝ่ายบุคคลก็จะนำรายการเหล่านั้นไปรวมคำนวณ ทำให้ยอดหักภาษี ณ ที่จ่ายลดลง และแสดงตัวเลขใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น ไม่ต้องไปทำเรื่องขอภาษีคืนจำนวนมากๆ ที่อาจทำให้ถูกกรมสรรพากรเรียกไปตรวจสอบ ทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ

4. เพิ่มยอดเงินบริจาค ทำได้โดย

4.1 เงินที่ได้บริจาคให้วัด โบสถ์ หรือมัสยิด

สามารถขอใบอนุโมทนาบัตรมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้ยังมีองค์กรการกุศลตามที่กรมสรรพากรประกาศ หากเราได้เข้าไปช่วยเหลือบริจาคเงิน ก็สามารถนำใบเสร็จมาลดภาษีได้ แต่รวมกันไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

4.2 เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา

เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว โดยค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษานี้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการดังต่อไปนี้

  1. จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
  2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
  3. จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

บทสรุป

หากเราทำได้ครบถ้วนทุกข้อ เชื่อว่าการวางแผนภาษีของเรา จะช่วยแบ่งเบาภาระให้เราได้เป็นอันมาก และสามารถนำเงินส่วนที่ประหยัดได้ ไปสร้างความมั่งคั่ง ทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 



การวางแผนการประกัน (Insurance Planning)

หมายถึง การวางแผนเพื่อเตรียมรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเรา ครอบครัวของเรา ทรัพย์สินของเรา หรือธุรกิจของเรา การวางแผนที่ดีจะช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

การประกันภัยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การประกันชีวิต เป็นการคุ้มครองความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตผู้เอาประกันภัย โดยกำหนดเป็นวงเงินชดเชยที่แน่นอนตามทุนประกันที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ยังสามารถให้คุ้มครองครอบคลุมถึงการทุพพลภาพ, การเจ็บป่วย, โรคร้ายแรง, อุบัติเหตุ หรือเงินชดเชยรายได้จากการหยุดงาน
  2. การประกันวินาศภัย เป็นการคุ้มครองความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินผู้เอาประกันภัย โดยกำหนดในรูปแบบทุนประกันตามมูลค่าทรัพย์สิน หากมีความสูญเสียเกิดขึ้นจะมีการชดเชยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินทุนประกัน ได้แก่การประกันไฟ, ประกันรถยนต์, ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันการเดินทาง, ประกันภัยขนส่งทางทะเล และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด

 

หลักในการวางแผนประกันภัย

  1. ต้องรู้วัตถุประสงค์ของการประกันภัย
  2. ต้องรู้ความจำเป็นหรือวงเงินที่ต้องการประกัน
  3. ต้องรู้ขอบข่ายที่ต้องการประกัน
  4. ต้องรู้ช่วงระยะเวลาที่ต้องการให้มีการคุ้มครอง
  5. ต้องรู้รูปแบบการประกันที่สามารถตอบสนองความต้องการของเรา

แนวทางในการพิจารณา เมื่อตัดสินใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต

  1. เลือกซื้อกับบริษัทที่มีชื่อเสียง หรือน่าเชื่อถือ
  2. ซื้อให้เหมาะกับวงเงินที่ต้องการ
  3. ซื้อให้เหมาะกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย
  4. ทำความเข้าใจในเงื่อนไขของกรมธรรม์ก่อนซื้อ
  5. เปรียบเทียบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท

ความแตกต่างระหว่างการประกันชีวิตกับการประกันวินาศภัย

  1. ภัยจากการประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องเกิดแน่นอน แต่ภัยจากวินาศภัยอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้
  2. ประกันชีวิตจะชดเชยตามทุนประกัน ประกันวินาศภัยจะชดเชยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินประกัน
  3. ทุนประกันชีวิตมักจะได้คืนเมื่อครบสัญญา ขณะที่เบี้ยประกันวินาศภัยมักจะเป็นแบบกินเปล่า
  4. การสมัครประกันชีวิตในวงเงินสูง อาจต้องถูกเรียกตรวจสุขภาพ ส่วนประกันวินาศภัยจะไม่มีการเรียกตรวจสุขภาพ แต่อาจมีการไปตรวจสภาพสินทรัพย์ที่จะเอาประกันว่าความเสี่ยงภัยและมูลค่าที่แท้จริงเป็นอย่างไร ตรงกับที่แจ้งไว้หรือไม่
  5. เนื่องจากเบี้ยประกันชีวิตจะต้องส่งมอบคืนผู้เอาประกันในวันหนึ่งข้างหน้า ดังนั้น เงินออมส่วนนี้ จะมีกฎหมายควบคุมการลงทุนที่ค่อนข้างเข้มงวด ขณะที่เบี้ยประกันวินาศภัย มักเป็นแบบกินเปล่า จึงไม่ได้เข้มงวดในเรื่องการลงทุนเทียบเท่าเบี้ยประกันชีวิต

ประกันทรัพย์สิน วงเงินเท่าไรถึงพอ

การพิจารณาวงเงินหรือทุนประกันของทรัพย์สินต่างๆ เช่น รถยนต์ บ้านอาศัย หรือโรงงาน มักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้กำหนดวงเงินให้ตามราคาตลาดของทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ โดยทั่วไปเราไม่อาจขอทำวงเงินสูงกว่าหรือต่ำกว่านั้น ดังนั้น สำหรับประชาชนทั่วไปเราแนะนำให้ท่านทำประกันเต็มวงเงินของทรัพย์สินที่ท่านอยากปกป้อง ตามที่บริษัทประกันภัยเสนอวงเงินคุ้มครองมา ส่วนจะให้คุ้มครองภัยอะไรบ้าง เช่น อัคคีภัย ภัยระเบิด น้ำท่วม หรือโจรกรรม ก็คงขึ้นกับความกังวลหรือความพร้อมทางการเงินของแต่ละคน

ประกันชีวิต เท่าไรถึงพอ?

คนทั่วไปมักเข้าใจว่า การประกันชีวิตเป็นการประกันความคงอยู่ของชีวิต คือหากสิ้นลมหายใจ ก็จะได้รับสินไหมทดแทน แต่ในทางวิชาการ การประกันชีวิต เป็นการประกันคุณค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล โดยดูที่ความสามารถในการสร้างรายได้ ว่าถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ต่อไป จะสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว หรือองค์กรได้อีกเท่าไร แล้วจึงนำมูลค่าตรงนั้นมากำหนดเป็นวงเงินคุ้มครอง

อย่างไรก็ตาม นั้นเป็นการมองในแง่อุดมคติ ยังมีการมองในแง่มุมอื่น เช่น ถ้าเขาจากไป ทำอย่างไรให้ครอบครัวเขาเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยนำทุนประกันชีวิตที่ได้ไปชดเชยหรือรองรับภาระที่จะเกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ปัจจุบันมีแนวคิดในการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมอยู่ 2 แนวทาง คือ ตามศักยภาพของบุคคล หรือตามภาระที่บุคคลพึงรับผิดชอบ โดยรายละเอียดในแนวคิดเหล่านั้นเป็นดังนี้

1. คำนวณตามศักยภาพ (Potential Base)

ถึงแม้มูลค่าที่แท้จริงของบุคคล คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดที่คาดว่าเขาจะทำขึ้นมาได้ในช่วงชีวิตที่เหลือ หรือจนกว่าจะเกษียณอายุ แต่วงเงินที่คำนวณได้ มักจะสูงเกินกว่าที่เราจะจ่ายเพื่อทำประกันได้ โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ๆ

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงมีการกำหนดว่า บุคคลควรมีวงเงินประกันเท่ากับ 5 เท่าของรายได้ต่อปี เช่น นาย ก มีเงินเดือนๆ ละ 50,000 บาท และได้รับโบนัสตอนสิ้นปีอีก 1 เดือน รวมทั้งปีมีรายได้เท่ากับ 700,000 บาท ดังนั้นทุนประกันที่เหมาะสมจะเท่ากับ 700,000 X 5 = 3,500,000 บาท

สำหรับเหตุผลที่กำหนดให้มีวงเงินประกันเป็น 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั้น เพราะว่าเวลา 5 ปี เป็นช่วงเวลาที่พอสมควร ที่คนในครอบครัวจะได้ปรับตัว แม่บ้านที่หยุดทำงานมานานหากต้องออกมาทำงานใหม่ ก็พอมีเวลาหางานและฝึกทักษะการทำงานอีกครั้ง หรือจะขยับขยายหาธุรกิจใหม่มาทำ เพื่อทำหน้าที่หารายได้แทนสามีต่อไป

บางตำราบอกว่า ควรให้เวลาครอบครัวปรับตัวถึง 7 ปี แต่รายได้ที่นำมาคำนวณนั้นควรจะคิดเพียง 70% ของรายได้ต่อปี เพราะในช่วงที่ผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่นั้น รายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีและค่าใช้จ่ายส่วนตัว เหลือเงินรายได้ให้ครอบครัวเพียง 70% ดังนั้น เมื่อเขาไม่อยู่ก็ให้ใช้ตัวเลขเพียง 70% ของรายได้ในการคำนวณ แต่เมื่อคำนวณออกมาเป็นวงเงินประกันจะได้เท่ากับ 70% X 7 = 490% ของรายได้ต่อปี ซึ่งจะใกล้เคียงกับ 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั่นเอง

2. คำนวณตามภาระค่าใช้จ่าย (Need Base)

วิธีนี้ ดูตามความจำเป็นของครอบครัวว่าหากสูญเสียเราไป ครอบครัวยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะถ้าไปได้ เราคงอยากรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้เอง

ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัว, หนี้สินที่คงค้างอยู่, ค่าเล่าเรียนของลูกๆ ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ รวมถึงค่าใช้จ่ายครั้งสุดท้ายซึ่งได้แก่ค่าฌาปนกิจ อย่างไรก็ตาม พวกเราแต่ละคนย่อมมีการเตรียมการ หรือมีสมบัติบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อรับภาระเหล่านี้บ้าง

ดังนั้น วงเงินประกันที่ต้องการ จะเท่ากับจำนวนเงินที่ยังขาดหลังจากการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปหักจากภาระค่าใช้จ่าย

ทุนประกัน = ภาระ สินทรัพย์ที่มีอยู่

ภาระได้แก่

  1. ค่าใช้จ่ายของครอบครัว คูณด้วยจำนวนปีที่เราอยากให้เขาอยู่ได้ เสมือนว่าเรายังมีชีวิตอยู่
  2. หนี้สินที่คงค้างทั้งหมด ไม่ว่าค่าจำนองบ้าน, หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิต
  3. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ตามจำนวนปีที่คาดว่าท่านยังมีชีวิตอยู่
  4. ค่าเล่าเรียนของลูกทุกคน จนกว่าเขาจะเรียนจบ
  5. ค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายของเรา ได้แก่ งานฌาปนกิจ เป็นต้น

ขณะที่ทรัพย์สินที่บางท่านอาจมีเตรียมไว้แล้ว เช่น

  1. ทุนประกันที่เรามีอยู่แล้วในปัจจุบัน
  2. สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ หลังเราเสียชีวิต
  3. กองทุนต่างๆ หรือเงินทดแทน ที่บริษัทของเราจ่ายให้เมื่อเสียชีวิต

 

หากสรุปเป็นสมการใหม่ จะได้ดังนี้

วงเงินประกันชีวิตที่ต้องทำเพิ่ม = รายจ่ายของครอบครัว + หนี้สิน + ทุนการศึกษาลูก + ค่าทำศพ วงเงินประกันชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน สินทรัพย์สภาพคล่องสูง เงินกองทุนจากบริษัทนายจ้าง

ในกรณีที่เรามีทุนประกัน หรือสินทรัพย์รวมกันมากกว่าภาระที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันเพิ่ม เว้นแต่ว่าเรายังต้องการให้ทายาทของเรามีทุนรอนเหลือเฟือ เพื่อเขาจะอยู่ได้อย่างสบาย และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่ชั้นลูกชั้นหลานต่อไป

ที่มา : คู่มือการวางแผนการเงิน, สมาคมประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน      17/11/2554

_______________________________________________________________________


ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 5  Part 2

การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)

คือ การวางแผนเพื่อให้การลงทุนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการบนความเสี่ยงที่รับได้

คำถามก่อนจะลงทุน

1. เป้าหมายของการลงทุน

เราต้องถามตนเองว่า เราลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะเป้าหมายที่ต่างกันจะนำไปสู่รูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เช่น เราจะลงทุนเน้นผลตอบแทนสูง หรือเน้นการคงอยู่ของเงินต้น เราจะลงทุนเพื่อเป็นรายได้ประจำยามเกษียณ หรือเป็นการเก็งกำไรระยะสั้น

2. ระดับความเสี่ยงที่รับได้

เรารับความเสี่ยงได้มากขนาดไหน หากลงทุนผิดพลาด เรายังมีเงินสำรองไว้ใช้หรือมีแหล่งรายได้ใหม่เข้ามาอย่างสม่ำเสมออยู่อีกหรือไม่ บางคนลงทุนในตลาดหุ้นแล้วนอนไม่หลับ กังวลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ต้องปรับรูปแบบการลงทุนให้เข้ากับวิถีชีวิตของเรา

3. ระยะเวลาในการลงทุน

แต่ละคนอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินในเวลาที่แตกต่างกัน คนหนุ่มสาวที่จะเก็บเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณย่อมมีเวลาลงทุนอย่างเหลือเฟือ สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย ขณะที่พ่อแม่ที่จะเก็บเงินส่งลูกเรียนต่างประเทศในหนึ่งปีข้างหน้า อาจต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยง หรือขาดสภาพคล่อง

4. ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน

เรามีความรู้ในหลักทรัพย์ที่จะลงทุนขนาดไหนรู้ปัจจัยและแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนหรือไม่ ถ้าไม่รู้จะหาความรู้ได้ที่ไหน ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากเพียงใด ถ้าเรายังไม่มั่นใจ ขอแนะนำให้ลงทุนผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือกองทุนรวมจะดีกว่า

5. ผลตอบแทนที่ต้องการ

คนส่วนใหญ่มักมองเรื่องนี้เป็นประเด็นแรก แน่นอนว่าทุกคนย่อมอยากได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่สุดท้ายผลตอบแทนก็จะถูกกำหนดโดยความเสี่ยง, ระยะเวลาและเป้าหมายการลงทุน ดั่งสำนวนที่ว่า “high risk} high return” อยากได้มากก็ต้องเสี่ยงหน่อย

เมื่อเรารู้คำตอบทั้ง 5 ข้อแล้ว เราย่อมสามารถลงทุนได้อย่างมั่นใจและมีความสุขมากขึ้น

การจัดพอร์ตลงทุน

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้กลไกของระบบการเงินเปลี่ยนไป รูปแบบการออมเก่าๆ เริ่มไม่เหมาะสม ขณะที่รูปแบบการลงทุนใหม่ๆ มีให้เลือกมากยิ่งขึ้น

ในหนังสือเล่มนี้ จึงขอเสนอรูปแบบการลงทุนให้เลือก 3 แบบ ตามวัยและความชอบเสี่ยงของแต่ละคน (ซึ่งควรจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นระยะๆ)

 

แนวทางการจัดสัดส่วนพอร์ตลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ

 

ประเภทการลงทุน

ผลตอบแทนที่คาด

แบบอนุรักษ์นิยม

แบบสายกลาง

แบบชอบเสี่ยง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันชีวิต / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กรมธรรม์บำนาญ

4%

40%

30%

30%

เงินสด / เงินฝาก / ตั๋วแลกเงิน / บัตรฝากเงิน

2-3%

30%

20%

10%

พันธบัตร / หุ้นกู้ / กองทุนตราสารหนี้

4%

30%

20%

10%

หุ้น / กองทุนรวมหุ้น

+/- 20%

-

15%

30%

บ้านเช่า / หอพัก / อพาร์ตเมนท์ / อาคารพาณิชย์ให้เช่า

5-10%

-

15%

20%

รวม

4%

100%

100%

100%

 

และเพื่อให้เราได้เข้าใจรูปแบบ และข้อดี ข้อเสีย ในการลงทุนแต่ละประเภท ผู้เขียนจึงใคร่แจกแจงรายละเอียดให้ผู้อ่านได้เลือกลงทุนตามความชอบและความเหมาะสมของแต่ละคน

1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)

ข้อดี

- เก็บออมย่างเป็นระบบ

- ได้รับเงินสมทบจากบริษัทอีกเท่าหนึ่งเท่าตัวทุกเดือน

- ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษี หากสมาชิกทำงานจนเกษียณอายุ, พิการ หรือเสียชีวิต

- เงินสะสมของพนักงานได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี และยกเว้นภาษีสูงถึงปีละ 500,000 บาท

- เงินกองทุนแยกจากเงินทุนของบริษัทนายจ้าง จึงไม่สูญหาย แม้บริษัทล้มละลายไป

- เป็นเงินก้อนใหญ่จึงลงทุนได้หลากหลาย

- มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด และต้องมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเป็นผู้บริหารกองทุน

ข้อเสีย

- ไม่มีสภาพคล่องหากมีความจำเป็นใช้เงินต้องกู้เงินโดยใช้เงินสะสมเป็นตัวอ้างอิงซึ่งขึ้นกับนโยบายของแต่ละกองทุน หรือต้องลาออกจากกองทุน ซึ่งต้องรับภาระภาษีของเงินทั้งจำนวน

- หากมีการย้ายงาน หรือออกจากงาน ต้องออกจากกองทุนเดิม ทำให้การเก็บเงินขาดตอนเว้นแต่จะได้งานใหม่ทันที และมีการทำเรื่องโอนย้ายเงินเดิมเข้าไปในกองทุนของบริษัทใหม่

- เงินส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้ ดังนั้นผลตอบแทนการลงทุนอาจผันผวนภาวะดอกเบี้ยที่ขึ้นลงได้

2. ประกันชีวิต

ข้อดี

- เก็บออมอย่างเป็นระบบ

- ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนตลอดสัญญา

- ได้รับการคุ้มครองเต็มวงเงินทันทีที่เก็บออม

- มีสวัสดิการต่างๆ ให้ เช่น การรักษาพยาบาล เงินชดเชยชนิดต่างๆ

- ไม่เสียภาษี ทั้งเงินปันผลและเงินสินไหม

- ได้สิทธิลดหย่อนภาษีปีละ 100,000 บาท

- กฎหมายให้ความคุ้มครองสูง มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด หรือสิทธิในกรณีที่เสียชีวิต เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดเงินสินไหมเกินกว่าเบี้ยประกันที่ได้จ่ายไป

ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ หากมีความจำเป็นใช้เงิน ต้องกู้เงินจากรมธรรม์ หรือเวนคืนกรมธรรม์ ซึ่งมักจะขาดทุน (ถ้ายังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ดูได้จากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์)

- ผู้ลงทุนต้องมีอายุและสุขภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

- มีภาระฝากเบี้ยประกันทุกปี ตามสัญญา

- การเบิกสวัสดิการต่างๆ มีเงื่อนไขและข้อกำหนดเฉพาะ ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน

3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ข้อดี

- คนทุกสาขาอาชีพมีสิทธิเข้าร่วมกองทุนได้

- สามารถลงทุนได้ไม่จำกัดหน่วยลงทุน

- สามารถโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นได้

- เงินลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สูงถึง 500,000 บาทต่อปี

- ผลตอบแทนจากการลงทุน ได้รับการยกเว้นภาษี หากมีการลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปและผู้ลงทุนมีอายุถึง 55 ปี

ข้อเสีย

- ต้องเพิ่มเงินลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อปี หรือไม่ต่ำกว่า 3% ของเงินได้ (สามารถลงทุนปีเว้นปีได้)

- การลงทุนจะเป็นระยะยาวต่อเนื่อง ไม่มีการจ่ายเงินปันผล หรือผลประโยชน์ใดๆ ระหว่างการลงทุน จะจ่ายคืนแก่ผู้ลงทุนครั้งเดียว เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน

- หากไถ่ถอนก่อนผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปี จะต้องคืนภาษีที่ได้รับการลดหย่อนใน 5 ปี สุดท้ายและผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ ณ ปีที่ไถ่ถอน

- การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ว่าลงทุนหลักทรัพย์ประเภทใด

4. เงินสด

ข้อดี

- หยิบใช้ได้ตลอดเวลา

- ไม่กังวลเรื่องสถาบันการเงินล้ม

- ไม่มีข้อกำหนดตายตัวในการเก็บเงิน จะเก็บเท่าไร เมื่อไรก็ได้

ข้อเสีย

- ยุ่งยากในการจัดเก็บ เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม

- เงินไม่งอกเงย

- หามีมากๆ (มากกว่า 5 ล้านบาท) เสี่ยงต่อการถูกเพ่งเล็งว่าฟอกเงิน

5. เงินฝาก (ออมทรัพย์ / ประจำ)

ข้อดี

- เบิกถอนสะดวก

- มั่นคง

- ได้รับผลตอบแทนแน่นอน

- ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

- มีจำนวนเงินน้อยก็ฝากได้

ข้อเสีย

- มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เมื่อครบรอบการฝากเงิน (ROLLOVER RISK)

- ในอนาคต รัฐมีแนวโน้มจะยกเลิกการค้ำประกันเงินฝาก

- ผลตอบแทนต่ำ

- เสียภาษีดอกเบี้ย 15% (ฝากประจำ)

6. ตั๋วแลกเงิน, บัตรเงินฝาก (B/E, NCD)

ข้อดี

- ดอกเบี้ยสูง

- มั่นคง เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ออก หรือค้ำประกัน

ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ ต้องฝาก 1 ปีขึ้นไป

- หากต้องการใช้เงินก่อน ต้องขายลดราคา

- เสียภาษีดอกเบี้ย 15%

7. พันธบัตร

ข้อดี

- มั่นคง เนื่องจากรัฐเป็นผู้ออก

- โดยทั่วไปดอกเบี้ยจะสูงกว่าธนาคาร และรับรองดอกเบี้ยในระยะเวลาที่ยาวกกว่า

- ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ

- ถ้าต้องการขายก่อนครบกำหนดสัญญา จะมีความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เพราะถ้าหากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพิ่มขึ้น พันธบัตรที่อออกในช่วงก่อนหน้าราคาจะลดลง

- ตลาดพันธบัตรไม่ได้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ ถ้าต้องการใช้เงินเร็วๆ ก่อนครบกำหนด จะขายไม่ได้ราคา

- ใช้เงินลงทุนมาก

- เสียภาษีดอกเบี้ย 15%

8. หุ้นกู้

ข้อดี

- ดอกเบี้ยสูง

- รับรองอัตราดอกเบี้ยที่สูง หากเป็นหุ้นกู้แบบกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่

ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ

- เป็นการกู้ยืมไม่มีหลักประกันจึงมีความเสี่ยงในเรื่องการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย

- มีความผันผวนของราคา หากต้องการขายออกก่อนครบกำหนด

- ตลาดหุ้นกู้ ยิ่งไร้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะของบริษัทที่มีพื้นฐานอ่อน จะไม่ค่อยมีการซื้อขาย ทำให้ขายไม่ได้ราคา หรือไม่มีผู้รับซื้อ

- เสียภาษีดอกเบี้ย 15%

- ใช้เงินลงทุนมาก

9. กองทุนตราสารหนี้

ข้อดี

- บริหารผ่านมืออาชีพ

- มีเงินน้อยก็สามารถลงทุนได้

- ไม่เสียภาษี หากขายหน่วยลงทุนแล้วได้กำไร (CAPITAL GAIN)

- ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือตู้ ATM

ข้อเสีย

- มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวน จากการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย

- ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าโฆษณา แต่มักต่ำกว่าการเสียภาษี ถ้าลงทุนด้วยตัวเอง

- เงินปันผลต้องจ่ายภาษี 10%

10. หุ้นสามัญ

ข้อดี

- ผลตอบแทนสูงมาก หากลงทุนได้ถูกจังหวะ ทั้งในส่วนของกำไรจากราคาที่เพิ่มขึ้น และเงินปันผล

- กำไรจากราคาซื้อขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี

- มีสินค้าให้เลือกลงทุนมากมาย ทั้งประเภทธุรกิจ, ขนาดราคาหุ้น หรือลักษณะการเหวี่ยงตัวของราคา

- มีสภาพคล่อง ซื้อขายได้ทุกวันทำการ

ข้อเสีย

- เสี่ยงสูง อาจไม่ได้รับเงินต้นคืน หรือขาดทุนจำนวนมาก

- จะได้รับเงินปันผลก็ต่อเมื่อบริษัทมีผลกำไร

- ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา

- ราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียว แต่ขึ้นกับภาวะตลาดรวม และจิตวิทยาฝูงชนด้วย

- เงินปันผลต้องเสียภาษี 10% หัก ณ ที่จ่าย แต่สามารถนำมาเครดิตภาษีคืนได้บางส่วน เวลาเสียภาษีบุคคลธรรมดา

11. กองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น, วอร์แรนท์)

ข้อดี

- ใช้เงินจำนวนน้อยก็ลงทุนได้

- ได้ผลตอบแทนสูง หากภาวะตลาดหุ้นดี

- บริหารโดยมืออาชีพ มีการกระจายลงทุนในหุ้นพื้นฐาน

- ไม่เสียภาษีจากำไรของราคาหน่วยลงทุน

- ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา

ข้อเสีย

- มีความเสี่ยง เนื่องจากลงทุนในหุ้นสามัญเป็นหลัก

- เงินปันผลที่ได้รับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

- ผลตอบแทนจากการลงทุนต้องหักค่าใช้จ่ายในการบริหารก่อน

- เนื่องจากเน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานดังนั้นผลตอบแทนจึงขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก

12. บ้านเช่า / หอพัก / แฟลต / อาคารพาณิชย์ให้เช่า / อพาร์ตเมนท์

ข้อดี

- มีรายได้เข้ามาทุกเดือน และราคาปรับขึ้นได้ในอนาคต

- ราคาอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสสูงขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะการซื้อในช่วงนี้ที่ยังมีราคาต่ำ

ข้อเสีย

- ลงทุนสูง หรือมีภาระผ่อนนาน

- สภาพคล่องต่ำ ต้องรอจังหวะขายหากต้องการเงินต้นคืน

- มีความเสี่ยงเรื่องหาคนมาเช่า

- มีภาระในการบริหาร ตามเก็บค่าเช่า หรือซ่อมแซม บำรุงรักษา

หมายเหตุ : อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ ต้องมั่นใจว่าอัตราการเข้าพักหรือเช่าต้อง 80% ขึ้นไป

- การลงทุนต้องซื้อด้วยเงินสด หากใช้เงินดาวน์ ค่าเช่าที่ได้รับต้องใกล้เคียงกับเงินผ่อนในแต่ละเดือน หรือมากกว่า

13. ทองคำ

ข้อดี

- ซื้อขายง่าย

- เป็นหลักทรัพย์ที่ยอมรับกันทั่วโลก ดังนั้น ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทองคำจะเป็นแหล่งพักเงิน ทำราคาขยับสูงขึ้นได้

