บริการของเรา
1. ยื่นภาษีประจำเดือน
2. ลงบัญชีประจำเดือน
3. สรุปยอดบัญชีประจำเดือน
4. ประกันสังคม
5. ครึ่งปี ภงด. 51
6. ปิดงบ ภงด. 50
7. ตรวจสอบบัญชี
8. จัดทำงบ BOI
9. วางระบบบัญชี
10. จดจัดตั้งนิติบุคคล
11. จดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
12. จดเลิกชำระบัญชี
13. ขอเลขผู้เสียภาษี
14. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
15. ให้คำปรึกษาบัญชี
16. ตัวแทนเข้าพบสรรพากร
1. ยื่นภาษีประจำเดือน : บริการจัดยื่นภาษีประจำเดือน
บริการจัดยื่นบัญชีภาษีประจำเดือน เป็นการลดภาระของธุรกิจ ในการจัดเตรียมเอกสาร หลักฐานในการจัดยื่นภาษี เพื่อชำระภาษีให้ได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาดการใช้ภาษีไม่ถูกต้อง ตรวจเอกสารบัญชีได้ทันทีว่าเอกสารทางบัญชีของท่าน สมบูรณ์ถูกต้องหรือไม่ จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใช้ประโยชน์ทางภาษี สิทธิที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การชะลอการใช้ภาษีซื้อไป 6 เดือนเพื่อประโยชน์ในการชำระภาษี การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40
การรับผิดชอบในภาษีมูลค่าเพิ่ม เกี่ยวกับรายได้ของกิจการ ตามเกณฑ์สิทธิ์ เกณฑ์เงินสด หรือเกณฑ์คงค้าง แต่ละกิจการเพื่อชะลอภาษีขายที่อาจจะเกิดก่อนได้รับการชำระเงินจากลูกค้า สำหรับกิจการบางประเภทที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ตามเกณฑ์เงินสด
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) หรือการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ระยะเวลาในการยื่นแบบ การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ในกรณีที่เกิดขึ้น ถ้าหากกิจการรู้ล่วงหน้าสามารถลดจำนวนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ตามกฎหมาย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการจัดยื่นแบบรายการชำระภาษี ทุกวันที่ 7 ของเดือน ตามแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 ฯลฯ แบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายการรับรู้รายการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงเงินเพิ่มตามกฎหมาย
2. ลงบัญชีประจำเดือน : บริการจัดลงบัญชีประจำเดือน
การบริการจัดลงบัญชีประจำเดือน ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผลรายเดือน รายไตรมาส ราย 6 เดือน หรือรายปี เพื่อทำการปิดงบการเงิน และงบการเงินระหว่างกาล แบบย่อ ในกรณีเจ้าของธุรกิจไม่ได้ว่าจ้างนักบัญชี หรือมีนักบัญชีแต่ไม่สามารถลงบัญชีได้ถูกต้อง การส่งให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้บันทึกบัญชี ก็มีผลดีสำหรับเจ้าของธุรกิจเช่นเดียวกัน เนื่องจากการบันทึกบัญชีทุกเดือน จะทำให้ท่านเจ้าของธุรกิจทราบถึงผลดำเนินงาน ฐานะการเงิน ถ้าหากมีข้อผิดพลาดที่ผ่านมาสามารถแก้ได้ทันในรอบระยะเวลาบัญชี ดีกว่านำเอกสารทั้งหมด 1 ปี ที่ได้จัดยื่นเอง แล้วนำไปให้สำนักงานบัญชีทำการลงบัญชี เพื่อทำการปิดงบการเงิน การลงบัญชีเช่นนั้น อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันตามรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งอาจจะทำให้ท่านเจ้าของธุรกิจมีภาระในการชำระภาษีมากขึ้น