- ในช่วงอัตราเงินเฟ้อสูง เช่น ภาวะสงคราม จะมีราคาสูง

ข้อเสีย

- มีแนวโน้มด้อยค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกลดความนิยมในการใช้ทองคำเป็นทุนสำรองชองประเทศ

- เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม

14. กรมธรรม์บำนาญ

ข้อดี

- มีหลักประกันว่าเราจะมีเงินใช้ยามเกษียณแน่นอน

- ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุนในอนาคต

- เป็นการจัดสรรเงินที่เป็นระบบน่าเชื่อถือ

- ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยการลดหย่อนภาษีให้ถึง 200,000 บาท

- สบายใจว่าคู่สมรสของเรามีเงินเลี้ยงดู แม้เราจะไม่อยู่แล้ว

ข้อเสีย

- เมื่อเริ่มรับเงินบำนาญแล้ว ยกเลิกไม่ได้

- หากผู้ซื้อมีอายุสั้น อาจทำให้ได้รับเงินบำนาญคืนน้อยกว่าที่จ่ายออกไป

- อัตราเงินเฟ้ออาจทำให้เงินที่ได้ในอนาคตมีกำลังซื้อลดลง

- ต้องสะสมเงินเป็นเวลายาวนานกว่าจะได้ใช้เงิน (อย่างต่ำต้องถึงอายุ 55 ปี)

บทสรุป

เมื่อท่านได้ลงมือหว่านไถแล้ว จากนั้นต้องคอยติดตามดูแลเป็นระยะๆ รอดอกผลให้งอกเงย จนเมื่อมันเป็นผลไม้ยืนต้นใหญ่แล้ว ท่านก็สามารถเก็บเกี่ยวผลไปได้ตลอดชีวิต



ที่มา : คู่มือการวางแผนการเงิน, สมาคมประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน      17/11/2554

____________________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 5    การวางแผนการเงิน Part 3

การวางแผนมรดก (Estate Planning)

คือ กระบวนการวางแผนจัดการ ส่งผลต่อทรัพย์สินในยามที่เสียชีวิตให้เป็นไปตามความต้องการของเรา..

 

ทำไมต้องวางแผนมรดก

  1. เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินของเราจะถูกส่งต่อให้ทายาทคนที่เราต้องการอย่างครบถ้วน
  2. เพื่อให้กระบวนการส่งต่อเป็นไปอย่างราบรื่น และรวดเร็ว
  3. เพื่อให้กระบวนการส่งต่อมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด สูญเสียน้อยที่สุด
  4. เพื่อป้องกันปัญหาความวุ่นวายของทายาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  5. เพื่อให้มั่นใจว่าคนที่จะมาดูแลบุตรแทนเราคือคนที่เราไว้วางใจมากที่สุด

เมื่อเราจากไปสิ่งที่เราทิ้งไว้ให้ทายาทประกอบด้วย

  1. ทรัพย์สิน รวมถึงลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
  2. หนี้สิน โดยทายาทจะรับผิดจำกัดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับ
  3. สิทธิ เช่น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเงินกู้ แต่ไม่รวมถึงสิทธิเฉพาะตัวที่หมดไปเมื่อบุคคลเสียชีวิต
  4. หน้าที่ เช่น ยังคงต้องให้เช่าทรัพย์ต่อ ตามสัญญาเช่าที่ผูกพันเจ้ามรดกอยู่ และยังไม่ครบกำหนดสัญญา

ขั้นตอนการวางแผนมรดก

  1. จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน หนี้สิน
  2. แยกสินสมรส และสินส่วนตัว
  3. กำหนดหาวิธีการจัดการหนี้สินที่ยังเหลือ
  4. รวบรวมค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากเสียชีวิต
  5. เลือกวิธีการส่งต่อทรัพย์สินที่เหลือ โดยจัดสรรตามลำดับขั้นทายาทหรือจัดสรรตามพินัยกรรม

กรณีที่เราจากไปโดยไม่ได้พินัยกรรมไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่ไม่มีใครทราบ ทรัพย์สินของเราจะถูกจัดสรให้แก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

  1. ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร (รวมถึงบุตรบุญธรรม และบุตรนอกสมรส) หรือ หลาน หรือ เหลน โดยคู่สมรสได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร
  2. บิดา มารดาที่แท้จริง (บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิ์)
  3. พี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

หลักการแบ่งทรัพย์มรดก

  1. ถ้าผู้ตายมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก่อน (สินสมรส)
  2. คู่สมรสได้สิทธิรับมรดกเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร
  3. บิดามารดาที่แท้จริง (บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิ) ถ้ายังมีชีวิตอยู่ หากผู้ตายมีบุตร คู่สมรส บุตร บิดา มารดา ได้รับส่วนแบ่งคนละเท่าๆ กัน หากผู้ตายไม่มีบุตร คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง บิดาและ/หรือมารดาได้รับส่วนแบ่งอีกครึ่งหนึ่ง
  4. ถ้ามีทายาทลำดับ 1 และ/หรือลำดับ 2 ทายาทลำดับอื่นๆ จะไม่มีสิทธิรับมรดก
  5. ถ้าผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังมีชีวิตอยู่ แม่ผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกเสมอ

ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ให้ศึกษาจากกฎหมายมรดก เนื่องจากมีความซับซ้อนที่ต้องทำความเข้าใจมาก

 

ข้อเปรียบเทียบระหว่างสินส่วนตัวและสินสมรส

 

สินส่วนตัว

สินสมรส

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับ เครื่องทำมาหากินที่ได้มาในระหว่างสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาในระหว่างสมรส (การสมรสเปรียบเสมือนเป็นการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ)

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยทางมรดก หรือ โดยเสน่หาในระหว่างสมรส

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยทางมรดกหรือโดยเสน่หาในระหว่างสมรส ซึ่งเป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น

 

 

สิทธิและส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของคู่สมรสกับทายาทลำดับชั้นต่างๆ

 

ลำดับชั้นทายาท

คู่สมรส

1. ผู้สืบสันดาน

แบ่งคนละเท่าๆ กัน

2. บิดามารดา

หากมีบุตร ได้รับคนละเท่าๆ กัน

หากไม่มีบุตร คู่สมรสได้รับเครื่องหนึ่ง

3. พี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน

คู่สมรสได้รับครึ่งหนึ่ง

4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

คู่สมรสได้รับ 2 ใน 3 ส่วน

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

คู่สมรสได้รับ 2 ใน 3 ส่วน

6. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสได้รับ 2 ใน 3 ส่วน

ไม่มีทายาท

คู่สมรสได้ทั้งหมด

 

ขณะที่พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาหรือคำสั่งเสีย และความตั้งใจครั้งสุดท้ายที่จะยกทรัพย์สินหรือวางข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือวางข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนก่อนตาย เพื่อให้การแสดงเจตนานั้นมีผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อตนเองถึงแก่ความตายแล้ว

 

ข้อควรทราบเกี่ยวกับพินัยกรรม

  1. เป็นเจตนารมณ์ก่อนตายของเจ้ามรดก
  2. ผู้รับมรดกจะเป็นหรือไม่เป็นทายาทโดยธรรมก็ได้
  3. ระบุถึงการจัดสรรปันส่วนทรัพย์สิน หนี้สิน ให้กับบุคคลต่างๆ
  4. กำหนดการจัดการกับทรัพย์สินต่างๆ
  5. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคคล
  6. กำหนดผู้จัดการมรดก
  7. พินัยกรรมต้องทำไว้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  8. ผู้ที่ทำพินัยกรรมจะต้องไม่เป็นผู้ที่ไร้ความสามารถตามที่กฎหมายห้ามไว้
  9. พินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อเจ้ามรดก และระบุวัน เดือน ปี สถานที่ในการทำพินัยกรรมด้วย

พินัยกรรมจะตกไป ใช้บังคับไม่ได้ ในกรณีต่อไปนี้

  1. ผู้รับมรดกตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
  2. หากพินัยกรรมมีข้อกำหนดว่าจะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง แต่ผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้
  3. ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
  4. ทรัพย์สินที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลาย โดยผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้มาซึ่งของทดแทนหรือซึ่งสิทธิจะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายไป

ทายาทอาจมีสิทธิไม่ได้รับมรดก จากกรณีต่อไปนี้

  1. การตัดไม่ให้รับมรดก โดยเจ้ามรดกทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายอำเภอหรือทำเป็นพินัยกรรม
  2. การสละมรดก โดยผู้รับมรดกทำเป็นหนังสือสละมรดก
  3. การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก จากการที่ทายาทประพฤติตนไม่สมควร เช่น ฆ่า / ข่มขู่เจ้ามรดก หรือทายาทยักย้ายทรัพย์มรดก

ผู้จัดการมรดก คือ ผู้ที่มีหน้าที่จัดการกองทรัพย์มรดกต่างๆ ของผู้ตาย รวมทั้งการติดตามทวงหนี้ หรือชำระหนี้สินให้กับกองมรดกแล้วจึงจัดการแบ่งทรัพย์สินที่ยังเหลือให้แก่ทายาท

การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ตามกฎหมายทำได้ 2 วิธี คือ

  1. ผู้จัดการมรดกที่แต่งตั้งโดยพินัยกรรม
  2. ผู้จัดการมรดกที่แต่งตั้งโดยศาล

มรดกกับภาษี

  1. มรดกที่เป็นเงินสดหรือสังหาริมทรัพย์ เมื่อรับมาแล้วขายออกไป ไม่มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้
  2. มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อรับมาแล้วขายออกไป ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทั้งสอง ข้อนี้ ให้ใช้บังคับทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม

กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

  1. เป็นหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีแทนกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง คือผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก
  3. มีค่าลดหย่อน 30,000 บาท

กรมธรรม์ประกันชีวิต ในฐานะเครื่องมือวางแผนมรดก

  1. คล้ายกับเป็นมรดกชนิดหนึ่ง
  2. ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์และส่วนแบ่งแน่นอน
  3. จ่ายสินไหมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนศาล
  4. ไม่มีภาระภาษี

ในอนาคตหากมีการเก็บภาษีมรดก การออมเงินในกรมธรรม์ประกันชีวิตก็เป็นวิธีหนึ่งที่ประหยัดภาษีได้ (ประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีมรดกในอัตราสูง วิธีที่จะช่วยประหยัดภาษีได้คือ นำเงินไปเก็บออมในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์ไม่ต้องเสียภาษี)

บทสรุป

การที่เราได้มีการวางแผนมรดกไว้ล่วงหน้า ย่อมดีกว่าการไม่มีการเตรียมการนอกจากจะให้ความสงบสุขทางใจแล้วว่า ในอนาคต ทรัพย์สินของเราจะได้มีการจัดสรรให้ตรงกับใจของเรา ทั้งยังเป็นหนทางในการลดทอนค่าใช้จ่ายหรือความยุ่งยากที่ทายาทของเราจะได้รับในสิ่งที่เราทุ่มเทสั่งสมมา เรียกได้ว่า ทำไปแล้วก็นอนตาหลับ

 

 

 

คำถามยอดนิยม (FAQ)

1. การวางแผนการเงิน คืออะไร? ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ หน่อย

การวางแผนการเงิน คือ การวางแผนเกี่ยวกับเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งเป้าหมายมีได้ตั้งแต่เป้าหมายระยะสั้น เช่น การควบคุมค่าใช้จ่ายการลดหนี้ การวางแผนภาษีเป้าหมายระยะกลาง เช่น การเก็บเงินซื้อรถ การเตรียมเงินแต่งงาน การซื้อประกันชีวิต ไปจนถึงเป้าหมายระยะยาว ซึ่งได้แก่ การเตรียมเงินเกษียณอายุ การเตรียมทุนการศึกษาของลูก หรือการเตรียมพินัยกรรม เพื่อให้มั่นใจว่ามรดกจะตกทอดให้กับคนที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ขึ้นกับเราว่าจะให้ความสำคัญเรื่องอะไร เราก็วางแผนเตรียมการให้พร้อมในเรื่องนั้น หรือจะวางแผนหลายๆ เรื่องไปพร้อมกันเลยก็ได้ ถ้าเรามั่นใจว่าเราทำได้

 

2. การวางแผนการเงิน ส่วนใหญ่มีหลักการว่าอย่างไร

การวางแผนการเงิน เปรียบไปก็เหมือนการเดินทาง ที่เรามักจะมีจุดหมายปลายทางแล้วว่าเราจะไปไหน จะมีแวะเที่ยวระหว่างทางที่ไหนบ้าง ไม่ว่าเราจะมีเป้าหมายอย่างไร เราก็ต้องเริ่มจากการกำหนดให้ได้เสียก่อน ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ตำแหน่งไหน หรือเดินทางถึงไหนแล้ว ระยะทางห่างจากจุดหมายปลายทางเท่าไร ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยเพียงไร เราเองมีกรอบของเวลามาควบคุมไหม

จากนั้นจึงมาแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุด ว่าจะใช้เส้นทางใด ใช้พาหนะอะไร ด้วยความเร็วเท่าไร ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงความปลอดภัย มีแผนสำรองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และต้องมีการปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในอนาคตเป็นระยะๆ

ฉันใดฉันนั้น การวางแผนการเงิน ต้องเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะวางแผนเรื่องอะไร มีกี่เป้าหมาย ต้องใช้จำนวนเงินเท่าไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น จากนั้นต้องคำนวณให้ได้ ว่าตอนนี้สถานะการเงินของเราอยู่ที่ใด โดยการดูกระแสเงินเข้าออก หักลบจำนวนสินทรัพย์กับหนี้สิน เพื่อให้รู้ยอดสะสมสุทธิของเรา นำยอดเงินสะสมที่มีอยู่ ไปหักออกจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราก็จะได้ยอดเงินที่ยังขาดอยู่

เมื่อรู้ยอดที่ขาด เราสามารถคำนวณได้ว่า เราควรเก็บเงินเดือนละเท่าไร ปีละเท่าไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และแน่นอนว่า หากอยากให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น เราต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย วางแผนประหยัดภาษี และวางแผนลงทุนให้เงินงอกเงยเร็วขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน ต้องมีการสำรองแผนกันความเสี่ยง โดยการกระจายการลงทุน และทำประกันภัยให้ครอบคลุมความเสี่ยงหลักๆ จากนั้นต้องคอยปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในอนาคต

 

3. ที่ปรึกษาการเงิน ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าอะไรกันแน่?

ชื่อเรียก “ที่ปรึกษาทางการเงิน” ในภาษาอังกฤษมีอยู่หลายคำ เช่น Financial Advisor, Financial Planner, Financial Consultant หรือ Financial Practitioner ทุกคำมีความหมายใกล้เคียงกัน คือเป็นที่ปรึกษา คอยให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารเงิน การลงทุน การทำประกัน การวางแผนภาษี การวางแผนการเกษียณ รวมถึงการวางแผนมรดก

ในบางครั้ง ยังมีการใช้ชื่อเรียกที่เฉพาะเจาะจงลงไป ตามตำแหน่งหน้าที่ที่ทำ เช่น Tax Planner, Mortgage Advisor, Investment Counselor, Senior Specialist, Annuity Advisor, Estate Planner, Employee Benefit Specialist หรือแม้กระทั่ง Divorce Financial Analyst ทั้งหมดล้วนถือว่าเป็นที่ปรึกษาการเงินทั้งสิ้น เพียงแต่ใครจะเชี่ยวชาญทางด้านใดมากกว่ากัน

แต่ชื่อเรียกที่เป็นคำสามัญที่ใช้กันทั่วไป และนิยมใช้กันมากที่สุดทั่วโลก คือคำว่า Financial Advisor

เช่นเดียวกับคำว่า “แพทย์” มีคำเรียกได้หลายอย่าง เช่น หมอ, ผู้รักษา, ผู้ประกอบโรคศิลป์. ผู้บำบัด และยังมีชื่อเรียกที่เฉพาะเจาะจงลงไปตามหน้าที่ที่ปฏิบัติ เช่น ศัลยแพทย์, วิสัญญีแพทย์, อายุรแพทย์ หรือสุตินารีแพทย์

แต่คำเรียกที่เป็นคำสามัญที่ใช้กันทั่วไป คือคำว่า “แพทย์”

ส่วนคำว่า Financial Adviser ก็มีใช้เหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลายเท่าคำว่า Financial Advisor ที่เป็นคำอเมริกัน ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่าอเมริกาเป็นผู้นำโลก ผู้นำทางการเงิน ทุกคนจึงให้เกียรติและใช้ตามๆ กันมา

 

4. Wealth Management ต่างกับคำว่า Financial Planning อย่างไร?

Financial Planning แปลว่า การวางแผนการเงิน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรื่อง การออม ภาษี การลงทุน การประกัน การเกษียณอายุ และการวางแผนพินัยกรรม ขณะที่ Wealth Management แปลว่า การบริหารความมั่งคั่ง ซึ่งจะเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้งอกเงย เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งและมั่งคงยิ่งขึ้น การบริหารความมั่งคั่ง ก็คือ การวางแผนการเงินสำหรับคนรวยนั่นเอง

“Wealth Management is the financial planning for the wealthy.”

 

5. เราควรใช้บริการของที่ปรึกษาทางการเงินหรือไม่?

ในโลกที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน เราต้องเผชิญกับเรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องครอบครัว, หน้าที่การงาน หรือกิจกรรมทางสังคม ในขณะเดียวกัน ตลาดการเงินก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งระเบียบ กติกา ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ความผันผวนของตลาด และข้อมูลที่ขัดแย้งกันเองจากสื่อต่างๆ การตัดสินใจที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคล

ที่ปรึกษาทางการเงิน จะแนะนำแนวทางเพื่อการวางแผน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย, การรวบรวมข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล, คำแนะนำในการแก้ปัญหา ที่สำคัญที่สุด คือ การนำแผนไปประยุกต์ใช้ และการติดตามผล

ที่ปรึกษาของเราจะช่วยให้เราเก็บเงิน, ใช้จ่าย, ลงทุน, ทำประกัน และวางแผนได้อย่างชาญฉลาด เพื่อบรรลุฝันที่เราวางไว้

ที่ปรึกษาการเงิน คือ คนที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการวางแผนการเงินมาโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีข้อกำหนดให้อบรมเพิ่มเติมทุกปี เพื่อให้ตามทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโลกการเงิน จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องการเงินมามากพอ, รู้ขั้นตอนการวางแผน, มีเวลาพอที่จะติดตามข่าวสารต่างๆ เราก็สามารถวางแผนการเงินของเราเองได้ อีกทั้งปัจจุบันมีหนังสือและโปรแกรมคำนวณเงินออม ที่ช่วยให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าเรายังไม่มั่นใจ, ไม่มีประสบการณ์, ไม่มีข้อมูลมากพอที่จะตัดสินใจ การเลือกใช้ที่ปรึกษาการเงินย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ถึงแม้อาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมไปบ้าง แต่คิดแล้วคุ้มค่า เมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากเราเกิดตัดสินใจผิดพลาด

ที่มา : คู่มือการวางแผนการเงิน, สมาคมประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน      17/11/2554

_____________________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน  เรื่องที่ 6

17 ไอเดียปรับพฤติกรรมใช้จ่ายยุค'ของแพง'

 

สห ประชาชาติ (ยูเอ็น) ห่วงราคาอาหารโลกพุ่ง 2-3 ปีข้างหน้า เพราะผลกระทบจากสภาพอากาศโลกเข้าขั้นวิปริต ขณะที่ความต้องการอาหารทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ของยูเอ็นไม่ เกินจริง เมื่อเหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของไทย เป็นอีกตัวอย่างส่งผลกระทบลูกโซ่สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้ผู้ประสบภัย น้ำท่วมถูกกลุ่มคนฉวยโอกาส นำไปใช้บิดเบือนดันราคาอาหารจำเป็นต้องกินสินค้าต้องใช้ ซึ่งปกติราคาไม่เคยถูกลงอยู่แล้ว อย่างเช่นน้ำดื่มกับไข่ไก่ กลับถูกกักตุนขายในราคาสูงเกิน 100%


และอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทยครั้งนี้ น่าจะเป็นบทเรียนให้คนไทยทั้งในและต่างประเทศ ต้องตื่นตัวฉุกคิดปรับตัวต่อเนื่อง เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้จ่ายเงินซื้อของกินของใช้ให้ได้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันสู้ราคาสินค้าอาหารที่หาทางลงไม่เจอและมีแต่จะ ขึ้น Fundamenatals ฉบับนี้จึงขออาสาหาไอเดียคุมรายจ่ายของต่างชาติ หวังช่วยคนไทยดึงมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

1. ฉลาดกินฉลาดใช้
ท่าม กลางแนวโน้มราคาอาหารของกินของใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของมนุษย์ นอกเหนือจากที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าและยารักษาโรคแล้ว อินเวสโทปิเดีย ดอท คอม เชื่อว่าเป็นความท้าทายทำให้ประชากรทั่วโลก รวมทั้งคนไทยทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลางถึงต่ำต้องฉุก คิดถึงต้นทุนต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้มาก
ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ซื้อหรือการ "ชอปปิง" ในห้างขายสินค้าของกินของใช้จำเป็นให้ราคาส่วนลด แทนที่จะเดินห้างสรรพสินค้าใหญ่ใจกลางกรุง หรือให้ความสนใจกับเสื้อผ้าราคาธรรมดา และอาศัยในอพาร์ตเมนต์เล็กๆ มากกว่าพักอยู่ในแมนชั่นหรูขนาดใหญ่โต กลับช่วยลดภาระปัญหาการใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย


ดังนั้น ในภาวะราคาอาหารวัตถุดิบมีแต่จะขึ้น อินเวสโทปิเดียจึงรวบรวมไอเดียน่าสนใจจากฝั่งตะวันตกมาฝาก หวังช่วยคนไทยทั่วโลกยังมีกินมีใช้ด้วยความพอเพียง ในราคาที่แปรเปลี่ยนเป็นรายจ่ายซึ่งสามารถคุมได้ไม่บานปลายกระเป๋าแฟบ

2. กินข้าวบ้าน
การกินข้าวนอกบ้านบ่อยๆ เป็นประจำ เป็นพฤติกรรมทำให้จ่ายแพง และยังเกี่ยวกับมื้ออาหารว่ามีคุณค่าหรือไม่สำหรับคนในครอบครัว เพราะอาหารหลายอย่างสามารถซื้อหาวัตถุดิบได้ในราคาสมเหตุสมผล ให้คุณค่าประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถปรุงแต่งทำเองที่บ้านได้ และแม้แต่กาแฟที่อดกินไม่ได้นั้น จริงๆ แล้วก็ทำได้ด้วยตัวเองในราคาถูกกว่า


ส่วนอาหารจานด่วน หรือ "จังค์ฟู้ด" อาหารขยะนอกบ้าน มีทั้งแคลอรีสูง คุณภาพอาหารต่ำ อาจซื้อหาได้ง่ายในราคาให้ส่วนลด แต่คิดให้ดีถึงผลกระทบเกิดกับสุขภาพของตัวเองในระยะยาวให้มาก และผลกระทบก็มากกว่าประโยชน์ระยะสั้นจากราคาซื้อหามาได้ก็ถูกกว่าเล็กน้อย

3. ช้อปมีแผน
หากคุณเดินนานในร้านของชำ และหยิบสินค้าทุกอย่างที่ขวางหน้าใส่ลงรถเข็น ย่อมมีโอกาสที่ล่อลวงใจตัวเองให้ใช้จ่ายเงินได้มากกว่าที่จำเป็นต้องใช้ ดังนั้นเพื่อปล่อยเงินสดออกจากกระเป๋าตัวเองให้น้อยที่สุด คุณต้องลิสต์รายการของต้องช้อปก่อนเดินออกจากบ้าน


วางแผนกำหนดรายการอาหารทุกสัปดาห์ ให้ระมัดระวังกับการบันทึกสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ เพื่อไม่ให้ขาดตกรายการวัตถุดิบต้องใช้ปรุงอาหาร และเพื่อไม่ให้เหลือใช้เกินจำเป็น เมื่อทำลิสต์รายการของกับวัตถุดิบต้องซื้อในแต่ละสัปดาห์แล้ว ขอให้ทำตามที่ลิสต์ไว้ ซื้อเฉพาะรายการของกินของใช้กำหนดไว้ เลี่ยงซื้อสิ่งล่อตาล่อใจอื่นนอกลิสต์

4. เลี่ยงมุมล่อใจให้จ่าย
ตามร้านขายของชำหรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ถูกออกแบบมาเพื่อล่อลวงให้คุณเดินวนไปวนมา กว่าจะไปถึงสินค้าของกินของใช้จำเป็น เพื่อล่อตาล่อใจหวังให้ผู้ซื้อหยิบของเกินความต้องการที่แท้จริงสักชิ้นสอง ชิ้นตามรายทาง
ขอเพียงเดินตามแผน ตามลิสต์สินค้าของกินของใช้ที่มีอยู่  คุณก็จะไม่ถูกโน้มน้าวใจให้อยากหยิบสินค้าที่เป็นอาหารขยะ สิ่งของจำเป็นกับรายการของต้องใช้ปรุงอาหารส่วนใหญ่ พบหรือหาเจอได้บริเวณรอบนอกร้าน จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ซื้อจะเริ่มต้นจากพื้นที่รอบนอกก่อน และซื้อตามรายการให้เสร็จ


5. อิ่มท้องก่อนช้อป
นึกไว้เสมอว่า เมื่อท้องร้องขณะที่ตัวเองอยู่ในสถานที่เต็มไปด้วยอาหาร ย่อมมีแนวโน้มอย่างมากที่ทำให้คุณรีบซื้อของกินของใช้เกินจำเป็น ซึ่งราคาอาจแพงจนต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเกินงบที่ตั้งไว้ตามแผน ดังนั้นหากคิดคุมรายจ่ายให้ได้ตามงบหรือจ่ายให้น้อยกว่างบที่ตั้งไว้ คุณควรกินให้อิ่มเต็มท้องก่อนช้อป


6. เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
ด้วยสังคมเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วกับชีวิตผู้คนที่รีบร้อน กระตุ้นให้ร้านของชำกับร้านสะดวกซื้อหันมาลงทุนทำอาหารสำเร็จรูปขายมากขึ้น อาหารปรุงสำเร็จหาซื้อง่าย แต่สังเกตให้ดีราคาติดป้ายไว้ก็บวกต้นทุนกับส่วนต่างไว้ไม่น้อย ที่สำคัญอาหารหลายอย่างใช้วัตถุดิบหาได้ไม่ยาก
ดังนั้นแทนที่จะหยิบผัด ผักที่มีผักน้อยอย่างและเนื้อน้อยชิ้นอีกทั้งเป็นเนื้อติดมัน คุณสามารถเลือกผักสดกับประเภทเนื้อที่เป็นเนื้อจริงๆ อย่างที่ตัวเองชอบ พร้อมเครื่องปรุงสำเร็จสามารถต้มหรือผัดได้เลย เพียงแต่เสียเวลาไม่มากเพื่อล้างเพื่อหั่นหรือหมักเท่านั้น