และอาจจะถูกตรวจสอบภาษี จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร และพบความผิดพลาดระหว่างปี ทำให้โดนภาษีย้อนหลัง เสียทั้งเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ท่านเจ้าของธุรกิจบางท่านอาจจะคิดว่าการจัดเอกสารให้สำนักงานบัญชี 1 ปีครั้ง ทำให้ประหยัดเพราะได้จัดยื่นเอง เนื่องจากได้จ้างพนักงานบัญชีประจำอยู่แล้ว จริง ๆ แล้วท่านต้องมองตัวเงิน สำหรับก้อนใหญ่ที่ต้องจ่ายให้สำนักงานบัญชี ทั้งค่าลงบัญชีประจำเดือนที่เหมารวมทั้งปี และค่าบริการตรวจสอบบัญชี จัดทำงบการเงิน จัดยื่นเอกสาร ไม่ได้ประหยัดไปกว่าการส่งให้สำนักงานบัญชีสรุปยอดให้ท่านทุก 1 เดือน และการชำระค่าบริการให้สำนักงานบัญชี แบบทยอยจ่าย นอกจากท่านไม่ต้องหาเงินก้อนโตในการชำระรวดเดียวแล้ว ทางสำนักงานบัญชี ยังหาทางแก้ปัญหาให้ทันและเป็นที่ปรึกษาทางด้านบัญชีภาษีให้ท่านตลอดเวลาอีกด้วย
3. สรุปยอดบัญชีประจำเดือน
การบริการจัดลงบัญชีประจำเดือน หรือรวมทั้งจัดยื่นบัญชีประจำเดือน ก็จะส่งผลให้งบทดลองออกมาได้อย่างรวดเร็ว งบทดลอง เปรียบได้กับงบการเงิน ถึงแม้จะไม่ละเอียดเท่า แต่ก็ทำให้เจ้าของธุรกิจทราบถึงผลดำเนินงาน ณ เวลานั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแก้ไขปัญหาทางด้านภาษีได้ทันในรอบบัญชีดังกล่าวเนื่องจากวิธีการทำงานของสำนักงานบัญชี เมื่อได้รับเอกสารจากลูกค้า ระหว่างเดือนจะทำการบันทึกรายการด้วยคอมพิวเตอร์ ในบัญชีรายวันตามเอกสารที่จัดส่งมาที่สำนักงานฯ หลังจากคอมพิวเตอร์ได้รับการบันทึกเป็นที่เรียบร้อย ก็จะทำการประมวลผลไปบัญชีแยกประเภท และประมวลผลต่อไปที่งบทดลอง และกระดาษทำการ เป็นการประมวลผลที่ดูซับซ้อน แต่เมื่อมีการลงบัญชีอย่างต่อเนื่อง และถูกต้องการประมวลผลในแต่ละเดือนจะทราบทันที งบทดลองจะบอกท่านได้ว่า รายได้ และค่าใช้จ่าย ขณะนี้เป็นอย่างไร ท่านเจ้าของธุรกิจบางท่านอาจจะคิดว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะดูงบทดลอง ทางบริษัทจะมีการแนะนำการดูงบทดลองอย่างง่าย ๆ โดยท่านสามารถดูการดำเนินธุรกิจขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย มีกำไรหรือขาดทุน กำไรสูงเกินไปเนื่องจากธุรกิจยังไม่ได้นำส่งเอกสารบางอย่างให้กับสำนักงานบัญชี ขาดทุนสูงเกินไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงเกินไป หรือเอกสารเกี่ยวกับรายได้ ยังไมได้จัดส่งให้กับสำนักบัญชีเพื่อบันทึก ทุกอย่างล้วนเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ถ้าหากเวลาในการลงบัญชี เกินกว่ารอบระยะบัญชีดังกล่าว ถ้าหากมีการลงบัญชีเรียบร้อยแล้ว แต่ธุรกิจกำไรมากเกินความเป็นจริง หรือขาดทุนเกินความเป็นจริง ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีนั้นยังสามารถได้รับคำแนะนำจากสำนักงานบัญชี ในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที การแก้ปัญหาภายหลังเหตุการณ์ในวันที่งบการเงินก็สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อาจจะต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่มเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ประเมินจากกรมสรรพากร ตั้งข้อสังเกตอาจเป็นต้นเหตุของการถูกประเมินภาษี
4. ประกันสังคม : บริการจัดยื่นประกันสังคม
ทางสำนักงานบัญชี บริการจัดยื่นประกันสังคมให้โดยท่านแทบไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเอง พนักงานของท่านจะได้รับการยื่นประกันสังคมอย่างถูกต้อง และอาจจะประหยัดให้กับเจ้าของธุรกิจ ในกรณีไม่ทราบว่ารายได้ประเภทไหนของพนักงานอาจไม่ต้องยื่นเงินสมทบประกันสังคม การจัดเตรียมเอกสารไม่ว่าพนักงานลาออก หรือพนักงานเข้าใหม่ ช่วงทดลองงานพนักงานใหม่ อาจมีผลกระทบต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ต่อนายจ้าง เพียงเจ้าของธุรกิจแจ้งมายังสำนักงานบัญชีแต่ละเดือน ทางสำนักงานบัญชี จะจัดส่งเอกสารไปให้ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งลาออก แจ้งเข้าทำงานใหม่ เปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล สะดวกและประหยัดกว่าการที่ท่านเจ้าของธุรกิจ จะทนนั่งรับภาระในการจัดยื่น การให้สำนักงานบัญชี ดูแลครบวงจรจะทำให้ระบบการดูแลเอกสาร ไม่ยุ่งยาก และตกหล่นเช่นแบบรายการจัดยื่นประกันสังคม และใบเสร็จจากประกันสังคม เพราะเอกสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในธุรกิจของท่าน นอกจากนั้นบางครั้งยังสามารถนำเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทของท่าน เพื่อประหยัดภาษีเงินได้ประจำปีอีกด้วย
5. ครึ่งปี ภงด. 51 :ประมาณการครึ่งปี ภงด.51
ท่านเจ้าของธุรกิจบางท่านอาจจะไม่ให้ความสำคัญ การประมาณการครึ่งปี แบบรายการเสียภาษี ภงด.51 ถ้าหากเราประมาณการอย่างถูกต้องในการชำระภาษี ครึ่งปี จะไม่เป็นภาระในการชำระภาษีรายได้เป็นก้อนใหญ่ในปลายปี อีกทั้งยังเป็นการหลีกเลี่ยงเบี้ยปรับ เพิ่มเพิ่มจากกรมสรรพากร ถ้าหากมีการประเมิน และตรวจสอบดูแล้วจากการยื่น งบการเงิน และภงด.50 เจ้าของธุรกิจยื่นภาษีประมาณการครึ่งปีผิดพลาด น้อยเกินไปก็อาจจะถูกปรับ การยื่นประมาณการผิดพลาด คือน้อยเกินไปไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งปี เรื่องนี้มีความผิดต้องเสียค่าปรับ 20 % ของภาษีประมาณการผิดพลาด แต่ไม่มีเงินเพิ่มตามกฎหมาย
6. ปิดงบ ภงด. 50 : ปิดงบการเงิน จัดยื่นงบฯภงด.50
รอบระยะเวลาบัญชีแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกัน แต่โดยส่วนใหญ่บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด จะจดทะเบียนให้รอบระยะเวลาบัญชีเหมือน ๆ กันเพื่อสะดวกในการปิดงบการเงิน และจัดทำ ภงด.50 ยื่นสรรพากร รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลโดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้น 1 ม.ค. และไปสิ้นสุด 31 ธ.ค.ของทุกปี เพราะฉะนั้นการปิดงบการเงินระหว่างเดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม ของสำนักงานบัญชีจะยุ่งมากในช่วงดังกล่าว เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการจัดยื่นชัดเจน งบการเงินที่ต้องจัดยื่นไปมี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีกำหนดไม่เกิน 5 เดือนนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ส่วน กรมสรรพากร กำหนดการยื่น ภงด.50 ไม่เกิน 150 วันหลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าหากเกินกำหนดจากเวลาดังกล่าวก็จะมีค่าปรับเกิดขึ้น ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร การลงบัญชีต่อเนื่องนอกจาก จะช่วยให้ท่านเจ้าธุรกิจมีเวลาในการสอบทานงบการเงินได้ถี่ถ้วน และอาจจะมีการปรับแก้ไขให้ทันเวลาก่อนยื่นเอกสารให้หน่วยงานราชการ ทุกอย่างยังมีเวลาถ้าหากมีการลงบัญชี และสรุปบัญชีทุกเดือน หรือทุกไตรมาส หรือถ้าหากเป็นงบจร หรืองบเร่ง ถ้าเราคำนวณระยะเวลาว่าทันก็จะรับงานไว้ แต่ถ้าไม่ทันก็จะแจ้งให้เจ้าของธุรกิจได้ทราบ ถ้าหากทันทางบริษัท ก็จะจัดเจ้าหน้าที่เป็นพิเศษลุยงานเฉพาะงบการเงินนั้น ให้เสร็จทันและถูกต้องแม่นยำ ส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจอย่างเร่งด่วนด้วย Email ทั้งเอกสารลงบัญชี และงบการเงิน ตามอนุสิทธิบัตรบัญชีเครือข่าย เพื่อให้ทันต่อการยื่นงบการเงิน และภงด.50 ประจำปี
7. ตรวจสอบบัญชี
ขอบเขตงานตรวจสอบบัญชี ที่ท่านจะได้รับมีดังนี้ 1. บริการตรวจสอบบัญชี / งบการเงิน ด้วยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรอง เช่น วิธีการทดสอบรายการบัญชี ระบบการควบคุมภายในและการเปิดเผยข้อมูลงบการเงิน พิจารณาความเหมาะสมในหลักการบัญชีที่กิจการใช้ รวมถึงประมาณการในรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ2. นำเสนอรายงานต่อผู้บริหารในข้อผิดพลาดทางบัญชี อาทิเช่น ความบกพร่องในการควบคุมภายใน, ความเหมาะสมของระบบบัญชีที่ใช้, เสนอแนะการจัดเก็บเอกสารที่เป็นระบบ, การทุจริตที่อาจเกิดขึ้น,สาระสำคัญต่าง ๆ ที่กระทบกับผลการดำเนินกิจการ ฯลฯ 3. การตรวจสอบบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถแสดงความเห็นได้ว่า งบการเงินแสดงฐานะผลการดำเนินกิจการได้ถูกต้องตามนโยบายการบัญชีที่รับรอง หรือไม่ เพียงใด หากมีการเสนอรายงานเป็นอย่างอื่น สำนักงานจะเรียนปรึกษาและชี้แจงถึงเหตุผล ข้อเท็จจริงก่อนเสนอรายงานการสอบบัญชี4. บริการยื่นงบการเงิน ได้แก่ สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) , สบช.3 นำส่งต่อกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงการจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบฯ
8. จัดทำงบ BOI : การจัดทำงบการเงินยื่นต่อ BOI
เนื่องจากธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามระยะเวลา ที่ได้กำหนดขึ้นไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบธุรกิจ จะมีข้อปลีกย่อยแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป เนื่องจากธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะได้รับการยกเว้น หรือลดหย่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฎเกณฑ์ของบีโอไอ ทำให้การจัดทำงบการเงิน ตามรีพอร์ทบีโอไอ โดยให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบตาม ออดิทโปรแกรม ก่อนจะส่งต่อไปที่ บีโอไอ เพื่อทำการอนุมัติ หลังจาก บีโอไอ อนุมัติก็จะแจ้งมาที่ธุรกิจว่างบการเงินดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีอย่างไร และเท่าไร ก่อนจะต้องจัดทำงบการเงิน และภงด. 50 นำส่ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร
9. วางระบบบัญชี