ขอให้เลี่ยงอาหารแช่แข็ง เลือกซื้อวัตถุดิบของสดดีมีคุณภาพ มาลองทำพัฒนารสชาติให้เข้ากับความชอบของตัวเอง ความสม่ำเสมอในการทำและการลอง จะช่วยให้คุณเคยชินกับการปรุงอาหารหลากหลายประเภท ซึ่งเป็นเมนูทำได้ไม่ยากจ่ายในราคาสมเหตุสมผล

7. หาเครื่องกรองน้ำไว้ใช้
หากคุณมีศักยภาพการเงิน การเลือกซื้อหาเครื่องกรองน้ำ ในราคาสมเหตุสมผลไว้ใช้ เป็นทางเลือกที่ดีช่วยประหยัดรายจ่ายซื้อน้ำดื่มน้ำกินไว้ใช้ได้ในระยะยาว  เมื่อเทียบราคาเป็นต้นทุนน้ำแต่ละแกลลอนหรือน้ำขวดแต่ละโหลที่สั่งซื้อในแต่ ละปี ย่อมแพงกว่าหรือต้นทุนสูงกว่าน้ำที่มีกินมีกรองไว้ใช้ตลอดทั้งปี และการไม่ใช่ขวดพลาสติกหรือขวดน้ำแกลลอนมากมาย เป็นการช่วยลดขยะรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทาง


8. ไม่พาเด็กเล็กเดินช้อป
ความหิวกับ ความเหนื่อยและนิสัยชอบของเล่นของกินแปลกๆ ใหม่ๆ ของเด็ก ทำให้คุณใช้เวลาและเหน็ดเหนื่อยกับการเดินช้อปหาซื้อของกินของใช้ที่จำเป็น ตามรายการที่จดไว้ให้เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ให้คิดเสมอว่าทุกนาทีที่ใช้เวลานานเกินไปในร้านขายของชำหรือร้านสะดวกซื้อ ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณอดหยิบฉวยรายการสิ่งของอื่นๆ นอกรายการได้มากขึ้น


9.ซื้อล็อตใหญ่
การซื้อของกินของใช้แบบล็อตใหญ่ สามารถช่วยคุณประหยัดเงินได้มากมาย ขอให้สนใจอยู่กับเรื่องของราคาและเลือกซื้อสินค้าบรรจุกล่องหรือถุงที่มี ขนาดสำหรับครอบครัว การซื้อลักษณะนี้ทำได้หากช่วยให้ราคาซื้อต่อหน่วยต่ำลง และที่สำคัญต้องมีพื้นที่จัดเก็บของในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติได้
ใน สหรัฐการช้อปสินค้าจากผู้ค้าปลีก อย่าง Sam's Club และ Costco โดยซื้อเป็นกล่องหรือถุงใหญ่ๆ สามารถประหยัดรายจ่ายให้คนไทยในอเมริกาได้เช่นกัน ยิ่งช้อปในร้านค้าปลีกทั้งสองแห่งบ่อยมากพอ จะช่วยให้ได้ส่วนลดมากขึ้นและมากพอชดเชยต้นทุนสมัครสมาชิกร้านด้วย


อย่างไรก็ตาม ขอให้สนใจการปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายเป็นสำคัญ รวมทั้งให้สังเกตเปรียบเทียบราคาการซื้อล็อตใหญ่ร้านหนึ่งกับร้านอื่นๆ ด้วย

 

10. ใช้บัตรคืนกำไร
หากร้านที่ไปซื้อบ่อยที่สุด เสนอบัตรคืนกำไรให้ลูกค้า ให้ดูเงื่อนไขต่างๆ จนแน่ใจก่อนแล้วค่อยเซ็นชื่อ เพราะบางกรณีร้านค้าหลายแห่งพากันขึ้นราคา เมื่อเสนอให้บัตรคืนกำไร และถ้าไม่มีบัตรใช้ในการซื้อย่อมแน่นอนว่าราคาสินค้าสูงขึ้น
และกรณี ที่บัตรคืนกำไรเสนอผลประโยชน์อื่นๆ เช่น แถมแฮมสำหรับเทศกาลวันหยุด หรือให้ราคาส่วนลดเมื่อเติมน้ำมัน ขอให้แน่ใจก่อนว่าตัวเองจะได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยการใส่ใจกำหนดวันสุดท้ายให้ส่วนลด และนำคะแนนมาใช้แทนเงินสดก่อนหมดอายุ


11. ใช้คูปองประหยัดเงิน
คูปองเป็นอีกหนทางง่ายๆ ช่วยคุณประหยัดเงิน ตัดและเก็บไว้เพื่อใช้แทนเงินสด และยิ่งห้างสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำแห่งใด เสนอมูลค่าคูปองแบบทวีคูณก็ไม่ควรพลาดที่จะสะสมหรือติดตามโฆษณาของห้างหรือ ร้านนั้นๆ
ปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายเสนอกลยุทธ์คูปองพิเศษแทนเงินสด และเว็บไซต์เหล่านี้เป็นแหล่งที่ดีที่คุณสามารถค้นหารายการสินค้าที่ต้องการ กินหรือใช้ ซึ่งเป็นสินค้าให้ราคาส่วนลด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเว็บไซต์สินค้าซึ่งเป็นแบรนด์ลูกค้าทั่วไปชื่นชอบ ผู้ผลิตสินค้ามักเสนอให้ส่วนลดกับลูกค้าภักดีต่อแบรนด์ ดังนั้น การเสียเวลาไม่กี่นาที สามารถทำให้รายจ่ายของคุณลดลงไม่มากก็น้อย


12.ซื้อสินค้าผลิตในท้องถิ่น
อาหารหรือของใช้ ผลิตในพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่มักขายในราคาถูก เพราะไม่ต้องจ่ายแพงเป็นค่าขนส่งระยะทางไกล ยิ่งอยู่ใกล้ตลาดซึ่งเกษตรกรมารวมพลขายตรงให้ผู้บริโภค งานแฟร์และสินค้าวางขายตามทาง ใกล้กับร้านขายของชำหรือร้านสะดวกซื้อ นอกจากต่อรองราคาซื้อหาในราคาถูกได้แล้ว คุณยังได้ของสดผลิตใหม่ๆ ให้เลือกซื้อได้ด้วย


13.ดูชั้นวางสินค้าให้ทั่วถึง
ร้านขายของชำกับ ร้านสะดวกซื้อ มักวางสินค้าราคาแพงสุดไว้บนชั้นที่อยู่ระดับสายตา ขอให้เสียเวลามองหาสินค้าราคาถูกกว่าหรือแพงน้อยกว่า ซึ่งอาจวางบนชั้นที่อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่า และแทนที่จะซื้อแต่สินค้าอาหารแบรนด์เนมที่ปกติมองหาและหยิบขึ้นมาทันที คุณควรยอมเสียเวลาสักนิดเพื่อลองดูแบรนด์อื่นๆ เป็นทางเลือกช่วยให้จ่ายในราคาถูกกว่าไว้บ้าง 
และแบรนด์อื่นๆ ที่อาจไม่ใช้แบรนด์นิยมสำหรับคุณ แต่สินค้าอาหารแบรนด์อื่นๆ เหล่านี้มักผลิตจากโรงงานหรือแหล่งเดียวกัน ดังนั้นคำแนะนำนี้ คืออย่ามองหรือให้ความสำคัญเพียงแต่รูปลักษณ์หีบห่อภายนอก เพราะสิ่งที่คุณต้องการอย่างแท้จริงคือผลผลิตอยู่ในภายในหีบห่อเหล่านั้น

14.สังเกตวันหมดอายุ
ให้ดูวันควรบริโภคก่อนหมด อายุ เพราะช่วยรับประกันได้ว่าคุณซื้อสินค้าหรืออาหารแล้วได้ของถูกจริงๆ อย่างร้านขายของชำให้ส่วนลดราคาเนื้อตามอายุวันว่าควรบริโภคก่อนวันไหน แต่คุณก็ต้องถามคนขายด้วยว่าเนื้อที่ขายผลิตเมื่อใดและหมดอายุเมื่อใด
เมื่อ รู้วันหมดอายุของสินค้าหรืออาหารสดอย่างเนื้อประเภทต่างๆ เพียงแต่รอจังหวะสักระยะหนึ่ง ให้ราคาสินค้ากับอาหารสดที่จะซื้อลดลงจากวันแรกที่วางขายซึ่งอาจเป็นราคาแพง มาก แต่หลังจากนั้นเป็นช่วงกลางๆ ก่อนวันหมดอายุจริง ราคาสินค้ากับอาหารจะถูกลงเพื่อขายให้หมดก่อนวันหมดอายุจริง ไม่ต้องห่วงว่าคุณภาพสินค้าหรืออาหารสดอย่างเนื้อจะเปลี่ยนไป ในเมื่อช่องแช่แข็งช่วยรักษาคุณภาพอาหารให้สดไว้ได้จนกว่าจะถึงวันที่นำมา แช่น้ำและปรุงเป็นอาหาร


15.ตรวจของต้องกินต้องใช้เสมอ
ครัวที่มีการตรวจ สอบดูของกินของใช้เสมอ จะช่วยให้คุณไม่ขาดแคลนของกินของใช้สำคัญ และไม่จำเป็นต้องบึ่งรถไปที่ร้านเพื่อซื้อให้ได้ในเวลานั้นต้องรู้ต้องดู เสมอว่า ในตู้เก็บของกินของใช้ในครัวมีอะไรหรือขาดอะไรบ้างเพราะการตรวจสต็อกเช่นนี้ หมายถึงคุณสามารถรอคอยรอบที่จะซื้อถัดไป และเป็นรอบซื้อถัดไปที่ได้ในราคาส่วนลดด้วยหรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะได้สินค้าที่ราคาถูกมาเติมส่วนที่ กำลังจะหมดได้ทันเวลา


16.ลดจำนวนครั้งที่ช้อป
ให้ลดจำนวนการเดินทางไป ซื้อของที่ร้านขายของชำและร้านสะดวกซื้อในแต่ละสัปดาห์หรือในแต่ละเดือน และลดการซื้อของไม่จำเป็นต้องกินต้องใช้ ซึ่งนอกจากช่วยลดรายจ่ายซื้อของเข้าบ้านแล้ว ยังช่วยคุณลดรายจ่ายค่าน้ำมันรถที่ต้องขับไปที่ร้านบ่อยๆ ด้วย
นอกจาก นี้ หากเลือกเวลาช้อปได้ ขอให้เดินช้อปเวลาบ่ายๆ หรือช่วงเช้าๆ เวลาที่เสนอให้ช้อปทั้งสองช่วงช่วยให้คุณเลี่ยงความแออัดของฝูงชนได้เป็น อย่างดี และเสียเวลาหรือใช้เวลาน้อยลงในร้าน


17.จ่ายทุกครั้งใช้เงินสด
เป็นคำแนะนำสุดท้ายทำ ได้ไม่ยาก เพราะการซื้อของกินของใช้เข้าบ้าน หากใช้บัตรเครดิตประจำและยิ่งคุณเป็นลูกค้าชำระบัตรเครดิตไม่เต็มจำนวนทุก เดือน ภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายจึงเป็นต้นทุนซื้อของกินของใช้จำเป็นที่ไม่ควรเสีย เพิ่มอย่างยิ่ง ดังนั้นการเลี่ยงภาระดอกเบี้ยต้องจ่าย ขอให้ตัดใจอย่าใช้บัตรเครดิตเมื่อต้องช้อปของจำเป็นเข้าบ้าน

ที่มา  :  bangkokbiznews.com                 7/1/2555

_______________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 7

กลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา

ราคา (price) คือ อัตราในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในตลาด โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในปัจจุบันราคาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานการตลาดอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารการตลาดจะต้องกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมและกรอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply) มาเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีระดับราคาที่เป็นที่น่าพอใจขององค์กร คือ สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร และเหมาะสมกับระดับความสามารถหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาด

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาขององค์กรธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา มักจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและการดำเนินงาน (cost) ตามวิธีการที่เรียกว่า markup pricing มากกว่าที่จะพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ ข้างต้นอย่างรอบด้าน จึงเป็นที่มาของการสูญเสียโอกาสทางการตลาดและธุรกิจได้ เช่น การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีความสอดคล้องหรือเหมาะสมกับตำแหน่งและภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในตลาด ดังจะเห็นได้จากการปรับราคาจำหน่ายบุหรี่ไทยตรายี่ห้อต่าง ๆ ของโรงงานยาสูบให้มีระดับราคาที่สูงขึ้นกระทั่งใกล้เคียงกับราคาบุหรี่ต่างประเทศ เป็นผลให้ผู้บริโภค จำนวนหนึ่งหันไปบริโภคบุหรี่จากต่างประเทศ ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เป็นต้น

การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา จึงนับเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหารการตลาดต่อการกำหนดกลยุทธ์หรือระดับราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในตลาดให้มีความเหมาะสมต่อปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และประสานได้อย่างลงตัวกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้านอื่น ๆ

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
ปัจจัยที่ผู้บริหารการตลาดจะต้องคำนึงถึงในการกำหนดราคาได้จัดแบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนี้
1.1 ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
วัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์กร (marketing objective) ในการกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทางการตลาดขององค์กร ก่อนจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้น ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรอาจจะหมายถึง ความคุ้มค่าต่อการลงทุน การมีกำไรสูงสุด การรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์กร

กลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy) ดังได้ทราบโดยทั่วกันว่า ราคา คือ องค์ประกอบหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น ในการกำหนดราคาจึงจำเป็นต้องกำหนดขึ้นโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แผนงานการตลาดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ต้นทุน (cost) โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งในที่นี้ หมายความรวมถึงต้นทุนในการกระจายผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด และต้นทุนทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการกำหนดราคาจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากผู้บริหารการตลาดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหรือกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นสาเหตุให้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีราคาจำหน่ายสูงกว่าคู่แข่งขันในตลาด หากต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้านราคาขององค์กรสูงกว่าคู่แข่งอย่างไรก็ตามต้นทุนต่าง ๆ ขององค์การจะจัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนคงที่ (fixed cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะไม่ผันแปรตามจำนวนการผลิตภัณฑ์หรือยอดจำหน่าย เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และเงินเดือน ฯลฯ ต้นทุนอีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นทุนแปรผัน (available cost) ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะแปรผันตามจำนวนการผลิตหรือยอดจำหน่ายขององค์กร เช่น วัตถุดิบในการผลิต ค่าแรง บรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการผลิตหรือจำหน่าย ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน เมื่อนำมารวมกันจะเป็นต้นทุนรวม (total cost) ที่ผู้บริหารการตลาดจะกำหนดส่วนเพิ่ม (margin) ที่เป็นกำไรองค์กรต้องการ รวมเป็นราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่จะต้องเป็นระดับราคาที่ไม่สูงกว่าระดับราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้

องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing) คือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือผู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย หรือให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการสายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และในบางผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม องค์กรอาจจะกำหนดให้พนักงานขายสามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามการต่อรองกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ แต่ต้องอยู่ภายในระดับราคาที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร จะประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จักการฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชี

1.2 ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
ลักษณะของตลาดและอุปสงค์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดในตลาด ซึ่งปัจจัยด้านดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดสามารถที่จะประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้กับการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ได้ตามสภาพหรือลักษณะของตลาดประเภทต่าง ๆ

การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์แข่งขันสมบูรณ์ คือ ลักษณะของตลาดที่มีผู้บริโภคและผู้ผลิตหรือจำหน่ายมากรายลักษณะของผลติภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างกัน และผู้ผลิตสามารถเข้าหรือออกจากตลาดได้ตามความต้องการ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าราคาตลาดได้

การกำหนดราคาภายใต้การแข่งขันกึ่งผูกขาด คือ ตลาดที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างตลาดผูกขาดกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยจะมีผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจำนวนมาก แต่ผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพ ลักษณะ หรือบริการเสริมก่อนและหลังการขาย ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายจึงสามารถกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนได้อย่างอิสระ

การกำหนดราคาภายใต้ภาวะที่มีคู่แข้งขันน้อยราย คือ ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายน้อยราย และผลิตภัณฑ์ในตลาดนั้น ๆ จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น ตลาดรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันทางการกาตลาด โดยดัชนีราคาต้องอิงกับภาวะราคาในตลาดหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ

การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์ผูกขาดสมบูรณ์ จะเป็นตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายเพียงผู้เดียว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการดำเนินงานของหน่อยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีอิทธิพลสูง หรือเป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตลาดประเภทนี้ ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ แต่จะยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น หากเป็นหน่วยงานภาครัฐ จะพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ ในขณะที่หากเป็นหน่วยงานภาคเอกชน การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์อาจจะต้องอยู่ภายใต้ระดับราคาที่ภาครัฐกำหนดหรือควบคุม เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในตลาด

การกำหนดราคาตามทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค โดยทั่วไปผู้บริโภคจะคำนึงถึงระดับราคาของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ตามทัศนคติของแต่ละคน เช่น การเลือกที่จะรับประทานข้าวแกงข้างถนน โดยแลกกับเงินค่าอาหารที่ไม่ต้องจ่ายแพงกว่า หรือในพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคบางกลุ่มในตลาด ที่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงย่อมจะมีคุณภาพที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน แต่มีราคาต่ำกว่า ดังนั้นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดประเภทดังกล่าวนี้ จึงควรพิจารณาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

การกำหนดราคาของคู่แข่งขัน ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ทั้งในด้านการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาทีมีต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วองค์กรที่มีนโยบายกำหนดราคาด้วยปัจจัยดังกล่าว จะยึดหลักกำหนดราคาตามแนวเดียวกันกับคู่แข่งขันอื่น ๆ เช่น เมื่อคู่แข่งขันกำหนดราคาสูงขึ้น องค์กรจะกำหนดราคาสูงตาม แม้ว่าผลิตภัณฑ์ขององค์กรจะมีระดับราคาที่สูงกว่าอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะเป็นการรักษาตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้มีเสถียรภาพ และลดปฏิกิริยาเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

1.3 ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ คือ การกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้มีความสอดคล้องต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กล่าวคือ ผู้บริหารการตลาดจะต้องสามารถพยากรณ์สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาขององค์กรในตลาดเพื่อกำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความสอดคล้องเหมาะสม หรือโดยการปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ขององค์กร ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาที่เหมาะสมออกมาจำหน่าย เช่น สหพัฒน์ฯ ผลิตและจำหน่ายผงซักฟอกเปาบุ้นจิ้น ในยุคนิยมสินค้าไทยราคาถูกเพื่อช่วยลดปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในอดีต หรือการรณรงค์โครงการ Thailand's Best เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าไทยเหล่านี้ เป็นต้น

2. กลยุทธ์การกำหนดราคา
กลยุทธ์ทางการตลาดที่เกี่ยวกับราคานับเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการตลาดต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจเพื่อการปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ส่วนลดและส่วนยอมให้ (discount and allowances)
ผู้บริหารการตลาดที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด จะต้องกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยมีส่วนลดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้คนกลางทางการตลาด เต็มใจทำหน้าที่ทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะประกอบด้วย
2.2 ส่วนลดปริมาณ (quantity discount) คือ ส่วนลดที่องค์กรจะลดให้กับผู้ซื้อ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก
2.3 ส่วนลดการค้า (trade discount) บางทีเรียกว่า ส่วนลดตามหน้าที่ (Functional Discount) คือ ส่วนลดที่กำหนดให้คนกลางทางการตลาดซึ่งทำหน้าที่ด้านการจัดกระจายผลิตภัณฑ์ให้แก่องค์กรในระดับต่าง ๆ เช่น การกำหนดส่วนลดให้แก่ผู้ค้าปลีกในอัตราร้อยละ 30 และผู้ค้าส่งในอัตราร้อยละ 10 เป็นต้น
2.4 ส่วนลดเงินสด (cash discount) เป็นส่วนลดที่องค์กรลดให้แก่ผู้ซื้อที่มีการชำระหนี้ค่าผลิตภัณฑ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างสภาพคล่องให้แก่องค์กร โดยใช้อัตราดอกเบี้ยและเครื่องมือทางการเงินเป็นส่วนประกอบ เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ ราคา 5,500 บาท เงื่อนไขของสินเชื่อหรือส่วนลด คือ 2/10, n/30 ซึ่งแสดงว่าหากผู้ซื้อชำระค่าผลิตภัณฑ์ภายใน 10 วัน นับจากวันสั่งซื้อจะได้รับส่วนลดในอัตราร้อยละ 2 หรือไม่ก็ต้องชำระค่าผลิตภัณฑ์จำนวนเต็มภายใน 30 วัน โดยไม่ได้รับส่วนลด
2.5 ส่วนลดตามฤดูกาลและการลงวันที่ล่วงหน้า (seasonal discount and forward dating) จัดเป็นส่วนลดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาล เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน ร่ม ครีมป้องกันอากาศหนาว หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่องค์กรต้องการจำหน่ายนอกฤดูกาล จึงกระตุ้นการซื้อนอกฤดูกาลด้วยการให้ส่วนลดตามฤดูกาล
2.6 ส่วนยอมให้ในการส่งเสริมการตลาด (promotional allowance) คือส่วนยอมให้หรือเงื่อนไขบางประการที่องค์กรจัดให้แก่ผู้จัดจำหน่าย เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้จัดจำหน่ายที่ให้บริการส่งเสริมการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กร ส่วนยอมให้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ของแถม เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือการให้ส่วนลดพิเศษแก่ผู้บริโภคในราคาต่ำกว่าป้ายราคาที่กำหนด
2.7 ค่านายหน้า (commission) ในกรณีที่มีผู้เข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขาย หรือเรียกว่า นายหน้า องค์กรจำเป็นต้องจัดให้มีค่าตอบแทนสำหรับนายหน้าด้วย เช่น ค่านายหน้าในการซื้อขายที่ดิน หรือค่านายหน้าในการซื้อขายหลัก
ทรัพย์ เป็นต้น

3. การกำหนดราคาตามหลักภูมิศาสตร์ (geographic pricing)
การกำหนดราคาด้วยเกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ คือ การกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่ง ไปยังตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้นในการกำหนดราคาจัดจำหน่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กรด้วยหลักภูมิศาสตร์ ผู้บริหารการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น ระยะทาง ที่ตั้งขององค์กร (หรือโรงงาน) สถานที่จัดจำหน่าย ค่าขนส่ง วิธีการขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ และสภาวะการแข่งขันในตลาดโดยมีแนวทางในการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ข้างต้น ดังนี้         
3.1 ราคา FOB ณ จุดผลิต (FOB origin pricing) โดยทั่วไปวิธีการดังกล่าวนี้องค์กรผู้ผลิตจะเสนอราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ จุดผลิต และผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่งทั้งหมด
3.2 ราคาส่งมอบเดียวกัน (uniform delivered pricing) คือ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วยราคาเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงระยะทางการขนส่ง แต่จะกำหนดราคา ณ ที่ตั้งของผู้ซื้อ
3.3 ราคาผลิตภัณฑ์ตามเขต (zone-delivered pricing) โดยวิธีการดังกล่าวผู้บริหารการตลาดจะกำหนดเขตการตลาดขององค์กรออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ และกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขององค์กรในแต่ละเขตการตลาดตามต้นทุนค่าขนส่ง
3.4 ราคาที่ผู้ขายรับภาระค่าขนส่ง (freight absorption pricing) วิธีการดังกล่าวนี้ ผู้บริหารการตลาดสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อลดอุปสรรคด้านโอกาสในการขยายตลาดจากกรณีการกำหนดราคา FOB ณ จุดผลิต โดยองค์กรจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเฉพาะในพื้นที่ตลาดเป้าหมายที่องค์กรต้องการขยายตลาดเข้าไปและเป็นตลาดที่มีคู่แข่งขันถือครองอยู่โดยการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เท่ากับหรือใกล้เคียงระดับราคาของคู่แข่งในตลาดนั้น ๆ ซึ่งโดยวิธีการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถขยายขนาดของตลาดออกไปตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ได้
3.5 ราคาจากจุดฐาน (basing point pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานแน่นอน ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตแต่ละราย และโดยทั่วไปจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ น้ำตาลทราย ข้าวโพด เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งการใช้ราคาจากจุดฐานจะลดปัญหาการแข่งขันด้านราคา และไม่ก่อให้เกิดความสับสนขึ้นในตลาดนั้น ๆ เช่นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง มีผู้ประกอบการ 3 ราย ซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค คือ กรุงเทพ ภูเก็ต และหาดใหญ่และผู้ประกอบการเหล่านี้ได้กำหนดให้มีจุดฐานที่ อำเภอหาดใหญ่ โดยกำหนดราคา ณ จุดฐาน หน่วยละ 200 บาทดังนั้น ในกรณีนี้ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด และมีต้นทุนค่าขนส่งผลิตภัณฑ์เท่าไร จะมีราคาจำหน่ายที่จุดฐาน 200 บาทต่อหน่วยเท่ากันหมด ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะจัดจำหน่ายที่ภูเก็ตจะกำหนดราคาจำหน่ายจากราคา ณ จุดฐานรวมค่าขนส่งจากจุดฐานถึงภูเก็ต สมมติ ให้เท่ากับ 20 บาทต่อหน่วย ดังนั้นผู้ประกอบการทุกรายจึงต้องกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในภูเก็ตในราคา 220 บาท ต่อหน่วยเท่ากัน

4. การกำหนดราคาที่แตกต่างกัน (price discrimination)
ผู้บริหารการตลาดสามารถที่จะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขององค์กรให้แตกต่างกันเป็น 2 - 3 ระดับราคา ตามลักษณะและปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ และที่ตั้ง ฯลฯ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการขององค์กรซึ่งในการกำหนดราคาที่แตกต่างกันนี้มีเกณฑ์และตัวอย่างในการพิจารณาของผู้บริหารการตลาด ดังนี้         
4.1 พิจารณาจากผู้บริโภค โดยการพิจารณาจากสถานภาพของผู้บริโภคหรือพฤติกรรมและทัศนคติต่าง ๆ ประกอบ กล่าวคือ หากเป็นผู้ที่มีฐานะดีจะกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ในอัตราที่สูง เช่น สถานพยาบาลจะคิดอัตราค่ารักษาผู้ที่มีฐานะดีสูงกว่าบุคคลทั่วไป หรือการคิดค่าบริการบัตรเครดิตสำหรับผู้ถือบัตรทอง ในอัตราที่สูงกว่าผู้ถือบัตรเงิน เป็นต้น
4.2 พิจารณาจากรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยการพิจารณาจากรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์ แม้ว่าในการผลิตนั้น ๆ จะมีต้นทุนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น กางเกงยีนลีวายส์ หากเป็นตัวที่ตัดเย็บจากขอบผ้า หรือที่เรียกว่า ริมแดง (red tab) จะมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่าตัวอื่น ๆ ทั้งที่อาจจะตัดเย็บจากผ้าผืนเดียวกัน เป็นต้น
4.3 พิจารณาจากสถานที่ โดยพิจารณาจากความสะดวก และความใกล้หรือไกล ซึ่งจะพบได้ทั่วไปถึงการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน ในโรงภาพยนตร์ และสนามกีฬา ฯลฯ
4.4 พิจารณาจากช่วงเวลา เช่น อัตราค่าเช่าห้องพักของโรงแรมในช่วงวันธรรมดา (วันอาทิตย์ ถึงพฤหัสบดี) จะมีอัตราค่าเช่าที่ถูกกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว

 



5. การกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา (psychological pricing)
การกำหนดราคาด้วยวิธีการนี้ จะพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภคด้านจิตใจเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์สูงหรือต่ำ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา ดังนี้
5.1 แนวระดับราคา (price lining) นิยมใช้ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจค้าปลีก โดยกำหนดตัวเลขระดับราคาที่จำกัด เพียงไม่กี่ระดับราคาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ เช่น การกำหนดราคาขายเสื้อ ในระดับราคาตั้งแต่ตัวละ 330, 220 และ 110 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะแนวระดับราคาจะบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย
5.2 การกำหนดราคาเพื่อศักดิ์ศรี (prestige pricing) คือการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดียวกัน เพื่อเป็นเครื่องบ่งบอกระดับฐานะของผลิตภัณฑ์ให้ตลาดได้รับรู้ และผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อให้เป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมด้วยเช่นกัน เช่น รถยนต์เบนซ์ นาฬิกาโรเล็กซ์ โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นต้น
5.3 การกำหนดราคาให้รู้สึกว่าถูกกว่าห้ออื่นหรือการตั้งราคาแบบมีเศษ (odd pricing) คือ การกำหนดราคาให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีราคาถูกลง ด้วยการใช้ตัวเลขคี่ เช่น 49, 99, 149, 9,999 บาท นอกจากนี้การกำหนดราคาให้มีเศษสตางค์ เช่น 16.50, 9.75 และ 1.25 บาท ก็มีผลทางจิตวิทยาเช่นกัน

6. การกำหนดราคาในการส่งเสริมการตลาด (promotional pricing)
การรณรงค์ส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กร ผู้บริหารการตลาดในปัจจุบันจะนิยมใช้การลดราคาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นหรือจูงใจผู้บริโภคให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการขายของร้านค้าต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้น เช่น "มิดไนท์เซลส์" "ถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน" หรือ "เดอะมอลล์ ลดกระหน่ำ" เป็นต้น

7. การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์หลัก (By Product Pricing)
การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะพิจารณาจากต้นทุนในการนำผลพลอยได้มาผลิตต่อต้นทุนการเก็บรักษา หรือการขนส่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดที่เกิดขึ้น จะคุ้มค่ากับราคาของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้หรือไม่ ซึ่งรายได้ที่องค์กรได้รับจะไปชดเชยต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลักขององค์กรที่จะเป็นการเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้นจากปัจจัยด้านราคา เช่น สหฟาร์ม มีกิจการเลี้ยงไก่เพื่อจัดส่งเป็นวัตถุดิบแก่อุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก และมีผลพลอยได้จากการคัดเลือกไก่ที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการ มาจัดทำเป็นไก่พะโล้และอื่น ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารถุงให้แก่ผู้บริโภคในตลาดสดนย่านบางกะปิ เป็นต้น

8. การเปลี่ยนแปลงราคา
กลยุทธ์และเกณฑ์การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งขัน จำนวนคู่แข่งขันในตลาด ศักยภาพของคู่แข่งขัน ค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น หรือแม้แต่ค่าของเงินที่อาจสูงขึ้นหรือตกต่ำลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาด และคงความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

ที่มา :  idis.ru.ac.th                    7/1/2555

____________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 8

ขั้นตอนการลงทุนในหุ้น

หลังจากเข้าใจลักษณะเฉพาะตัวของหุ้น ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น รวมถึงเปรียบเทียบกับทางเลือกลงทุนอื่นๆ และพิจารณาแล้วว่า... การลงทุนใน “หุ้น” เป็นช่องทางการลงทุนที่เหมาะกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุนของเรา

ผู้ลงทุนก็ต้องศึกษาและทำความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในการลงทุนในหุ้น เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในหุ้นบริษัทใด? จะเลือกซื้อหุ้นจากหลักเกณฑ์อะไร? และระดับราคาใดจึงจะเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการลงทุน? โดยขั้นตอนการลงทุนในหุ้นมี 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การวางแผนการลงทุน

ขั้นตอนแรกสุดและสำคัญที่สุดของการซื้อขายหุ้น คือ “การวางแผนการลงทุน” ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุนของคุณ เพราะเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อผลตอบแทน และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุน ก. มีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะสั้น ผู้ลงทุน ก. อาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการลงทุนที่สูง เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นในช่วงเวลาสั้นๆ มักมีความผันผวนมากกว่าการลงทุนในหุ้นในช่วงเวลายาวๆ

ในขณะที่ ผู้ลงทุน ข. มีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนในระยะยาว แสดงว่าผู้ลงทุน ข. คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปเงินปันผล ดังนั้น ผู้ลงทุน ข. จะต้องไม่ขายหุ้น ในกรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตราบเท่าที่ผู้ลงทุน ข. ยังมั่นใจในผลประกอบการของบริษัท และมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

2. วิเคราะห์เศรษฐกิจ

การ ที่ผู้ลงทุนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจในเบื้องต้นได้ว่าช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจของประเทศ หรือเศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง จะทำให้ผู้ลงทุนทราบว่า... ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่ และกรณีที่ต้องการจะลงทุน ผู้ลงทุนควรมีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผู้ลงทุนอาจลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง เนื่องจากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดี ดังนั้น ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนอาจจะลดลงจนไม่สามารถชดเชยกับ
ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนต้องเผชิญจากการลงทุนในหุ้นได้

3.วิเคราะห์อุตสาหกรรม

นอกจากการทำความเข้าใจภาวะเศรษฐกิจของประเทศหรือเศรษฐกิจของโลกแล้ว ผู้ลงทุนยังต้องทำความเข้าใจข้อมูลอุตสาหกรรมอีกด้วย เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจมักจะกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมอย่างละเอียดจะมีส่วนช่วยผู้ลงทุนอย่างมากในการตัดสินใจเลือกบริษัทลงทุน

ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจขาลง อุตสาหกรรมอาหารและยาจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากอาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น ความต้องการซื้อของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทำให้รายได้ของบริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดลงไม่มากเท่ากับรายได้ของบริษัท ในอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ผู้บริโภคมักมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีก็จะลดการบริโภคในสินค้าเหล่านี้

 

4. วิเคราะห์บริษัท

วิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้ลงทุนควรวิเคราะห์ข้อมูลบริษัท เพื่อตัดสินใจว่าเราจะเลือกลงทุนในบริษัทใด เนื่องจากบริษัทแต่ละบริษัทย่อมมีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ผลประกอบการที่แตกต่างกัน ปัจจัยเอื้อประโยชน์และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่างกัน หากตัดสินใจเลือกบริษัทได้อย่างถูกต้อง ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ถ้าตัดสินใจเลือกผิด อาจได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้หรืออาจขาดทุนจากการลงทุนก็เป็นได้

5. ประเมินมูลค่าที่แท้จริง

ขั้นตอนถัดมา คือ การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนดี
โดยเกณฑ์การตัดสินใจ คือ...

--> ถ้ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ได้จากการประเมิน “มากกว่า” ราคาตลาดในปัจจุบัน ผู้ลงทุนควรตัดสินใจ “ซื้อ” หุ้นตัวนั้น เพราะราคาหุ้นในปัจจุบันถูกกว่ามูลค่าของตัวมันเอง

--> ถ้ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ได้จากการประเมิน “น้อยกว่า” ราคาตลาดในปัจจุบัน ผู้ลงทุนก็ “ไม่ควรซื้อ” หุ้นตัวนั้น หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนมีหุ้นอยู่ในมืออยู่แล้ว ก็ควร “ขาย” ทิ้ง เพราะราคาหุ้นในปัจจุบันแพงกว่ามูลค่าของตัวมันเอง

6. หาจังหวะการลงทุน

เมื่อเราทราบแล้วว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Under Value) สิ่งที่ผู้ลงทุนควรทำ คือ การตัดสินใจซื้อ แต่ผู้ลงทุนอาจเกิดคำถามต่อว่า... แล้วเราควรจะซื้อตอนไหนดี? โดยปกติเวลาเราซื้อของย่อมอยากซื้อของในราคาต่ำ การซื้อหุ้นก็เช่นเดียวกัน ผู้ลงทุนย่อมอยากได้ราคาหุ้นที่ต่ำ ซึ่ง “การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค” จะช่วยให้ผู้ลงทุนตัดสินใจได้ว่าควรจะซื้อหุ้นในช่วงใด

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราอยากขายของ เราย่อมอยากขายได้ราคาแพง ผู้ลงทุนก็เช่นเดียวกัน เมื่ออยากจะขายหุ้น เพราะเห็นว่าราคาตลาดในปัจจุบันสูงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปแล้ว (Over Value) การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ก็ช่วยตอบคำถามผู้ลงทุนได้ว่า... ควรตัดสินใจขายหุ้นในช่วงใด

7. ตัดสินใจซื้อขาย

หลังจากที่ผู้ลงทุนทำการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมประเมินมูลค่าและหาจังหวะในการลงทุนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ “การตัดสินใจซื้อขาย” โดยผู้ลงทุนต้องส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกหรือโบรกเกอร์เท่านั้น

ดังนั้น ผู้ลงทุนทุกคนจะต้อง “ เปิดบัญชี” กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการส่งคำสั่งซื้อหรือขาย โดยโบรกเกอร์แต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขในการพิจารณาเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีและข้อกำหนดของบริษัทหลักทรัพย์

8. ติดตามผลการลงทุน

หลังจากที่ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหรือขายเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้ลงทุนควรทำในลำดับถัดมาคือ “การติดตามผล” กล่าวคือ หมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของตนว่าเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ตอนต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้ลงทุนจะได้ปรับพอร์ตการลงทุนของตนได้ทันท่วงที

ที่มา :  tsi-thailand.org                 27/1/2555

_____________________________________________________________

ข่าวสารการเงิน เรื่องที่ 9

การบริหารความเสี่ยงทางการเงินให้เกิดผลดีต่อกิจการ

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) เป็นความเสี่ยงใหญ่ประเภทหนึ่งของกิจการ และในบางกิจการกลายเป็นความเสี่ยงที่มีขนาดของความเสียหายสูงสุดในกิจการ และมากกว่าผลที่เกิดจากความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เสียด้วย

โดยทั่วไปความเสี่ยงทางการเงินมักจะเกี่ยวข้องกับการบริหารรายการในส่วนของ หนี้สินและสินทรัพย์ และมีผลต่อกิจการทั้งระยะสั้นและระยะยาว

กรอบแนวคิดของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ดี

(1)   การลงทุนในลักษณะที่เป็นโครงการจะต้องให้ผลตอบแทนของการลงทุนมากกว่าอัตราผลตอบแทนขึ้นต่ำที่ยอมรับได้

(1.1) อัตราผลตอบแทนที่ยอมรับได้จะเพิ่มขึ้นหากโครงการนั้นเป็นโครงการที่มี ความเสี่ยงในระดับสูง โดยแหล่งเงินที่ใช้ในการลงทุนอาจจะต้องผสมผสานกันระหว่างเงินกองทุนจากเจ้า ของกิจการเอง กับเงินกู้จากแหล่งเงินภายนอกกิจการ เพราะคงเป็นไปได้ยากที่เจ้าหนี้จะยอมรับความเสี่ยงเองทั้งหมด

(1.2) ผลตอบแทนที่เกิดกับโครงการลงทุน เพื่อประเมินความเสี่ยงควรจะวัดด้วยกระแสเงินสดที่เข้ามาจริง ไม่ใช่รายการค้างรับ และระยะเวลาที่เกิดกระแสเงินสดไหลเข้าว่าเร็วหรือช้ามากน้อยขนาดไหน และควรจะรวมถึงผลกระทบข้างเคียงของโครงการว่ามีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบด้วย เพราะหากมีผลกระทบอาจจะเกิดค่าปรับ การชดเชย ความเสียหายหรือการเยียวยาผลกระทบทางลบติดตามมาอีก

(2)   การจัดการเงินเพื่อใช้ในการลงทุนในลักษณะของโครงการ จะต้องพิจารณาให้มีส่วนผสมที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินโดยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามแหล่งเงินแล้วออกมาต่ำที่ สุด และเปิดโอกาสให้มีส่วนต่างที่เป็นบวกเนื่องจากผลตอบแทนที่เกิดจากการใช้ สินทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่ทำรายได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินที่เฉลี่ยถ่วง น้ำหนักดังกล่าว

(3)   หากเงินทุนดำเนินการที่มีอยู่ไม่สามารถนำไปใช้ในการลงทุนที่ก่อให้เกิดราย ได้หรือผลตอบแทนที่ไม่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนขึ้นต่ำที่ยอมรับได้ ก็ควรจะคืนเงินสดให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าของเงิน เพื่อลดภาระความเสี่ยงทางการเงินของกิจการลง