การวางระบบบัญชี ถือเป็นปัจจัยหลักในการลดต้นทุนงานที่ซ้ำซ้อน และสามารถตรวจสอบได้ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ยากโดยเฉพาะ สินค้า วัตถุดิบ ของธุรกิจอาจขาดหายจากการเบิกจ่าย ขาย ซื้อ บางครั้งสิ่งของไม่ได้หายไปไหน แต่มันหายไปจากเอกสารเท่านั้น การวางระบบที่ดีจะทำให้การตรวจ และสอบยันไปในแผนกต่าง ๆ มีประสิทธิภาพการวางระบบบัญชี โดยเฉพาะธุรกิจเล็ก ๆ มักละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะดูจะเป็นการสิ้นเปลืองที่ต้องว่าจ้างนักบัญชีมาวางระบบให้ แท้จริงแล้วการวางระบบบัญชี จะเป็นการประหยัดต้นทุนระยะยาว ทั้งเอกสารและบุคคลากร ที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การวางระบบบัญชีดีอย่างไร ดีอย่างแรกทำให้เอกสารไม่มีการออกซ้ำซ้อน สามารถคำนวณได้ว่าเอกสารชิ้นนี้จำเป็นต้องมีสำเนากี่ชุด การลำเลียงเอกสารชุดนี้ สำเนาจะไปไว้ที่หน่วยไหนบ้าง เช่น แผนกจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดส่งสินค้า ฝ่ายคลังสินค้า ฯลฯ ดูแล้วแผนกอาจจะมากแต่ถ้าหากในหน่วยงานของท่านมีบุคคลากรน้อย ก็ใช้แผนกที่มีอยู่ทำงานหลายหน้าที่ สอบทานถ่วงดุลกันเองไม่ให้งานไปกระจุกที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียในการดำเนินงานจากความไม่สุจริตของคนทำงาน นอกจากนั้นการวางระบบบัญชี ยังวางระบบการจัดเก็บเอกสาร และจัดทำรายงานแต่ละแผนกเพื่อให้ผู้บริหารได้ตรวจสอบความถูกต้อง ว่าสินค้า หรือบริการบางอย่างมีการขาดหายไปหรือไม่
10. จดจัดตั้งนิติบุคคล : จดจัดตั้งทะเบียนพาณิชย์ (บุคคล, ห้างหุ้นส่วนฯ, บริษัท)
การจดทะเบียนพาณิยช์ ในส่วนของ บุคคลธรรมดา เช่นร้านค้า ค่าใช้จ่ายถูกสุด ซึ่งเจ้าของสามารถไปขอจดเองได้ ถ้าหากเตรียมเอกสารครบถ้วนจะไม่เสียเวลามากนัก โดยส่วนใหญ่ถ้าหากให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้ดำเนินการให้ อาจจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นหลักพัน เปรียบเทียบแล้วไม่สูงมากนักเนื่องจากจะเกิดภาระในฐานะผู้กระทำแทน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะมาจากหลายส่วน ถ้าหากท่านเจ้าของธุรกิจดำเนินการเอง ก็ต้องเตรียมเอกสารให้ถูกต้องจะได้ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าเดินทาง งานบริการลักษณะนี้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเอกสารราชการ ทำให้ค่อนข้างยุ่งยากถ้าหากเจ้าของกิจการดำเนินการเอง บางครั้งไปกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหลายครั้งเขียนไม่ถูก ค่าใช้จ่ายเช่น ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา ลองเทียบกับจำนวนเงินที่เสียไปอาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ การจดห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเตรียมชื่อของผู้ร่วมหุ้นไม่น้อยกว่า 2 คน และตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการที่มีอำนาจลงนาม การเตรียมเอกสารก็ต้องจัดพิมพ์ โดยซื้อแบบฟอร์มจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือไม่ก็ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เนต การเตรียมเอกสาร และจัดพิมพ์ยุ่งยากกว่าบุคคลธรรมดามาก ถ้าหากคนที่เคยจดทะเบียนบ่อยไม่ยาก แต่ถ้าหากคนไม่เคยจับทางด้านนี้ แค่คิดก็มือไม้พันกัน สำนักงานบัญชี แต่ละแห่งจะคิดค่าธรรมเนียมรวมทั้งค่าบริการแตกต่างกันแต่ก็ไม่ได้มาก ขึ้นอยู่กับการบริการหลังจากจดทะเบียนเสียมากกว่า
การจดทะเบียนบริษัทยุ่งยากที่สุด สำหรับคนที่ไม่เคยจด เพราะต้องเตรียมเอกสารแบ่งออกเป็น 2 ชุด สำหรับกรมพัฒนาธุรกิจฯ เป็นการจดบริคณฑ์สนธิ และจดจัดตั้งบริษัท การจองชื่อ ได้ชื่อแล้วทำการจดบริคนฑ์สนธิ พร้อมทั้งจดจัดตั้งบริษัท ขั้นตอนผิดพลาดเกิดจากกระบวนการระหว่างจด ทำให้เสียเวลานาน อาจใช้เวลา 3-5 วัน หรืออาจมากกว่านั้น ในการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้อง สมบูรณ์ ตรงตามที่กฏหมายกำหนดเกณฑ์ไว้ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับระยะเวลาที่ท่านต้องสูญเสียไป
เตรียมเอกสารเพิ่มอีกเพื่อทำการขอหมายเลขผู้เสียภาษี และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขั้นตอนนี้ใช้จดทางอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ข้อดีในการจดผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก ข้อเสียใช้ระยะเวลาในการอนุมัติค่อนข้างนาน สำหรับบางธุรกิจที่ต้องการความเร่งด่วนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากต้องออกใบกำกับภาษีอาจไม่เหมาะสม
11. จดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
การจดเปลี่ยนแปลงเกือบทุกรายการ หลังจากจดเปลี่ยนแปลงที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว จะต้องไปเปลี่ยนแปลงที่กรมสรรพากรด้วย การคิดบริการ จะคิดค่าบริการแต่ละรายการ ซึ่งทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิด 2 รายการขึ้นไป ก็จะคิดราคา 2 รายการ เช่นการเปลี่ยนแปลงชื่อ ก็ต้องเปลี่ยนตรา รวมแล้ว 2 รายการแต่อย่าลืมว่าก็ต้องมีรายการที่ต้องไปเปลี่ยนแปลงที่กรมสรรพากร คือการเปลี่ยนแปลงบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี 1 รายการ การเปลี่ยนแปลงทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งถ้าหากการเปลี่ยนแปลงกระทำหลังจาก 30 วันจะมีค่าปรับเกิดขึ้น แต่บางรายการถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจดเปลี่ยนแปลงที่กรมสรรพากร เนื่องจากไม่ใช่สาระสำคัญ
12. จดเลิกชำระบัญชี : การจดเลิกกิจการ ชำระบัญชี
ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระให้กับ กรมพัฒนาธุรกิจฯ ไม่สูงมาก แต่เสียเวลามากรายละเอียดเยอะ ทำให้มีการคิดค่าบริการสูงบางครั้งกว่าจะชำระบัญชี และเสร็จการชำระบัญชี จะต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน โดยเฉพาะห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เนื่องจากการจดเลิกกิจการ รวมทั้งเสร็จการชำระบัญชี จะต้องมีการปิดงบการเงิน จนถึงวันเลิกกิจการ บางครั้งเป็นช่วงคาบเกี่ยว หรือเลยรอบระยะเวลาบัญชี อาจจะต้องปิดงบการเงิน ถึง 2 ปี หรือ 2 รอบระยะเวลาบัญชี ค่าบริการลงบัญชีเพื่อปิดงบก็ส่วนหนึ่ง ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี อีกส่วนหนึ่ง ค่าจัดทำงบการเงิน ต้องมีการประกาศหนังสือพิมพ์ ให้ลูกหนี้-เจ้าหนี้ทราบ และชำระหนี้สิน - แบ่งคืนทรัพย์สินให้หมดสิ้น การจัดยื่นงบการเงิน และภงด. 50 ทำให้บางบริษัทซึ่งกิจการก็ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว เลือกที่จะไม่เลิกให้ถูกต้อง แต่ใช้วิธีปล่อยทิ้งร้าง ถ้าหากไม่ถูกตรวจสอบคงไม่เป็นไร แต่ถ้าหากถูกตรวจขึ้นมาเนื่องจากมันมีความผิด ย่อมหนีไม่พ้นค่าปรับ และประเมินเพิ่มเติมที่อาจตามมาอีกมากมาย