(4)   การบริหารความเสี่ยงทางการเงินไม่ใช่แนวทางเชิงตั้งรับ หากแต่ต้องเป็นแนวทางเชิงรุก เป็นแนวทางที่พร้อมที่จะสนับสนุนกิจการ โดยเฉพาะกิจการที่เน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ต้องการความมั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงทางการเงินจะเพียงพอและเข้มแข็ง ตลอดจนมีเสถียรภาพ เชื่อถือได้ และมองล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ

(5)   ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงทางการเงินมาจากตลาดการเงินเป็นหลัก โดยปัจจัยดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในตลาดการเงิน ซึ่งอาจจะเป็นรายนาที รายชั่วโมง รายวัน การกำกับ ติดตาม ตรวจทาน ความเสี่ยงทางการเงินจึงต้องทันกาล เพื่อให้สามารถระบุสถานะความเสี่ยงล่าสุดเป็นรายนาทีต่อนาทีได้ งานการบริหารความเสี่ยงทางการเงินจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

การตัดสินใจสำคัญทางการเงินของกิจการ

มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

(1)   การตัดสินใจด้านการลงทุน ด้วยการมีพอร์ตของสินทรัพย์ การจัดสรรเงินทุนดำเนินงานในธุรกรรมหลักของกิจการ การควบรวมกิจการเพื่อการขยายตลาด

(2)   การบริหารเงินจากแหล่งเงินภายในที่มาจากส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสม และจากแหล่งเงินจากภายนอกที่มาจากเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้สถาบันการเงิน

(3)   การบริหารความเสี่ยงด้วยการทำการวัดขนาดและประเมินระดับความเสี่ยงทางการ เงิน ณ สถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงทางการเงิน

เครื่องมือสำคัญในการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน

(1)    การป้องกันความเสี่ยงตามหลักธรรมชาติ (Natural Hedge) ตั้งอยู่บนแนวทางของการรักษาความสมดุลระหว่างองค์ประกอบของความเสี่ยงด้าน สินทรัพย์กับความเสี่ยงด้านหนี้สิน ให้เกิดความเหมาะเจาะ เหมาะสมในตัวของมันเอง เช่น

- หากมีรายได้จากการดำเนินงานทุก 3 เดือน ก็ควรจะก่อหนี้หรือกู้ยืมโดยมีเงื่อนไขในการชำระคืนหนี้ทุก  3 เดือนเช่นกัน

- หากมีภาระหนี้สินเป็นสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นก็ควรจะพยายามส่งออกสินค้าเป็น เงินสกุลเยน เพื่อนำไปใช้ในการชำระคืนหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกัน

(2) การเสี่ยงดวงด้วยการเปิดสถานะความเสี่ยงไว้ (Open Position) โดยมีสมมติฐานว่า ความเสี่ยงให้ผลลัพธ์ได้ทั้งบวกและลบ  สลับกันไปไม่ได้ให้ผลทางลบเสมอไปทุกครั้ง ผลที่ได้เมื่อเกิดผลลัพธ์ทางบวกจะชดเชยเมื่อผลลัพธ์ออกมาเป็นลบ เหลือค่าความแปรปรวนจากการหักกลบลบกันระหว่างผลลัพธ์ทางบวกและผลลัพธ์ทางลบ จะน้อยหรือใกล้เคียงกับ 0 หรือไม่มีผลกระทบจากความเสี่ยง ซึ่งการใช้วิธีนี้ถือว่าเป็นลักษณะของการเก็งกำไร ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจว่า ผลที่เกิดจากเหตุของความเสี่ยงมีทั้งบวกและทั้งลบจริง

(3) การใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน (Financial Derivative) ในการปรับกระแสการไหลเข้าออกของเงินให้เหมาะสมระหว่างกระแสเงินที่เป็นราย ได้และกระแสเงินที่เป็นรายจ่าย หรือเกิดค่าคงที่ (Static) เพื่อมิให้ได้รับผลกระทบจากการที่มีโอกาสเกิดผลลัพธ์ทั้งทางลบและบวกได้

ประโยชน์สำคัญของการใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงินแต่ละประเภท

FX Forward     การตกลงล่วงหน้าเพื่อซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ

เป็นการ log จำนวนเงินบาทที่เกี่ยวข้องจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงินไว้ล่วงหน้าสถานะความเสี่ยงจะคงที่ (Static)

ใช้ค่าคงที่ด้านสกุลเงินไปบริหารจัดการธุรกิจหลักของกิจการ

Swap (currency)

เป็นการแลกสกุลเงินในสินทรัพย์ที่จะรับเป็นกระแสเงินสดไหลเข้าหรือ หนี้สินที่จะเกิดกระแสเงินสดไหลออก ให้เป็นไปตามที่ต้องการและมีความเสี่ยงต่ำกว่า เพื่อลดระดับความรุนแรงของผลกระทบ

Option

เป็นการแสวงหาทางเลือกที่จะใช้ได้ หากจำเป็น

เป็นกรณีที่สถานการณ์ไม่ชัดเจนในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มีโอกาสไปในทิศทางใดก็ได้ คาดหมายล่วงหน้าไม่ได้ชัดเจน

ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงทางการเงินแบบใดก็ตาม  จะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ต้องใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างครบถ้วน อย่างน้อย 5 ขั้นตอนหลักคือ

ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและระบุความเสี่ยงสำคัญ

ขั้นตอนที่  2 การประเมินและวัดขนาดของความเสี่ยง

ขั้นตอนที่  3 การเรียงลำดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

ขั้นตอนที่  4 การจัดการด้วยกิจกรรมมาตรการกำกับและควบคุมความเสี่ยง

ขั้นตอนที่  5 การติดตามและทบทวนความเสี่ยง

สัญญาณเตือนความเสี่ยงทางการเงิน

(1)   ขาดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

(2)   ขาดการกำหนดเพดานความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อจำกัดขอบเขตของความเสียหาย ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

(3)   ขาดข้อมูลที่จะใช้วัดขนาดและระดับของความเสี่ยงเพื่อการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ

(4)   ขาดความพยายาม ความสนใจ ในการจัดการอย่างเป็นระบบ

(5)   มีการใช้มุมมองในแวดวงที่แคบ ไม่ครอบคลุมทุกด้าน ทุกประเด็น

(6)   ขาดการสื่อสารความเสี่ยงที่สร้างความตระหนัก การยอมรับ การแก้ไข การป้องกัน

(7)   ขาดกรอบแนวทางค้นหาและระบุความเสี่ยงแบบบูรณาการ

(8)   ขาดโมเดล/แบบจำลองที่คำนวณความเสี่ยงในเชิงปริมาณ

ที่มา :  จิรพร สุเมธีประสิทธิ์                       30/1/2555

______________________________________________________________

ข่าวสารเรื่องที่ 10

สั่งเอกชนแจงรายได้รายจ่ายโครงการรัฐ

เริ่ม1ม.ค.55 ขึ้นบัญชีดำ : ล่าเงินคอร์รัปชัน

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้า (1 ม.ค. 2555) เป็นต้นไป จะเกิดการปฏิวัติมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในภาคเอกชนครั้งสำคัญ เพราะ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ต้องแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการตามสัญญานั้นๆ ต่อกรมสรรพากร ใครฝ่าฝืนจะถูกขึ้นบัญชีดำห้ามเข้าประมูลหรือรับงานกับหน่วยงานของรัฐอีกต่อไป

 

ตัดช่องจ่ายเงินแลกงานรัฐ

สู่ยุคโปร่งใส-สู้ในกติกา

มาตรการ ต่อต้านการทุจริตข้างต้นเป็นไปตาม ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ และแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายใหม่ของ ป.ป.ช. คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 โดยมาตรา103/7 บัญญัติว่า

“...เพื่อประโยชน์ในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็น คู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของ รัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ใน โครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด...”

ประกาศฉบับดังกล่าวจะใช้บังคับกับ บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของรัฐ โดยใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

ผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่น บัญชีแสดงรายรับรายจ่ายหมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเช่นองค์การมหาชนโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องดำเนินการ จัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(www.gprocurement.go.th) บันทึกข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

สำหรับ บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะก่อนิติสัมพันธ์กับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัด ซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ต้องดังกล่าวลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) แต่ถ้ายังมิได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชี กลาง ให้รายงานข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกรมสรรพากร

คุมทุกสัญญาเกิน5แสน

จ่าย3หมื่นต้องบัญชีเช็ค

ทั้งนี้ บัญชีแสดงรายรับรายจ่าย หมาย ถึง บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินของโครงการตามสัญญาที่บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่ง เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและยื่นต่อกรมสรรพากร ด้านรายรับ หมาย ถึง จำนวนเงินที่คู่สัญญาได้รับจากหน่วยงานของรัฐ อันเนื่องจากการได้ปฏิบัติตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา หรือรายรับอื่นๆ ที่กำหนดไว้ให้คู่สัญญาได้รับ ส่วนรายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินที่คู่สัญญาได้จ่ายไปทั้งสิ้นเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา

ประกาศของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ครอบคลุมสัญญาทุกประเภทที่ทำขึ้นเพื่อดำเนินการตามโครงการในการจัดหาสินค้า และบริการไม่ว่าด้วยวิธีการจัดซื้อหรือการจัดจ้างหรือวิธีอื่นใดของหน่วยงาน ของรัฐ ในทุกสัญญาที่มูลค่าตั้งแต่ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป แต่จะไม่ใช้บังคับกับสัญญาที่ได้ทำก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

สำหรับวิธี การใช้จ่ายเงินของคู่สัญญา ต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินในแต่ละครั้งจำนวนไม่เกินสามหมื่นบาทถ้วน

“พูด ง่ายๆ คือ เอกชนคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ ต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันขึ้นมาเฉพาะเพื่อรับงานจากหน่วยงานรัฐ และการจ่ายเงินในโครงการตามสัญญากับหน่วยงานรัฐทุกรายการ ถ้ามีวงเงินตั้งแต่ สามหมื่นบาทขึ้นไปต้องจ่ายเป็นเช็ค ซึ่งจะทำให้การติดตามเส้นทางเงินที่ไม่สุจริตเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น”

ในด้านวิธีการยื่นและระยะเวลาการยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. กรณีบุคคลธรรมดาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

หากระยะ เวลาการจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดอยู่ภายในปีเดียวกันให้ยื่นพร้อมกับการยื่น ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากระยะเวลาการจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้อยู่ภายในปีเดียวกัน ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของทุกปี และให้ยื่นบัญชีแสดงรายการรับจ่ายทั้งหมดของโครงการตามสัญญาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นโครงการตามสัญญา

 

2.กรณีนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

หากระยะ เวลาการจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดอยู่ภายในรอบปีบัญชีหรือเดียวกัน ให้ยื่นเมื่อสิ้นงวดระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นบัญชีงบดุลประจำปี แต่หากระยะเวลาการจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้อยู่ภายในรอบปีบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นทุกสิ้นงวดระยะเวลาบัญชี และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ยื่นจนกว่าจะสิ้นภาระผูกพันตามสัญญา

การตรวจสอบบัญชีแสดงรายการรับจ่าย ให้ เป็นดุลพินิจของกรมสรรพากรที่จะนำบัญชีแสดงรายการรับจ่ายของโครงการไปใช้ ประกอบการตรวจสอบบัญชีงบดุลประจำปีของนิติบุคคลหรือตรวจภาษีเงินได้ของบุคคล หรือนิติบุคคล และหากพบว่าอาจมีการทุจริตเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินในโครงการใด ให้รายงานคณะกรรรมการ ป.ป.ช. ทราบ พร้อมส่งเอกสารหลักฐานและความเห็นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐผู้ใด ไม่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการตามประกาศนี้  หรือแสดงไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

ใน ทางปฏิบัติจะกำหนดมาตรการ ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้า เป็นคู่สัญญาและคู่สัญญาต้องปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในเอกสารสอบราคา /ประกวดราคาให้รับทราบ คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ไม่แสดง บัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญ ขณะเดียวกันบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่ง ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP)  ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ป.ป.ช.เตรียมติวเข้มทุกวงการ

ผู้รับเหมา-สื่อ-เอเยนซี่โฆษณา

มาตรการ ตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้น มิได้ป้องกันการทุจริตจากการจ่ายเงินของเอกชนเพื่อให้ได้สัญญางานของหน่วย งานของรัฐอย่างไม่โปร่งใสเป็นธรรมแค่ในวงการรับเหมาก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังขยายอาณาเขตครอบคลุมถึงงานจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ งานบริการ งานที่ปรึกษา งานโฆษณาประชาสัมพันธ์  ฯลฯ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้เกี่ยวข้องมิให้เกิดความโกลาหล สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้ดำเนินการจัดเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดังกล่าว แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่นที่ผ่านมาได้จัดการสัมมนาให้ความรู้แก่สมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไป แล้ว และจะขยายการสัมมนาให้ความรู้แก่ทุกภาคส่วนต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มที่ปรึกษา สื่อมวลชน และเอเยนซีโฆษณา ซึ่งมีจำนวนสัญญา จำนวนผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก และวงเงินจัดซื้อจัดจ้างค่อนข้างสูง โดยจะมีการจัดสัมมนาตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ไปจนถึงสิ้นปี

ที่มา  :  ดร.ณัฐวัฒน์ อริย์ธัชโภคิน                              14/2/2555

_________________________________________________________________________

Go Top

 

จดบริษัท, จดห้าง, จดเปลี่ยนแปลง
โทร. 088-227-7514, 
062-827-4446


สอบถามเรื่องบัญชี, ภาษี
โทร. 081-695-8246,
062-827-4446


มีปัญหาเรื่องบัญชีและภาษีอากร
โทร.088-227-7514,
081-695-8246



 


 






อัตราแลกเปลี่ยน

ราคาทองคำ