การเลิกกิจการ ควรมองที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ว่านิติบุคคลนั้นตอนเปิด และระหว่างดำเนินการ ต้องไปจดทะเบียนที่ไหนบ้าง ถ้าไปจดทะเบียนที่ไหน ก็ต้องไปยกเลิกที่หน่วยงานนั้นด้วย หลัก ๆ ก็มี กรมพัฒนาธุรกิจฯ และกรมสรรพากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องอย่างนี้ถ้าหากมีสำนักงานบัญชี ให้คำแนะนำได้ดีที่สุด การปล่อยทิ้งร้างอาจจะช่วยให้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในขณะนั้น แต่ในอนาคตไม่แน่ครับ ถ้าหากมีการตรวจสอบมีหวังโดนปรับอีกหลายเงินทีเดียว จริงแล้วรายละเอียดการจดเลิก และชำระบัญชี มีคำแนะนำอยู่ที่เว็บไซต์ของ กรมพัฒนาธุรกิจ อยู่แล้วบางครั้งสำนักงานบัญชีอาจให้คำแนะนำที่ดีกว่าการปิดโดยทันที
13. ขอเลขผู้เสียภาษี : ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
หลังจากที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล ทั้งบริษัท และห้างหุ้นส่วน ฯ ก็จะต้องมีการขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ปัจจุบันการจดทะเบียนพาณิชย์ แบบร้านค้าบุคคล คนเดียวไม่ต้องขอหมายเลขผู้เสียภาษี เพราะใช้หมายเลขบัตรประชาชนของเจ้าของได้เลย หรือจะเรียกว่าผู้จัดการร้านก็ได้ ส่วนนิติบุคคล จะต้องขอหมายเลขภายในเวลาไม่เกิน 30 วัน หลังจากที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ถ้าหากเกินกำหนด จะมีค่าปรับทางอาญา 1,000 บาท
การขอหมายเลขก็ต้องเตรียมเอกสาร โดยเฉพาะบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ กรณีที่สถานประกอบการเป็นสถานที่เช่า จะต้องมีบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจในการเช่า ทะเบียนบ้านของผู้เช่า และแบบฟอร์มลงลายมือชื่อผู้ให้เช่า ในการยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ แต่ถ้าหากสถานประกอบการเป็นของกรรมการผู้มีอำนาจ ก็ไม่ต้องเตรียมหลักฐานเพิ่ม การขอหมายเลขบัตรผู้เสียภาษีก็ไม่ยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เพียงแต่ท่านต้องทราบว่า สถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตสรรพากรใด และขึ้นกับสรรพากรพื้นที่ใด ก็ไปจดทะเบียนที่นั่น
กรณีให้สำนักงานบัญชีจดทะเบียนจัดตั้ง ควรมอบหมายให้จดพร้อมกัน เพิ่มค่าใช้จ่ายอีกเล็กน้อย เป็นค่าเดินทางและค่าเตรียมเอกสาร
14. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม : ขอเลขภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.01
รายการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางธุรกิจได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของธุรกิจจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจค้าผืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของธุรกิจไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางธุรกิจที่ดูก้ำกึ่งเช่น ธุรกิจจำหน่ายสุนัข และจำหน่ายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากจำหน่ายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
นอกจากนั้นธุรกิจที่ยังรายได้ไม่ถึง 1,200,000 บาท หรือปัจจุบันที่ไม่รับการลดหย่อนรายได้ไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้กิจการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะผู้รับเหมา บางครั้งงานแค่ชิ้น 2 ชิ้นก็รายได้เกินแล้วครับ เรื่องนี้สรรพากรเขาจ้องอยู่
15. ให้คำปรึกษาบัญชี
ให้คำปรึกษาเรื่องบัญชี-ภาษีอากร
เจ้าของธุรกิจบางท่านมักจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้สำนักงานบัญชี เพราะคิดว่าการจ้างพนักงานบัญชีมา 1 คนน่าจะคุ้มกว่า โดยให้จัดยื่นภาษี และปิดงบการเงิน รวมทั้งยังให้พนักงานบัญชีสามารถทำหน้าที่อื่นได้อีก พอสิ้นปีก็ติดต่อผู้ตรวจสอบบัญชี ให้ทำการตรวจสอบบัญชี การมีพนักงานบัญชีที่รู้เรื่องบัญชี ไว้ที่บริษัทเป็นเรื่องดีที่สุดแต่การประหยัดไม่ทำการว่าจ้างสำนักงานบัญชี ให้ดูแลเรื่องบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญงานทางด้านนี้มากกว่า อาจจะเป็นเรื่องอันตราย เพราะประมวลรัษฎากร ที่ใช้ในปัจจุบันมีการเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ ยิ่งเจ้าของธุรกิจต้องดูแลงานของท่านแล้ว ยังต้องแบ่งภาระมาดูเรื่องภาษีให้รู้เองทุกเรื่อง อาจจะพลาดได้
ไม่ปฎิเสธว่าเจ้าของธุรกิจควรทราบเรื่องภาษี แต่บางครั้งอาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทำให้ทำผิดในรูปแบบของภาษี ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ใช้วิธีการสอบถามน่าจะปลอดภัยกว่า บางครั้งที่เราคิดว่าประหยัด ผลสรุปแล้วมันอาจไม่ประหยัดอย่างที่คิดก็ได้ แถมยังจ่ายค่าตอบแทนที่แพงกว่า
16. ตัวแทนเข้าพบสรรพากร : เป็นตัวแทนผู้เสียภาษีเข้าพบสรรพากร
บางครั้งเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ธุรกิจอาจถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรเรียกพบ จะเป็นการตรวจสภาพกิจการ หรือพบความผิดปกติของบัญชี จะด้วยความจงใจหรือความผิดพลาด กรณีเข้าพบเจ้าหน้าที่สรรพากรบางครั้งต้องมีความรู้เรื่องบัญชี และประมวลรัษฎากรบ้าง เพราะอาจจะมีการโต้แย้ง ผ่อนปรน ตามหลักการบัญชี เจ้าของธุรกิจอาจเลือกที่จะไปพบเองก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะบางครั้งท่านคิดว่าท่านทราบอยู่แล้วว่าการเรียกพบครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบและอาจจะถูกประเมินเรียกภาษีย้อนหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น บางครั้งเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจจะมองไม่ครบถ้วน ถ้าหากมีการอธิบายตามหลักบัญชี และภาษี ที่ถูกต้องภาษีย้อนหลังอาจไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแต่ก็จำนวนน้อย
การว่าจ้างคนที่เชี่ยวชาญกว่าไม่ใช่สิ่งที่แปลก สำนักงานบัญชีแต่ละแห่ง จะเรียนรู้การเข้าพบกับเจ้าหน้าที่สรรพากรโดยเฉพาะ และรู้เรื่องบัญชี และภาษี ประมวลรัษฎากร สามารถเข้าชี้แจง และตอบปัญหาแทนท่านได้ ปัญหาหนักก็จะเบา ปัญหาเบาก็อาจจะหมดไป บางครั้งการที่เจ้าของธุรกิจคิดว่าการว่าจ้าง สำนักงานบัญชี เป็นความสิ้นเปลือง เพราะต้องจ่ายค่าบริการในการเข้าชี้แจงแต่ละครั้ง อาจจะไม่จริงเช่นนั้น เพราะการเข้าชี้แจงที่ถูกต้อง และมีข้อโต้แย้งที่ถูกต้อง อาจจะประหยัดมากกว่าที่ท่านต้องเดินทางไปเอง หรือเดินทางไปตามลำพัง